การสื่อสารอัตลักษณ์ข้าวซอย ในฐานะภูมิปัญญาอาหารพหุวัฒนธรรมล้านนา เพื่อส่งเสริมการสร้างซอฟต์พาวเวอร์ด้านอาหารของไทย

ผู้แต่ง

  • ฐิติวรฎา ใยสำลี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษาลำปาง
  • เสาวลักษณ์ กันจินะ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษาลำปาง
  • พรรณี สวนเพลง มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
  • อานง ใจแน่น มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษาลำปาง

DOI:

https://doi.org/10.14456/tisr.2025.12

คำสำคัญ:

การสื่อสารอัตลักษณ์, ข้าวซอย, พหุวัฒนธรรมล้านนา, ภูมิปัญญาอาหาร, ซอฟต์พาวเวอร์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตลักษณ์ของข้าวซอยภูมิปัญญาอาหารพหุวัฒนธรรมล้านนา ศึกษาวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งเสริมการสื่อสารอัตลักษณ์ข้าวซอย การพัฒนาแนวทางการสื่อสารอัตลักษณ์ข้าวซอย และ การส่งเสริมการสร้างซอฟต์พาวเวอร์ด้านอาหารไทย ผลการวิจัยพบว่า ข้าวซอยเป็นอาหารที่มีรากฐานมาจากพหุวัฒนธรรมล้านนาที่สะท้อนถึงภูมิปัญญาการผสมผสานทางวัฒนธรรมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และสะท้อนถึงการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างไทย จีน พม่า อินเดีย ผ่านการแลกเปลี่ยนทางการค้าและการเดินทางในภูมิภาคนี้ ผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งเสริมการสื่อสารอัตลักษณ์ข้าวซอยประกอบด้วย ประวัติศาสตร์ความเป็นมา วัตถุดิบส่วนผสม รสชาติ วิธีการปรุงที่เป็นเอกลักษณ์ของข้าวซอย รูปแบบการนำเสนอของข้าวซอย และการเชื่อมโยงของข้าวซอยกับสถานที่และวัฒนธรรม การพัฒนาแนวทางการสื่อสารอัตลักษณ์ข้าวซอยและการส่งเสริมการสร้างซอฟต์พาวเวอร์ด้านอาหารไทย ในทิศทางที่สอดคล้องกับเทรนด์สมัยใหม่และยังคงรักษาเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมล้านนาของไทยจะช่วยส่งเสริม
ข้าวซอยให้เป็นที่รู้จักและได้รับการยอมรับในระดับสากล การใช้ข้าวซอยเป็นเครื่องมือในการสร้างซอฟต์พาวเวอร์ของไทย โดยเน้นการนำเสนอเรื่องราวของข้าวซอย เน้นคุณค่าทางประวัติศาสต์และวัฒนธรรม การใช้สื่อดิจิทัลและโซเชียลมีเดีย การสร้างความร่วมมือกับฟลูเอนเซอร์ การจัดงานเทศกาลอาหารนานาชาติ การใช้ข้าวซอยเป็นสัญลักษณ์ความเป็นไทยในสื่อภาพยนตร์ที่แสดงถึงเสน่ห์ของวัฒนธรรมอาหารล้านนาของไทยผ่านข้าวซอยในสื่อการตลาด การจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับข้าวซอยที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอาหารให้เป็นที่รู้จักและยอมรับในระดับนานาชาติ

References

กฤตพร แซ่อึ๊ง. (2562). นโยบาย Soft Power กับการส่งออกวัฒนธรรมของเกาหลีใต้ ค.ศ.1997- ปัจจุบัน. อักษรศาสตร์บัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

กฤตวิทย์ กฤตมโนรถ และ ศุภกรณ์ ดิษฐพันธุ์. (2562). การท่องเที่ยวเชิงอาหารผ่านอัตลักษณ์อาหารทั้ง 4 ภูมิภาค. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 20(2), 139-151.

จิรานุช โสภา, พรรณี สวนเพลง, สิปปนันท์ นวลละออง, อานง ใจแน่น, เสาวลักษณ์ กันจินะ และ ฐิติวรฎา ใยสำลี (2566). การเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์ด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยววัฒนธรรมอาหารอยุธยาเมืองมรดกโลกเพื่อเป็นกลไกขับเคลื่อนซอฟต์พาวเวอร์ (Soft Power). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.

ญาตาวีมินทร์ พืชทองหลาง และ ประทีป พืชทองหลาง. (2567). การจัดการความรู้อัตลักษณ์และวัฒนธรรมอาหารชุมชนไทลื้อ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 9(4), 72-86.

ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง. (2566). การขับเคลื่อน Soft Power: อัตลักษณ์ท้องถิ่นภาคใต้เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดชุมพร. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 11(5), 1922-1935.

ธนกร วังบุญคงชนะ. (2565). บทนำ: สร้าง Soft Power. สืบค้นจาก www.matichon.co.th/article/news_3310760.

ภูริณัฐ แก้วสิยา. (2566). ประเภท ซอฟต์ พาวเวอร์ (5F) ที่ใช้สื่อสาร ส่งผลต่อการตัดสินใจมาท่องเที่ยวจังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์, 2(2), 54-82.

มานพ แสงจํานงค์ และ อังค์ริสา แสงจํานงค์. (2566). ซอฟต์เพาเวอร์ไทยพวน: การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมไทยพวนในประเทศไทย. วารสารกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์, 2(1), 66-95.

อิงอร เนตรานนท์. (2563). พลังอำนาจแห่งชาติซอฟต์พาวเวอร์ของไทนในศตวรรษที่ 21. วารสารสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ, 11(1), 33-47.

Gray, B. (2022). Collection of Northern Thai Local Cuisine in Lanna Style. Retrieved from https://invivo-environnement.com/อาหารเหนือ/.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-25

How to Cite

ใยสำลี ฐ., กันจินะ เ., สวนเพลง พ., & ใจแน่น อ. (2024). การสื่อสารอัตลักษณ์ข้าวซอย ในฐานะภูมิปัญญาอาหารพหุวัฒนธรรมล้านนา เพื่อส่งเสริมการสร้างซอฟต์พาวเวอร์ด้านอาหารของไทย. สหวิทยาการและความยั่งยืนปริทรรศน์ไทย, 14(1), บทความที่ 12. https://doi.org/10.14456/tisr.2025.12