รูปแบบการบริหารจัดการศูนย์บริหารเครือข่ายการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา

ผู้แต่ง

  • ปิยะ กรกชจิตนาการ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • ไพโรจน์ สถิรยากร คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • วัชรพล ลักษณลม้าย คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

DOI:

https://doi.org/10.14456/tisr.2024.41

คำสำคัญ:

องค์ประกอบ, การบริหาร, ศูนย์บริหารเครือข่ายการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบรูปแบบการบริหารจัดการศูนย์บริหารเครือข่ายการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา และ 2) เพื่อประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการบริหารจัดการศูนย์บริหารเครือข่ายการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบของรูปแบบการบริหารจัดการศูนย์บริหารเครือข่ายฯ ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบหลัก 11 องค์ประกอบย่อย ดังนี้ 1) การบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม ได้แก่ 1.1) การบริหารจัดการบุคลากร 1.2) การบริหารจัดการงบประมาณ 1.3) การบริหารจัดการงบประมาณ และ 1.4) พัฒนาระบบควบคุมการบริหารจัดการ 2) การวางแผน ควบคุม และติดตาม ได้แก่ 2.1) กำหนดแนวทางปฏิบัติโครงการแผนงาน 2.2) กำหนดแนวทางการจัดการศูนย์บริหารเครือข่ายฯ และ 2.3) พัฒนาระบบควบคุมและติดตามการปฏิบัติงาน 3) การส่งเสริมและพัฒนา ได้แก่ 3.1) การพัฒนาหลักสูตรและระบบสารสนเทศ สำหรับการบริหารงาน และ 3.2) การพัฒนาหลักสูตรและระบบสารสนเทศ สำหรับการบริหารงาน และ 4) การจัดการข้อมูลและการประเมินผล ได้แก่ 4.1) พัฒนาฐานข้อมูลของสถานประกอบการ และ 4.2) กำหนดแนวทางประเมินสมรรถนะอาชีพในการทำงาน รูปแบบการบริหารจัดการศูนย์บริหารเครือข่ายฯ มีความเหมาะสมในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

References

ปัทมพร วงศ์เณร. (2555). พฤติกรรมการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อกระบวนการนิเทศภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1. นิเทศศาสตรบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.

วัชรินทร์ สิทธิเจริญ. (2547). การศึกษางาน = Work Study. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. (2548). การบริหารจัดการและการบริหารการพัฒนาขององค์กรตามรัฐธรรมนูญและหน่วยงานของรัฐ. กรุงเทพฯ: นิติธรรม.

สมจิต ไชยเชษฐ, สมเกตุ อุทธโยธา และ จักรปรุฬห์ วิชาอัครวิทย์. (2561). การบริหารงานโรงเรียนต้นแบบการเรียนรวม ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูนเขต 2 ตามวงจรคุณภาพ (PDCA). พิฆเนศวร์สาร, 14(1), 177-192.

สุธาสินี โพธิจันทร์. (2558). PDCA หัวใจสำคัญของการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง. สืบค้นจาก www.ftpi.or.th/2015/2125.

Deming, W. (1986). Out of the Crisis: Quality, Productivity and Competitive Position. Cambridge: Cambridge University Press.

Drucker, P. (1993). Management: Tasks, Responsibilities, Practices. New York: Harper Business.

Hair, J., Black, W., Babin, B., & Anderson, R. (2013). Multivariate Data Analysis. 7th ed. London: Pearson Education Limited.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-10-03

How to Cite

กรกชจิตนาการ ป., สถิรยากร ไ., & ลักษณลม้าย ว. (2024). รูปแบบการบริหารจัดการศูนย์บริหารเครือข่ายการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา. สหวิทยาการและความยั่งยืนปริทรรศน์ไทย, 13(2), 263–273. https://doi.org/10.14456/tisr.2024.41