มานุภาพทางศิลปะ: กรณีศึกษาผลงานศิลปะของศิลปินในจังหวัดสงขลา

ผู้แต่ง

  • ธภัทร บริรักษ์กิจดำรง คณะเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยทักษิณ
  • เจษฎา นกน้อย คณะเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยทักษิณ

DOI:

https://doi.org/10.14456/tisr.2025.2

คำสำคัญ:

มานุภาพทางศิลปะ, ผลงานศิลปะ, ศิลปิน, จังหวัดสงขลา

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพแวดล้อม และกำหนดกลยุทธ์ สำหรับงานศิลปะของศิลปินในจังหวัดสงขลา 2) ศึกษาวิธีการสร้างผลงานศิลปะในเชิงพาณิชย์ของศิลปินในจังหวัดสงขลา และ 3) ศึกษาแนวทางในการสร้างมานุภาพทางศิลปะให้กับงานศิลปะของศิลปินในจังหวัดสงขลา โดยมีผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ศิลปินผู้สร้างผลงานศิลปะในจังหวัดสงขลา โดยมีเกณฑ์ในการคัดเลือกผู้ให้ข้อมูลคือ สร้างสรรค์ผลงานศิลปะมาแล้วอย่างน้อย 3 ปี เป็นศิลปินที่สร้างสรรค์ผลงานศิลปะและมีโอกาสได้จำหน่ายผลงานให้กับบุคคลที่สนใจในงานศิลปะ จำนวน 12 คน โดยการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้เครื่องมือ SWOT Analysis และ TOWS Matrix โดยการวิเคราะห์เนื้อหา และการตรวจสอบสามเส้าด้านทฤษฎี ผลการวิจัยพบว่า สภาพแวดล้อมสำหรับงานศิลปะของศิลปินในจังหวัดสงขลา มีจุดแข็ง 4 ประการ จุดอ่อน 4 ประการ โอกาส 4 ประการ และอุปสรรค 4 ประการ โดยมีกลยุทธ์สำหรับงานศิลปะของศิลปินในจังหวัดสงขลา ประกอบด้วย กลยุทธ์เชิงรุก 3 ประการ กลยุทธ์เชิงป้องกัน 2 ประการ กลยุทธ์เชิงแก้ไข 2 ประการ และกลยุทธ์เชิงรับ 2 ประการ การสร้างผลงานศิลปะในเชิงพาณิชย์ของศิลปินในจังหวัดสงขลาศิลปินจะต้องมีการปรับตัวกับยุคสมัยโดยอาศัยความต้องการของตลาด การพัฒนาเอกลักษณ์เฉพาะตัว การใช้ช่องทางสื่อ การสร้างความร่วมมือ และการใส่ใจในคุณภาพและความคิดสร้างสรรค์ สำหรับแนวทางในการสร้างมานุภาพทางศิลปะให้กับงานศิลปะของศิลปินในจังหวัดสงขลา จากการศึกษาพบว่า ผลงานศิลปะของศิลปินในจังหวัดสงขลา ยังคงขาดความสามารถในการทำการตลาด นอกจากนี้ศิลปินรุ่นใหม่ยังคงขาดโอกาสในการนำเสนอผลงาน ซึ่งสามารถอธิบายแนวทางในการสร้างมานุภาพทางศิลปะให้กับผลงานศิลปะของศิลปินในจังหวัดสงขลาได้ออกเป็น 5 มิติ ดังนี้ 1) มิติด้านการสร้างเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม 2) มิติด้านการส่งเสริมการทูตเชิงวัฒนธรรม 3) มิติด้านการใช้สื่อสังคมและเทคโนโลยี 4) มิติการสร้างประสบการณ์ และ 5) มิติการสร้างเครือข่ายและความร่วมมือ

References

กัญจนวลัย นนทแก้ว แฟร์รี่ และ จำเนียร จวงตระกูล. (2564). การจัดการข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ. วารสารชุมชนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, 15(2), 1-12.

กิตติ ประเสริฐสุข. (2561). Soft Power ของเกาหลีใต้: จุดแข็งและข้อจำกัด. วารสารเอเชียตะวันออกศึกษา, 2(1), 122-139.

กิตติคุณ แสงนิล และ อุษา ศรีไชยา. (2565). การพัฒนาตัวแบบเชิงกลยุทธ์การสร้างมูลค่าเพิ่มของการจัดการแข่งขันตะกร้ออาชีพในประเทศไทย. วารสารวิทยาศาตร์การกีฬาและสุขภาพ, 23(1), 83-101.

จิรภัทร เริ่มศรี. (2562). กลยุทธ์การสื่อสารอัตลักษณ์ผ้าย้อมครามสกลนคร. ดุษฎีนิพนธ์ นิเทศศาสตรดุษฎีบัณฑิต,มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง. (2566). การขับเคลื่อน Soft Power: อัตลักษณ์ท้องถิ่นภาคใต้ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดชุมพร. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร., 11(5), 1922-1935.

รุยาภรณ์ สุคนธทรัพย์. (2561). การบริหารจัดการทรัพยากร Soft Power ของไทย. รัฏฐาภิรักษ์, 60(3), 47-55.

วรกมล วงษ์สถาปนาเลิศ, สุดสวาท จันทร์ดํา และ สุดารัตน์ เทพพิมล. (2567). อํานาจละมุน (Soft Power) กับจุดขายทางวัฒนธรรมไทย. วารสารศิลปการจัดการ, 8(1), 382-400.

วิชิต หล่อจีระชุณห์กุล, วลัยลักษณ์ อัตธีรวงศ์ และ กนกกรรณ์ ลี้โรจนาประภา. (2561). การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมและเมททริกซ์ทาวซ์เพื่อพัฒนายุทธวิธีการเพิ่มศักยภาพโซ่อุปทานผ้าไหมไทย-ลาว. วารสารการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, 7(3), 15-26.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2565). Soft Power (อำนาจละมุน). สืบค้นจาก https://library.parliament.go.th/th/radioscript/rr2565-may7.

สิทธิชัย อุ่นสวน. (2565). การศึกษาสินค้าและผลงานด้านศิลปะในเชิงพาณิชย์ของศิลปินในกลุ่มจังหวัดล้านนา. วารสารปัญญาปณิธาน, 7(1), 125-138.

อรพินท์ อินวงค์, ฐิติพร สะสม และ ธนวัฒน์ ศรีลา. (2565). กระบวนการยกระดับสินค้าและผลงานด้านศิลปะในเชิงพาณิชย์ของศิลปินในกลุ่มจังหวัดล้านนา. วารสารปัญญาปณิธาน, 7(1), 139-152.

Artst. (2023). Commercial Art vs Fine Art - What’s the Difference?. Retrieved from www.artst.org/commercial-art-vs-fine-art/.

Jones, A. (2019). Innovation and Economic Development through Art. London: Artistry Publications.

Mandala AI. (2024). What is TOWS Matrix? An analysis tool following SWOT Analysis. Retrieved from https://blog.mandalasystem.com/th/tows-matrix.

Miller, D. (2021). Sustainable Art Practices in the Commercial Sector. London: Green Arts Publishing.

Nguyen, T. (2023). Cultural Heritage and Economic Development in Songkhla. Hanoi: Cultural Insights.

Nye, J. (2005). Soft Power: The Means to Success in World Politics. New York: Public Affairs Books.

Pine, B., & Gilmore, J. (1998). Welcome to the Experience Economy. Harvard Business Review, 76(4), 97-105.

Porter, M., & Kramer, M. (2011). Creating shared value. Harvard Business Review, 89(1/2), 62-77.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-11-18

How to Cite

บริรักษ์กิจดำรง ธ., & นกน้อย เ. (2024). มานุภาพทางศิลปะ: กรณีศึกษาผลงานศิลปะของศิลปินในจังหวัดสงขลา. สหวิทยาการและความยั่งยืนปริทรรศน์ไทย, 14(1), บทความที่ 2. https://doi.org/10.14456/tisr.2025.2