อิทธิพลของโฆษณาเฟซบุ๊กต่อการเลือกช่องทางซื้อสินค้าของผู้บริโภค: กรณีศึกษา แบรนด์ Dr.JiLL
DOI:
https://doi.org/10.14456/tisr.2025.19คำสำคัญ:
พฤติกรรมผู้บริโภค, การตลาดดิจิทัล, อีคอมเมิร์ซ, การโฆษณาออนไลน์, Dr.JiLLบทคัดย่อ
การวิจัยนี้วัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการตัดสินใจเลือกช่องทางการสั่งซื้อสินค้าของผู้บริโภค เมื่อได้รับสื่อโฆษณาบนเฟซบุ๊กภายใต้ผลิตภัณฑ์แบรนด์ Dr.JiLL และ 2) วิเคราะห์แนวทางการพัฒนากลยุทธ์ของดิจิทัลแพลตฟอร์มในช่องทางที่ผู้บริโภคเลือกใช้มากที่สุด ภายใต้ผลิตภัณฑ์แบรนด์ Dr.JiLL ผลการศึกษาพฤติกรรมการตัดสินใจเลือกช่องทางการสั่งซื้อสินค้าของผู้บริโภคพบว่า Shopee เป็นช่องทางหลักที่ผู้บริโภคเลือกใช้ในการสั่งซื้อผลิตภัณฑ์ เนื่องจากมีปัจจัยสนับสนุนด้านความสะดวกในการใช้งาน โปรโมชั่นที่ดึงดูดใจ และระบบชำระเงินที่ปลอดภัย อย่างไรก็ตาม ช่องทางสนับสนุน เช่น Facebook Messenger และ Line@ มีบทบาทในการให้ข้อมูลเพิ่มเติมและเสริมสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้บริโภคในกระบวนการตัดสินใจซื้อ โดยเฉพาะในขั้นตอนการค้นหาข้อมูลและการประเมินทางเลือก สำหรับแนวทางการพัฒนากลยุทธ์ดิจิทัลแพลตฟอร์มสำหรับแบรนด์ Dr.JiLL ได้แก่ 1) การพัฒนาแพลตฟอร์มสั่งซื้อสินค้าให้มีประสิทธิภาพสูงสุด เช่น การสร้างโปรแกรมสำหรับผู้บริโภคที่ภักดีต่อแบรนด์ การเพิ่มฟีเจอร์ส่วนตัว การปรับปรุงประสบการณ์การใช้งาน 2) การพัฒนาช่องทางการสื่อสารในสื่อสังคมออนไลน์ เช่น การใช้ระบบแชทบอท การส่งข้อความอัตโนมัติเพื่อแจ้งเตือน การให้คำแนะนำเฉพาะบุคคล 3) การบูรณาการกลยุทธ์ระหว่างช่องทางต่างๆ เช่น การทำแคมเปญข้ามแพลตฟอร์ม การเก็บและวิเคราะห์ข้อมูล และ 4) การจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายออนไลน์ เช่น จัดกิจกรรมพิเศษในช่วงเวลาสำคัญ การส่งเสริมการรีวิวสินค้า
References
พนิดา สิมะโชคชัย. (2563). การสื่อสารการตลาดดิจิทัลที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องสําอางออนไลน์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคําแหง.
AppMaster. (2023). Cross-Platform Compatibility in App Creating Websites. Retrieved from https://appmaster.io/blog/cross-platform-compatibility-in-app-creating-websites.
Chaffey, D., & Ellis-Chadwick, F. (2012). Digital Marketing: Strategy, Implementation and Practice. 5th ed. London: Pearson Education Limited.
Chen, Y., & Lin, Z. (2019). Factors Affecting Consumer Loyalty on E-Commerce Platforms: A Comprehensive Review. E-Commerce Studies, 10(2), 101-120.
Dam, T. (2020). Influence of Brand Trust, Perceived Value on Brand Preference and Purchase Intention. The Journal of Asian Finance, Economics and Business, 7(10), 939-947.
Dehghani, M., & Tumer, M. (2015). The impact of social media advertising on consumer purchase intention. International Journal of Marketing Studies, 7(4), 121-135.
Kaplan, A., & Haenlein, M. (2010). Users of the world, unite! The challenges and opportunities of Social Media. Business Horizons, 53(1), 59-68.
Kotler, P., & Keller, K. (2016). Marketing Management. 15th ed. London: Pearson Education.
Pulizzi, J. (2013). Epic Content Marketing: How to Tell a Different Story, Break through the Clutter, and Win More Customers by Marketing Less. New York: McGraw-Hill.
Statista. (2023). Penetration of leading social networks in Thailand as of 3rd quarter 2023. Retrieved from www.statista.com/statistics/284483/thailand-social-network-penetration/.
The Standard. (2565). ย้อนรอยความสำเร็จของ ‘ช้อปปี้’ ในการเป็นแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซยืน 1 ในใจนักช้อปชาวไทย. สืบค้นจาก https://thestandard.co/shopee-success-ecommerce/.

Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 Authors

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.