ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการท่องเที่ยว ในกรุงเทพมหานคร หลังโควิด-19

ผู้แต่ง

  • ปิยวัฒน์ สุนันทา คณะเทคโนโลยีสังคม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตจันทบุรี
  • สุภิญญา แย้มรัตน์ คณะเทคโนโลยีสังคม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตจันทบุรี

DOI:

https://doi.org/10.14456/tisr.2025.21

คำสำคัญ:

การตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยว, โควิด-19, พฤติกรรมการท่องเที่ยว, ปัจจัยส่วนประสมการตลาด

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมการตลาดด้านผลิตภัณฑ์และด้านการส่งเสริมการตลาด ปัจจัยความปลอดภัยด้านอาชญากรรมทางร่างกาย ทรัพย์สินและอุบัติเหตุ และปัจจัยความปลอดภัยด้านสุขอนามัยและโรคระบาดที่มีผลต่อการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวในเขตกรุงเทพมหานครหลังโควิด-19 โดยใช้แบบสอบถามปลายปิดที่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ประชากรไทยในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ยร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติเชิงอนุมานได้แก่ การวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ ในการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวในเขตกรุงเทพมหานครหลังโควิด-19 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ ความปลอดภัยด้าน สุขอนามัยและโรคระบาด ในขณะที่ปัจจัยส่วนประสมการตลาดด้านผลิตภัณฑ์ ด้านการส่งเสริมการตลาด และปัจจัยความปลอดภัยด้านอาชญากรรมทางร่างกาย ทรัพย์สินและอุบัติเหตุไม่ส่งผลต่อการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวในเขตกรุงเทพมหานครหลังโควิด-19

References

กรมการท่องเที่ยว. (2661). แผนยุทธศาสตร์พัฒนาการท่องเที่ยว พ.ศ.2561-2564. สืบค้นจาก www.dot.go.th/storage/กลุ่มแผน/5V7jtvCF7hvNiPXPU7MOdT7giHiF1ZbRokN8nBVx.pdf.

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2563). COVID-19 กับผลกระทบต่อการท่องเที่ยวไทย. สืบค้นจาก www.mots.go.th/download/TourismEconomicReport/4-1TourismEconomicVol4.pdf.

ฉันท์ชนิต เกตุน้อย. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างส่วนประสมทางการตลาด 7P's และการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ของพระราชวังจันทน์ จังหวัดพิษณุโลก. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ฐานเศรษฐกิจ. (2563). ผลวิจัยชี้ คนไทยเลือกขับรถท่องเที่ยว เลี่ยงโควิด-19. สืบค้นจาก www.thansettakij.com/content/motor/445958.

นรเศรษฐ์ คำสี. (2560). อิทธิพลของการรับรู้เรื่องความปลอดภัยของแหล่งท่องเที่ยวผ่านสื่อสังคมออนไลน์ที่มีต่อการตัดสินใจเดินทางมาท่องเที่ยวจังหวัดเชียงใหม่ในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ปรียาณัฐ เอี๊ยบศิริเมธี, นฤชล ธนจิตชัย และ เทพรัตน์ เอื้อธรรมถาวร. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยในการเลือกสถานที่ท่องเที่ยวในอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา, 11(1), 39-48.

มาร์เก็ตเธียร์. (2563). โควิด-19 ส่งผลต่อพฤติกรรมของผู้บริโภค และทัศนคติที่มีต่อแบรนด์อย่างไร. สืบค้นจาก https://marketeeronline.co/archives/176416.

มิ่งสรรพ์ ขาวสอาด. (2563). ทิศทางท่องเที่ยวไทย หลังวิกฤตโควิด-19. รายงานภาวะเศรษฐกิจการท่องเที่ยว, 1(4), 42-53.

รพีพรรณ รัตนวงศ์นรา มอร์ด. (2563). มาทำความรู้จักกับโควิด-19. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล.

ศิรศักย เทพจิต. (2563). COVID-19 Pandemic: การตอบสนองเชิงนโยบายสาธารณะในการรับมือกับปัญหาพยศ. สืบค้นจาก https://setthasarn.econ.tu.ac.th/blog/detail/59.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2563). มาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวในประเทศ หลังการคลายล็อก หนุนคนไทยเที่ยวในประเทศคาดสร้างรายได้เพิ่มราว 41,000 ล้านบาท. สืบค้นจาก www.kasikornresearch.com/th/analysis/k-econ/business/Pages/z3118.aspx.

สาวิตรี รินวงษ์. (2563). คนไทยรอการเดินทางฟื้นธุรกิจท่องเที่ยวหลังโควิด. กรุงเทพฯ: กรุงเทพธุรกิจ.

สิริญญา ชาติเผือก และ บุญญรัตน์ สัมพันธ์วัฒนชัย. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกสถานที่ท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทยต่ออุทยานแห่งชาติเขาใหญ่จังหวัดนครราชสีมา และอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 13(2), 134-153.

อิสรีย์ สุขพรสินธรรม. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจในการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศไทย ช่วงวันหยุดของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินชาวไทย. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Chebli, A., & Said, F. (2020). The Impact of Covid-19 on Tourist Consumption Behaviour: A Perspective Article. Journal of Tourism Management Research, 7(2), 196-207.

World Health Organization. (n.d.). Coronavirus. Retrieved from www.who.int/thailand/health-topics/coronavirus.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-02-16

How to Cite

สุนันทา ป., & แย้มรัตน์ ส. (2025). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการท่องเที่ยว ในกรุงเทพมหานคร หลังโควิด-19. สหวิทยาการและความยั่งยืนปริทรรศน์ไทย, 14(1), บทความที่ 21. https://doi.org/10.14456/tisr.2025.21