ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อความสำเร็จของอุตสาหกรรมค้าปลีกอัญมณีแท้ในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ปภาวดี อัศววงษ์วิวัฒน์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต
  • บวรลักษณ์ เสนาะคำ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต
  • จุฬาภรณ์ ขอบใจกลาง บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต

DOI:

https://doi.org/10.14456/tisr.2024.45

คำสำคัญ:

การบริหารทรัพยกร, การจัดการองค์กร, ส่วนประสมทางการตลาด, ความสำเร็จอุตสาหกรรมค้าปลีกอัญมณี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยใช้งานวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของอุตสาหกรรมค้าปลีกอัญมณีแท้ ในประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ประกอบการค้าปลีกอัญมณีแท้ในประเทศไทย จำนวน 340 คน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านการค้าปลีกอัญมณีแท้ในประเทศไทย จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามและวิเคราะห์แบบจำลองสมการโครงสร้าง โดยใช้โปรแกรมทางสถิติและข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1) การพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของอุตสาหกรรมค้าปลีกอัญมณีแท้ ในประเทศไทย พบว่าตัวชี้วัดทุกตัวผ่านเกณฑ์ชี้วัตทุกตัวแสดงว่าโมเดลสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์โมเดลจะมีปัจจัยเชิงสาเหตุที่ 1 คือ การบริหารทรัพยากร ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ 2 คือการจัดการองค์กร และปัจจัยเชิงสาเหตุที่ 3 คือ กลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาด (7Ps) ความสำเร็จของอุตสาหกรรมค้าปลีกอัญมณีแท้ในประเทศไทย ได้รับอิทธิพลโดยตรงจากการบริหารทรัพยากรของผู้ประกอบการสูงที่สุด 2) ผลการศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของอุตสาหกรรมค้าปลีกอัญมณีแท้ ในประเทศไทยพบว่า การบริหารทรัพยกร การจัดการองค์กร และส่วนประสมทางการตลาด ทั้งสามตัวแปรมีอิทธิพลต่อความสำเร็จของอุตสาหกรรมค้าปลีกอัญมณีแท้ ในประเทศไทยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

จักรกฤษณ์ นรนิติผดุงการ. (2561). การจัดการด้านปัจจัยในการบริหารงาน. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

จักราธิป จูรกรรณ์, สุดา สุวรรณาภิรมย์ และ พรชัย ดีไพศาลสกุล. (2565). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจเครื่องประดับและอัญมณีของผู้ประกอบการในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสาร มจร. การพัฒนาสังคม, 7(3), 394-404.

จิตติมา กิ่งทอง, ปาริชาติ ธีระวิทย์ และ ทวีศักดิ์ รูปสิงห์. (2562). กลยุทธ์การจัดการธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับของผู้ประกอบการเพื่อการแข่งขันในตลาดโลก. วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรม พระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 10(1), 204-216.

ประพนธ์ เล็กสุมา. (2555). รูปแบบและกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจค้าปลีกเครื่องเขียนของผู้ประกอบการรายย่อย ในเขตอำเภอเมืองนครปฐม. วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เปรมชัย สโรบล. (2550). ปัจจัยการบริหารที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพการศึกษา ของโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า. วิทยานิพนธ์ ดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ผู้จัดการออนไลน์. (2567). เทรนด์อัญมณีและเครื่องประดับปี 67. สืบค้นจาก https://mgronline.com/business/detail/9670000007207.

พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต. (2552). องค์การและการบริหารจัดการ. นนทบุรี: ธิงค์ บียอนด์ บุ๊คส์.

รัชฎาพร จันทะดวง. (2562). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องประดับอัญมณีของผู้บริโภค กรณีศึกษา ร้านขวัญข้าวจิวเวลรี่. วิทยานิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก.

วิทยาพล ธนวิศาลขจร, นพพล กลิ่นเกลื่อนไกล และ พรพนา ศรีสถานนท์. (2563). กลยุทธ์ทางการตลาดกับการเลือกซื้ออัญมณีเครื่องประดับเขตอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. วารสารศิลปการจัดการ, 4(1), 1-12.

วีระพล แสงรัตนทองคํา. (2544). วิสัยทัศน์ของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตําบล จังหวัดฉะเชิงเทรา. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

ศรัณย์ เปรมสุข. (2566). การพัฒนารูปแบบบริหารเชิงกลยุทธ์ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน เพื่อเสริมสร้าง คุณภาพของนักเรียนมัธยมศึกษา. วิทยานิพนธ์ การศึกษาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ. (2566ก). จำนวนผู้ประกอบการอัญมณีไทย ปี พ.ศ.2563-2565. สืบค้นจาก https://infocenter.git.or.th/infographic/marketing.

ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ. (2566ข). สถานการณ์ส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ ปี 2566. สืบค้นจาก https://infocenter.git.or.th/article/article-20230410.

สมาคมผู้ค้าอัญมณีไทยและเครื่องประดับ. (2565). สมาชิกกับสมาคมผู้ค้าอัญมณีไทย. www.thaigemjewelry.or.th/member.

สุธี ขวัญเงิน. (2559). หลักการจัดการ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

สุปรียา ชินพะวอ. (2562). การพัฒนาแนวทางการบริหารเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25. วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สุพริศร์ สุวรรณิก. (2565). โอกาสและความท้าทายของธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับไทย. สืบค้นจาก www.bot.or.th/th/research-and-publications/articles-and-publications/articles/Article_26Mar2022.html.

เอกชัย เรืองรัตน์, สุดา สุวรรณาภิรมย์ และ ธิปัทย์ โสตถิวรรณ์. (2567). โมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จอย่างยั่งยืนในการบริหารคลังสินค้าขนาดเล็กบนความปกติใหม่. วารสารวิจยวิชาการ, 7(2), 97-115.

Creswell, J., & Plano Clark, V. (2018). Designing and Conducting Mixed Methods Research. 3rd ed. California: SAGE Publications.

Etgar, D., & Wibisono, D. (2023). Determining Key Performance Indicators with Balanced Scorecard Approach for Construction Project Warehouse Efficiency. Journal of Economics and Business UBS, 12(2), 761-776.

Kotler, P., & Keller, K. (2016). Marketing Management. 15th ed. New Jersey: Pearson Education.

Limprana, P., Leecharoen, B., & Chalaechorn, N. (2023). The Antecedents and Success of the Thai Spa Business. Asian Administration and Management Review, 6(1), 35-47.

Schumacker, R., & Lomax, R. (2010). A Beginners Guide to Structural Equation Modeling. New York: Routledge.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-10-04

How to Cite

อัศววงษ์วิวัฒน์ ป., เสนาะคำ บ., & ขอบใจกลาง จ. (2024). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อความสำเร็จของอุตสาหกรรมค้าปลีกอัญมณีแท้ในประเทศไทย. สหวิทยาการและความยั่งยืนปริทรรศน์ไทย, 13(2), 313–328. https://doi.org/10.14456/tisr.2024.45