การประเมินศักยภาพการท่องเที่ยวตามรอยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมหาราช ในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
DOI:
https://doi.org/10.14456/tisr.2025.7คำสำคัญ:
ศักยภาพการท่องเที่ยว, พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมหาราช, จังหวัดประจวบคีรีขันธ์, การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินศักยภาพการท่องเที่ยวตามรอยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมหาราชในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยใช้วิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งประกอบด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก และการประเมินศักยภาพการท่องเที่ยวตามรอยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมหาราชในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 20 ท่าน ผลการวิจัยพบว่าแหล่งท่องเที่ยวตามรอยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมหาราชในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีศักยภาพที่หลากหลายและมีความสำคัญต่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ จากการสัมภาษณ์และการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่าแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับการยอมรับว่ามีศักยภาพสูง ได้แก่ สถานที่ประวัติศาสตร์สำคัญและแหล่งวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับพระราชกรณียกิจของพระองค์ การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวดังกล่าวควรมุ่งเน้นไปที่การสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชนท้องถิ่น รวมถึงการจัดทำแผนการตลาดและการประชาสัมพันธ์เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว
References
กรมศิลปากร. (2544). วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).
กรมศิลปากร. (2547). พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 4. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2557). คู่มือการตรวจประเมินมาตรฐานคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์. สืบค้นจาก www.dot.go.th/storage/ebooks/February2019/PLpogKmbYidrDzxTZ5K1.pdf.
กาญจนาพร ไตรภพ และ พิเศษ ชัยดิเรก. (2563). การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืนของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารรังสิตบัณฑิตศึกษาในกลุ่มธุรกิจและสังคมศาสตร์, 6(1), 110-127.
ธนิชชา ชัยชัชวาลประทีป และ ชวลีย์ ณ ถลาง. (2562). การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเพื่อดำรงรักษาความเป็นเมืองเป้าหมายของอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา, 9(2), 103-111.
นฤดม ต่อเทียนชัย และ วิชิต อู่อ้น. (2567). การสร้างแบบจำลองของการสื่อสารการตลาดดิจิทัลแบบบูรณาการกับการตัดสินใจซื้อ. วารสาร มจร. การพัฒนาสังคม, 9(1), 43-57.
ปฐมพงค์ กุกแก้ว และ เอกลักษณ์ สงวนแสง. (2563). การวิเคราะห์ศักยภาพของตลาดสามชุกเพื่อรองรับการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย, 15(2), 68-76.
ปรีดี พิศภูมิวิถี. (2562). พื้นที่กรุงรัตนโกสินทร์ชั้นนอกสมัยรัชกาลที่ 4: การใช้งานและความเปลี่ยนแปลง. วารสารมานุษยวิทยา, 2(1), 119-170.
พรรณี สวนเพลง, นวนันทน์ ศรีสุขใส และ ปณิชา ตันสูติชล. (2561). ศักยภาพการท่องเที่ยวตามรอยโครงการพระราชดำริ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 11(3), 2724-2739.
ภรภัสสรณ์ ชุมพล. (2561). การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ของจังหวัดลพบุรี. สารนิพนธ์ การจัดการมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล.
สำนักราชเลขาธิการ. (2547). เสด็จประพาสต้น ร.ศ.125. กรุงเทพฯ: สำนักราชเลขาธิการ.
สำนักราชเลขาธิการ. (2551). พระบรมราชาธิบายเรื่องสามัคคี. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: สำนักราชเลขาธิการ.
Keller, K., & Kotler, P. (2022). Branding in B2B firms. In Handbook of Business-to-Business Marketing (pp. 205-224). Massachusetts: Edward Elgar Publishing.
Van Dalen, D. (1979). Understanding Educational Research. New York: McGraw-Hill.
Yu, P., Lertcharnrit, T., & Smith, G. (eds.). (2023). Heritage and Cultural Heritage Tourism: International Perspectives. Berlin: Springer.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 Authors
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.