การยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชน ของผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน อำเภอธารโต จังหวัดยะลา
DOI:
https://doi.org/10.14456/tisr.2024.44คำสำคัญ:
การยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชน, วิสาหกิจชุมชน, จังหวัดยะลาบทคัดย่อ
งานวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาผลิตภัณฑ์ 2) วิเคราะห์ต้นทุนการผลิตและการกำหนดราคาผลิตภัณฑ์ชุมชน และ 3) พัฒนาบรรจุภัณฑ์และช่องทางการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชนของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่อำเภอธารโต จังหวัดยะลา ให้สามารถแข่งขันและดำเนินธุรกิจได้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม รวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่ม ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ประธาน สมาชิกกลุ่ม นักพัฒนาชุมชน กลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดและพัฒนาผลิตภัณฑ์ และกลุ่มลูกค้าที่เคยซื้อผลิตภัณฑ์ รวมจำนวน 26 คน ผลการวิจัยพบว่า ผลิตภัณฑ์กลุ่มขาดความเป็นอัตลักษณ์ ไม่หลากหลาย บรรจุภัณฑ์ยังขาดความสวยงาม ขาดการแสดงรายละเอียดของสินค้า ไม่ได้กำหนดราคาที่มาจากการคำนวณต้นทุนและกำไร ช่องทางการจัดจำหน่ายไม่สามารถเข้าถึงลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย และกลุ่มขาดการส่งเสริมการตลาด ผลการพัฒนาศักยภาพปรากฏดังนี้ กลุ่มได้รับการพัฒนาก่อให้เกิดผลิตภัณฑ์ที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่ม มีบรรจุภัณฑ์ที่มีความทนทาน สามารถเก็บรักษาสินค้าได้ดีขึ้น ฉลากมีความโดดเด่นและให้รายละเอียดของสินค้า เพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายในรูปแบบออนไลน์ และส่งเสริมการตลาดที่เน้นการสื่อสารผ่านช่องทางการจัดจำหน่าย ผลการดำเนินงานพบว่า ผลิตภัณฑ์เป็นที่รู้จักส่งผลให้ยอดขายเพิ่มขึ้น ก่อให้เกิดรายได้ทั้งต่อตนเองและกับกลุ่ม
References
เกษสุดา พลแก้ว, อุดมศักดิ์ เดโชชัย, จิตติมา ดำรงวัฒนะ และ เดโช แขน้ำแก้ว. (2560). ภูมิปัญญาการแปรรูปปลาท้องถิ่นเพื่อการดำรงอยู่ตามวิถีป่าพรุ กรณีศึกษา: กลุ่มผลิตภัณฑ์ตลาดปลา ตำบลบ้านตูล อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 4(2), 94-103.
เกียรติศักดิ์ หนุนยศ. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการความรู้ด้านวิสาหกิจชุมชน ของนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร จังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าอิสระ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
เสรี พงศ์พิศ. (2548). ฐานคิดจากแผนแม่บทสู่วิสาหกิจชุมชน. กรุงเทพฯ: พลังปัญญา.
กนกกาญจน์ ศรีสุรินทร์. (2560). ต้นทุนและผลตอบแทนการปลูกข้าวนาปรัง กรณีศึกษา บ้านฮี หมู่ 3 ตำบลคำเจริญ อำเภอตระการพืชผลดี จังหวัดอุบลราชธานี. บทความนำเสนอในงานวิจัยระดับชาติราชธานีวิชาการ ครั้งที่ 2 มหาวิทยาลัยราชธานี, 26-27 กรกฎาคม 2560.
กรรณิการ์ สายเทพ และ พิชญา เพิ่มไทย. (2560). แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นเพื่อการส่งออกของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนดอกไม้ประดิษฐ์ ตำบลแม่ทะ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง. วารสารวิทยาการจัดการสมัยใหม่, 10(2), 1-11.
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2566). สถิติด้านการท่องเที่ยวปี 2565. สืบค้นจาก www.mots.go.th/news/category/655.
กาญจนา ปล้องอ่อน. (2561). การวิเคราะห์จุดคุ้มทุนการปลูกข้าวเล็บนกปัตตานีของเกษตรกร จังหวัดพัทลุง. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต, 14(2), 325-348.
ชนงกรณ์ กุณฑลบุตร. (2560). หลักการจัดการธุรกิจปัจจุบัน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชนนิกานต์ อินทรเผือก, ประเพศ ไกรจันทร์ และ ทวีศักดิ์ รูปสิงห์. (2564). รูปแบบการจัดการวิสาหกิจชุมชนเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน. วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรม พระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 12(2), 46-56.
ชัญญานุช ยุทธวรวิทย์. (2565). การศึกษาโมเดลการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. การค้นคว้าอิสระ การจัดการมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล.
ดุษฎี นาคเรือง, สุธิดา วัฒนยืนยง และ นุชนภา เลขาวิจิตร. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนจังหวัดยะลา. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 9(17), 69-77.
ทาริกา สระทองคำ, อนงค์ ไต่วัลย์ และ อมร ถุงสุวรรณ. (2565). รูปแบบการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ที่ตอบสนองความต้องการลูกค้าในยุคอนาคต. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 8(1), 239-250.
ทิวากร เหล่าลือชา, ประภัสสร นิ่มพินิจ, เผด็จ เปล่งปลั่ง, กวินท์ พินจํารัส และ กุษลินน์ ปรีชา. (2565). การพัฒนาและสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์จากเกลือทะเลเพื่อการท่องเที่ยวชุมชน จังหวัดสมุทรสาคร. วารสารสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 6(1), 223-230.
นิรันดิ์เกียรติ ลิ่วคุณูปการ. (2565). การจัดการห่วงโซ่คุณค่ากลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูป ในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 17(1), 136-146.
พระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน พ.ศ.2548.
พิมพ์อมร นิยมค้า. (2564). การพัฒนาสินค้าที่ระลึกผ้าทอมือย้อมครามเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจการท่องเที่ยวในเขตเทศบาลนครสกลนคร. วารสารศิลปะศาสตร์และวิทยาการจัดการ, 8(2), 76-89.
มนันยา นันทสาร. (2563). การพัฒนาบรรจุภัณฑ์และช่องทางการตลาดผลิตภัณฑ์มะม่วงมหาชนก แปรรูปเชิงพาณิชย์ อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม. สืบค้นจาก https://tnrr.nriis.go.th/#/research/1034362.
สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. (2566). แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 23 ประเด็น. สืบค้นจาก www.senate.go.th/view/143/เอกสารต่างๆที่เกี่ยวข้อง/TH-TH.
สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดยะลา. (2563). รายชื่อผู้ผลิต-ผู้ประกอบการ-OTOP-จังหวัดยะลา. สืบค้นจาก https://yala.cdd.go.th/wp-content/uploads/sites/47/2020/05/รายชื่อผู้ผลิต-ผู้ประกอบการ-OTOP-จังหวัดยะลา.pdf.
สิริกาญจน์ ทวีพิธานันท์, ลักษมี งามมีศรี, เจนจิรา เงินจันทร์ และ มานิตย์ สิงห์ทองชัย. (2566). การศึกษาการพัฒนาผลิตภัณฑ์และส่งเสริมการตลาดของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ฝรั่งอินทรีย์ (บ้านตะคร้อ) เพื่อขยายตลาดไปสู่กลุ่มเป้าหมายใหม่. วารสารวิชาการ การจัดการภาครัฐและเอกชน, 5(1), 172-188.
สื่อเพื่อสันติ. (2565). ภาคเอกชน นักธุรกิจ จ.ยะลา ลงพื้นที่ศึกษาความเป็นไปได้ พร้อมร่วมเดินหน้าพัฒนาการท่องเที่ยว สู่ “เบตง 10,000 ล้าน”. สืบค้นจาก http://spmcnews.com/?p=48105.
สุพัตรา เนียมน้อย. (2562). ส่วนประสมทางการตลาดผลิตภัณฑ์แปรรูปน้ำเชื่อมอ้อยของวิสาหกิจชุมชนเกษตรบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี. การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.
สุวภัทร ศรีจองแสง. (2561). การพัฒนาสินค้าที่ระลึกทางการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านบากชุม ตำบลโนนก่อ อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 9(2), 20-47.
องค์การบริหารส่วนจังหวัดยะลา. (2564). แผนพัฒนาท้องถิ่น พ.ศ. 2566-2570 องค์การบริหารส่วนจังหวัดยะลา. สืบค้นจาก https://yalapao.go.th/th/wp-content/uploads/แผนพัฒนาท้องถิ่น-พ.ศ.2566-2570.pdf.
องค์การบริหารส่วนจังหวัดยะลา. (ม.ป.ป.). สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน. สืบค้นจาก https://yalapao.go.th/th/general-info/.
อัปสร อีซอ, จิราพร เกียรตินฤมล, อุษณีย์ พรหมศรียา, นันทรัตน์ นามบุรี, ชรีฮาน ยีแว และ ปวีณา เจะอารง. (2562). การพัฒนาผลิตภัณฑ์กลุ่มกะลามะพร้าวบ้านท่าสาป จังหวัดยะลาตามแนวทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 14(3), 417-423.
George, E., Mair, H., & Reid, D. (2009). Rural Tourism Development: Localism and Cultural Change. Berlin: De Gruyter.
Karray, S. (2013). Periodicity of pricing and marketing efforts in a distribution channel. European Journal of Operational Research, 228(3), 635-647.
Kusumastuti, R., & Juwono, V. (2022). Social Enterprise in Action: A Study of Indigenous Community-based Enterprise in Rural Areas to End Poverty in All its Form (Irodori Leaf-Business Kamikatsu, Japan and Ikat Woven-Business Pringgasela Lombok, Indonesia). KnE Social Sciences, 7(12), 424-431.
McCarthy, E., & Perreault, W. (1987). Basic marketing: a managerial approach. Illinois: Irwin.
Son, J., & Jin, B. (2019). When do high prices lead to purchase intention? Testing two layers of moderation effects. Asia Pacific Journal of Marketing and Logistics, 31(5), 1516-1531.
Stott, N., Darlington, M., Brenton, J., & Slawinski, N. (2022). Partnerships and place: the role of community enterprise in cross-sector work for sustainability. In G. George, M. Haas, H. Joshi, A. McGahan, & P. Tracey. Handbook on the Business of Sustainability (pp. 118-136). Cheltenham: Edward Elgar Publishing.
Welsch, H., & Kuhns, B. (2002). Community-based enterprises: Propositions and cases. A paper presented at the 16th Annual USASBE National Conference: An Entrepreneurial Bonanza, Nevada, USA.
Yenipazarli, A. (2015). A road map to new product success: warranty, advertisement and price. Annals of Operations Research, 226(1), 669-694.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 Authors
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.