การพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ในเขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • สุภาพร ศรีสัตตรัตน์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

DOI:

https://doi.org/10.14456/tisr.2025.17

คำสำคัญ:

การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์, สื่อเพื่อการประชาสัมพันธ์, ศิลปวัฒนธรรม

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยนี้มี วัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบริบท พื้นที่ การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ในเขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร 2) เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลด้านการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในเขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร 3) เพื่อพัฒนาสื่อที่ใช้ประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ในเขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งประกอบด้วย การศึกษาจากเอกสาร การสังเกตแบบมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มเป้าหมาย/ผู้ให้ข้อมูลหลักในการสัมภาษณ์ ประกอบด้วย (1) เจ้าหน้าที่สำนักงานเขตจอมทองและเจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์เขตจอมทอง 3 ท่าน (2) หัวหน้า/ตัวแทนชุมชนในเขตจอมทอง 3 ท่าน เจ้าของสวนเกษตร 3 ท่าน (3) พระสงฆ์ (เจ้าอาวาส รองเจ้าอาวาส หรือ พระสงฆ์อาวุโส) และบุคคล ที่เชี่ยวชาญในประวัติศาสตร์ ในเขตจอมทอง 8 ท่าน จากผลการวิจัยพบว่า ข้อมูลของการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ประกอบด้วย 1) วิถีเกษตร มีผลไม้ที่สำคัญที่ยังมีการอนุรักษ์ เช่น ส้มบางมด ลิ้นจี่บางมด โดยเฉพาะสวนตามริมคลอง 2) วิถีการท่องเที่ยว มีพื้นที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ อาทิ ด้านศิลปวัฒนธรรม สวนเกษตร แต่ขาดการประชาสัมพันธ์ 3) วิถีศิลปวัฒนธรรม ด้านศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ในพื้นที่ พื้นที่เขตจอมทองมีลักษณะเป็นเกาะ ล้อมรอบด้วยคลองประวัติศาสตร์และไปบรรจบกันที่แม่น้ำเจ้าพระยา วัดประวัติศาสตร์ที่สำคัญ ได้แก่ วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร วัดหนังราชวรวิหาร วัดนางนองราชวรวิหาร การนำข้อมูลที่ได้มาพัฒนาเพื่อการประชาสัมพันธ์ ได้แก่ สื่อแผนที่ท่องเที่ยว โดยใช้โปรแกรม Canva และ สื่อคลิปวีดีโอ โดยใช้แอพพลิเคชั่น INSHOT ในการพัฒนาคลิป ดำเนินการเผยแพร่ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ เพจเกรียนไซเบอร์ เพจเรื่องเล่าชาวฝั่งธน และ ตลาดน้ำชุมชนวัดไทร

References

จินตนา กสินันท์, ชัชวาล ชุมรักษา, ขรรค์ชัย แซ่แต้, ศิลป์ชัย สุวรรณมณี และ และ พลากร คล้ายทอง. (2566). การออกแบบและพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวหลังวิกฤตโควิด-19 กรณีศึกษา พื้นที่ชุมชนตำบลลานข่อย อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 17(1), 34-43.

ชตาทิพย์ อำพันทอง และ ชื่นจิตต์ เจริญจิตต์. (2566). จอมทองในวันที่สวนและคลองแปรเปลี่ยน. สืบค้นจาก https://osotho.co/attractions/จอมทอง.

ชุตินธรานุสรณ์. (2565). ที่ระลึกงานถวายพระเพลิงสรีรสังขาร อดีตเจ้าอาวาสพระมหาประยูร. นครปฐม: ม.ป.ท.

ไพเราะ เลิศวิราม. (2561). ส่องแนวโน้มสื่อปี 2561. สืบค้นจาก www.ryt9.com/s/iq45/2796025?utm_source=chatgpt.com.

สำนักงานเขตจอมทอง. (2566). แหล่งท่องเที่ยวสำคัญในเขตจอมทอง. สืบค้นจาก https://webportal.bangkok.go.th/public/chomthong/page/sub/6370.

สุรเชษฎ์ เชษฐมาส และ ดรรชนี เอมพันธุ์. (2539). การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในประเทศไทย: การศึกษาถึงศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยว และแนวทางในการจัดการฯ ตอนที่ 2: แนวทางในการจัดการ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

Boo, E. (1990). Ecotourism: The Potentials and Pitfalls. Washington, D.C.: World Wildlife Fund.

Cutlip, S., & Harry, A. (1978). Effective Public Relations. New Jersey: Prentice-Hall.

Thumbsup. (2559). LINE ประกาศเปิดตัว “LINE MAN” อย่างเป็นทางการ แอปผู้ช่วยชั้นเลิศ ตอบโจทย์ทุกความต้องการทุกเวลา. สืบค้นจาก www.thumbsup.in.th/line-man-official-launch.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-02-15

How to Cite

ศรีสัตตรัตน์ ส. (2025). การพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ในเขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร. สหวิทยาการและความยั่งยืนปริทรรศน์ไทย, 14(1), บทความที่ 17. https://doi.org/10.14456/tisr.2025.17