แนวทางการส่งเสริมอุตสาหกรรมรองเท้าแตะฟื้นฟูสุขภาพเท้า ด้วยการซื้อของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ธนาคม รัชตโรจน์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • ทวี แจ่มจำรัส บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • ไปรพร แสงจันทร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

DOI:

https://doi.org/10.14456/tisr.2025.11

คำสำคัญ:

มาตรฐานการผลิตสินค้า, ความสามารถของผู้ประกอบการร้านค้า, มาตรฐานการบริการ, กลยุทธ์การตลาด, อุตสาหกรรมรองเท้าแตะฟื้นฟูสุขภาพเท้า

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความสามารถของผู้ประกอบการร้านค้า มาตรฐานการผลิตสินค้า กลยุทธ์การตลาด มาตรฐานการให้บริการ และการส่งเสริมอุตสาหกรรมรองเท้าแตะฟื้นฟูสุขภาพเท้า 2) เพื่อศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุของมาตรฐานการผลิตสินค้า ความสามารถของผู้ประกอบการร้านค้า กลยุทธ์การตลาด และมาตรฐานการให้บริการที่มีอิทธิพลต่อการส่งเสริมอุตสาหกรรมรองเท้าแตะฟื้นฟูสุขภาพเท้า 3) เพื่อนำเสนอแนวทางการส่งเสริมอุตสาหกรรมรองเท้าแตะฟื้นฟูสุขภาพเท้า ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสามารถของผู้ประกอบการร้านค้า กลยุทธ์การตลาด และการส่งเสริมอุตสาหกรรมรองเท้าแตะในระดับมากที่สุด ส่วนมาตรฐานการผลิตสินค้าและมาตรฐานการให้บริการอยู่ในระดับมาก 2) กลยุทธ์การตลาดมีอิทิพลเชิงสาเหตุรวมต่อการส่งเสริมอุตสาหกรรมรองเท้าแตะมากที่สุด รองลงมาได้แก่ ความสามารถของผู้ประกอบการ มาตรฐานการให้บริการและมาตรฐานการผลิตสินค้า ตามลำดับ 3) ได้แนวทางการส่งเสริมอุตสาหกรรมรองเท้าแตะฟื้นฟูสุขภาพเท้า เป็นภาพแผนภูมิประกอบด้วย กลยุทธ์การตลาดที่มีอิทธิพลรวมมากที่สุด เป็นฐานผลักดันอยู่ล่างสุด มีความสามารถของผู้ประกอบการและมาตรฐานการให้บริการอยู่ตรงกลาง ส่วนมาตรฐานการผลิตสินค้าช่วยส่งเสริมอยู่ในระดับบนด้วย ผลการวิจัยมีประโยชน์ต่อหน่วยราชการ ใช้ในการกำหนดนโยบายและกำกับดูแล และเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการในการผลิตสินค้าให้ได้มาตรฐานเพื่อผู้บริโภคใช้งานได้อย่างคุ้มค่าตลอดไป

References

กัลยา วานิชย์บัญชา และ ฐิตา วานิชย์บัญชา. (2558). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. พิมพ์ครั้งที่ 21. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สามลดา.

ชีวนันท์ มูลสาร. (2559). ปัจจัยทางการตลาดที่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจเลือกซื้อรองเท้ากีฬาไนกี้. วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ประชาชาติธุรกิจ. (2565). โจลี สนอป ปรับลุก รองเท้าสุขภาพรุ่นใหม่ “ต้องไม่เชยอีกต่อไป”. สืบค้นจาก www.prachachat.net/marketing/news-996977.

ผู้จัดการออนไลน์. (2562). ต้นกำเนิดที่มาของรองเท้า. สืบค้นจาก https://mgronline.com/infographic/detail/9620000007262.

พระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ.2545.

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2562.

ราตรี มาลัยแก้ว. (2561). กลยุทธ์ทางการตลาดและการดำเนินการของผู้ประกอบการค้าส่งที่มีผลต่อความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจ ตลาดกลางผักและผลไม้ภาคตะวันตกของประเทศไทย. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม, 5(2), 243-255.

สุทธิสินี ถิระธรรมสรณ์ และ ฐากูร อนุสรณ์พาณิชกุล. (2565). ปัจจัยเชิงสาเหตุของกลยุทธ์การตลาดบริการที่มีผลต่อคุณภาพการบริการและความจงรักภักดีต่อการบริการที่พักประเภทโรงแรมและรีสอร์ท ในเขตอำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (สทมส.), 28(1), 49-64.

สุธีรา อะทะวงษา. (2560). การจัดการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. เชียงใหม่: เชียงใหม่โรงพิมพ์แสงศิลป์.

Amit, R., Glosten, L., & Muller, E. (1993). Challenges to Theory Development in Entrepreneurship Research. Journal of Management Studies, 30(5), 815-834.

Bemowski, K., & Stratton, B. (1998). 101 Good Ideas: How to Improve Just about Any Process. Wisconsin: ASO Quality Press.

Bygrave, W., & Hofer, C. (1992). Theorizing about Entrepreneurship. Entrepreneurship Theory and Practice, 16(2), 13-22.

Garvin, D. (1983). Quality on the line. Harvard Business Review, 61, 64-75.

Grace, J. (2008). Structural Equation Modeling for Observational Studies. The Journal of Wildlife Management, 72(1), 14-22.

Juran, J. (1988). Juran on Planning for Quality. London: Collier Macmillan.

Shane, S., & Venkataraman, S. (2000). The Promise of Entrepreneurship as a Field of Research. The Academy of Management Review, 25(1), 217-226.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-15

How to Cite

รัชตโรจน์ ธ., แจ่มจำรัส ท., & แสงจันทร์ ไ. (2024). แนวทางการส่งเสริมอุตสาหกรรมรองเท้าแตะฟื้นฟูสุขภาพเท้า ด้วยการซื้อของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. สหวิทยาการและความยั่งยืนปริทรรศน์ไทย, 14(1), บทความที่ 11. https://doi.org/10.14456/tisr.2025.11