การพัฒนาโมเดลการจัดการธุรกิจและผลิตภัณฑ์แก้วมังกรผ่านการสื่อสาร การตลาดดิจิทัล ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน อำเภอภูเรือ จังหวัดเลย

ผู้แต่ง

  • ปฤฐฏาง จันทร์บุญเรือง มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
  • พรรณธวรรณ บุตรดีสุวรรณ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
  • กิติยา คีรีวงก์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
  • วรกร พิมพาคุณ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

DOI:

https://doi.org/10.14456/tisr.2025.8

คำสำคัญ:

การจัดการธุรกิจและผลิตภัณฑ์, การสื่อสารการตลาดดิจิทัล, แผนผังโมเดลธุรกิจ

บทคัดย่อ

การวิจัยแบบผสมผสานนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโมเดลการจัดการธุรกิจและผลิตภัณฑ์แก้วมังกรผ่านการสื่อสาร การตลาดดิจิทัล ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน อำเภอภูเรือ จังหวัดเลย กลุ่มตัวอย่างสำหรับวิจัยเชิงปริมาณ ได้แก่ ตัวแทนสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่แก้วมังกร กลุ่มเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับวิสาหกิจชุมชนในตำบลร่องจิก ผู้บริโภค ชุมชน สื่อมวลชน ผู้นำชุมชน ร้านค้า ส่วนวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการผลิต การใช้ การจำหน่ายผลิตภัณฑ์และตัวแทนสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนดินปลูกแก้วมังกรนาวป้อม 479 ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนาโมเดลการจัดการธุรกิจและผลิตภัณฑ์แก้วมังกรผ่านการสื่อสารการตลาดดิจิทัล อำเภอภูเรือ จังหวัดเลย โดยใช้ Business Model Canvas 9 ช่อง มาเป็นต้นแบบ เมื่อมีการทดลองใช้และยืนยันโมเดล โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และหลังการใช้และยืนยันโมเดล มีการปรับการใช้โมเดลต้นแบบจาก BMC 9 ช่อง ไปเป็น โมเดล POLC ตามความต้องการของกลุ่ม

References

กรมประชาสัมพันธ์. (2567). เศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมีค่าอย่าทิ้ง. สืบค้นจาก https://www.prd.go.th/th/content/category/detail/id/31/iid/330298.

กรมวิชาการเกษตร. (2563). รายงานประจำปี 2563. สืบค้นจาก www.doa.go.th/share/showthread.php?tid=2451.

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม. (2564). องค์ประกอบสำคัญของโมเดลธุรกิจ. กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม.

จุฬารัตน์ ขันแก้ว. (2562). กลยุทธ์การตลาดดิจิทัลและผลการดําเนินงานทางการตลาด หลักฐานเชิงประจักษ์จากธุรกิจบริการในประเทศไทย. จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์, 41(159), 1-32.

พรรณธวรรณ บุตรดีสุวรรณ. (2565). การจัดการและองค์การ. เลย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ.2561-2580.

รัฐพล สังคะสุข, กัลยา นาคลังกา, วิริยาภรณ์ เอกผล และ วรพรรณ สุรัสวดี. (2560). การพัฒนาช่องทางจัดจำหน่ายสินค้าเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 12(1), 38-49.

สุวนาถ ทองสองยอด และ ภีรกาญจน์ ไค่นุ่นนา. (2561). แนวทางการพัฒนาช่องทางการตลาดของผลิตภัณฑ์เกลือตำบลบานา จังหวัดปัตตานี. วารสารบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร, 13(1), 14-28.

อัฐพล วุฒิศักดิสกุล. (2560). การสื่อสารการตลาดดิจิทัลกับการตัดสินใจใช้บริการขนส่งออนไลน์ (Online Messengers) ผ่านแอพพลิเคชั่น ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระ บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

Afzali, M., & Ahmed, E. (2016). Exploring consumer doubt towards local new products innovation and purchase intention. World Journal of Entrepreneurship, Management and Sustainable Development, 12(1), 2-17.

Allen, L. (1958). Management and Organization. New York: McGraw Hill.

Ernst, M. (2022). Adding Value to Plant Production – An Overview. Kentucky: University of Kentucky.

Ernst, M., & Woods, T. (2011). Adding Value to Plant Production – An Overview. Kentucky: University of Kentucky.

Fayol, H. (1949). General and Industrial Management. London: Sir Isaac Pitman & Sons, Ltd.

Kotler, P. (2017). Philip Kotler: Some of My Adventures in Marketing. Journal of Historical Research in Marketing, 9(2), 203-208.

Kotler, P., & Armstrong, G. (2007). Principles of Marketing. 12th ed. London: Pearson Education.

Osterwalder, A., Pigneur, Y., & Tucci, C. (2005). Clarifying Business Models: Origins, Present, and Future of the Concept. Communications of the Association for Information Systems, 16, 1-25.

Treml, F. (2017). 3 Things Your Chatbot Fails At (But Shouldn’t). Retrieved from https://chatbotsmagazine.com/3-things-your-chatbot-fails-at-but-shouldnt-1be87e81f6f7.

Wirtz, B., Pistoia, A., Ullrich, S., & Göttel, V. (2016). Business Models: Origin, Development and Future Research Perspectives. Long Range Planning, 49(1), 36-54.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-11-19

How to Cite

จันทร์บุญเรือง ป., บุตรดีสุวรรณ พ., คีรีวงก์ ก., & พิมพาคุณ ว. (2024). การพัฒนาโมเดลการจัดการธุรกิจและผลิตภัณฑ์แก้วมังกรผ่านการสื่อสาร การตลาดดิจิทัล ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน อำเภอภูเรือ จังหวัดเลย. สหวิทยาการและความยั่งยืนปริทรรศน์ไทย, 14(1), บทความที่ 8. https://doi.org/10.14456/tisr.2025.8