การวิจัยเพื่อพัฒนาและทดสอบความตรงของแบบวัด ความตั้งใจดูแลผู้สูงวัยอย่างเอื้ออาทร
DOI:
https://doi.org/10.14456/tisr.2025.4คำสำคัญ:
ความตั้งใจดูแลอย่างเอื้ออาทร, ผู้สูงวัย, นักศึกษาพยาบาล, ผู้ให้บริการดูแลผู้สูงวัยบทคัดย่อ
ในปัจจุบันมีประชากรสูงวัยที่ต้องอยู่ภายใต้การดูแลมีเพิ่มมากขึ้น ความตั้งใจที่จะดูแลอย่างเอื้ออาทรจึงเป็นคุณลักษณะที่สำคัญของผู้ดูแลผู้สูงวัย เพื่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงวัย การวิจัยมีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาเครื่องมือวัดความตั้งใจที่จะดูแลผู้สูงอายุอย่างเอื้ออาทร โดยมีการวิจัยทั้งหมด 4 ขั้นตอน โดยในขั้นการหาคุณภาพของเครื่องมือวัด และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาพยาบาล รวมจำนวน 420 คน ผลปรากฏว่า โมเดลการวัดความตั้งใจที่จะดูแลผู้สูงอายุอย่างเอื้ออาทร ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ จำนวน 12 ข้อ และอธิบายความแปรปรวนได้ 59.484% ในขั้นการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาพยาบาล กลุ่มใหม่ จำนวน 384 คน ผลการวิเคราะห์ข้อมูลปรากฏว่า โมเดลการวัดมีความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ แบบวัดมีค่าความเชื่อมั่นของแบบวัดเท่ากับ 0.82 เมื่อทำการทดสอบความตรงในกลุ่มตัวอย่างผู้ให้บริการดูแลผู้สูงอายุจำนวน 171 คน พบว่า แบบวัดที่สร้างใหม่นี้มีความสัมพันธ์ทางบวกกับจิตพลังจริยธรรม การประเมินแก่นแห่งตน และพฤติกรรมการดูแลอย่างเอื้ออาทร แต่มีความสัมพันธ์ทางลบกับจริยธรรมหลุด จึงได้เสนอแนะการใช้แบบวัดเพื่อการปฏิบัติและการวิจัยต่อไป
References
กนกรัตน์ วงษ์หีบทอง, กทลี กล่อมอู่, กนกวรรณ ด่านจิตติศิริ, กมลรัชต์ เที่ยงตรง, นิลวรรณ เที่ยงจันทร์, วราภรณ์ ทองดอนง้าว, อาภาภรณ์ เตมีย์เจริญถาวร, ยังเดน คินแซง และ วงเดือน สุวรรณคีรี. (2563). พฤติกรรมการดูแลอย่างเอื้ออาทรของนิสิตพยาบาล มหาวิทยาลัยนเรศวร. วารสารพยาบาล, 69(4), 11-20.
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2555). แนวทางคู่มือการจัดการปัญหาความรุนแรงต่อผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.
กระทรวงสาธารณสุข. (2557). คู่มือแนวทางการอบรมผู้ดูแลผู้สูงอายุ หลักสูตร 420 ชั่วโมง. สืบค้นจาก https://hp.anamai.moph.go.th/th/manuals-of-official/download/?did=209011&id=90968&reload=.
กวิสรา ตันซู้. (2562). การคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภคที่เป็นผู้สูงอายุ. วิทยานิพนธ์ นิติศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
จิราพร เกศพิชญวัฒนา และ สุวิณี วิวัฒน์วานิช. (2555). คู่มือแนวทางการจัดการปัญหาความรุนแรงต่อผู้สูงอายุ. สืบค้นจาก www.dop.go.th/download/knowledge/th1614763116-480_0.PDF.
ดวงเดือน พันธุมนาวิน. (2538). ทฤษฎีต้นไม้จริยธรรม. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ดัชนี สุวรรณคม. (2548). การทำร้ายผู้สูงอายุในจังหวัดนครพนม. วิทยานิพนธ์ พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ดุจเดือน พันธุมนาวิน. (2558). ปัจจัยเชิงเหตุของพฤติกรรมเสี่ยงอย่างมีสติของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา: การวิเคราะห์เส้นทางอิทธิพล. วารสารพฤติกรรมศาสตร์, 21(1), 75-94.
นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2537). ความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้น (LISREL): สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์ และพฤติกรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พัชรินทร์ บุญเสริม. (2546). ความรุนแรงในครอบครัวต่อผู้สูงอายุในอำเภอบ้านเขว้า จังหวัดชัยภูมิ. วิทยานิพนธ์ พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ภัณฑิลา อิฐรัตน์, กฤตยา แสวงเจริญ, จิราวรรณ แท่นวัฒนกุล, นิลาวรรณ ฉันทะปรีดา และ สมพร วัฒนนุกูลเกียรติ. (2547). ความรุนแรงต่อผู้สูงอายุในครอบครัวภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารพฤฒาวิทยาและเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ, 5(3), 2-10.
รษิกา พงษ์ยุทธกร. (2562). การตกเป็นเหยื่อการละเมิดทางทรัพย์สินของผู้สูงอายุจากบุคคลในครอบครัวหรือเครือญาติ. วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วัลลภ วาทะสิทธิ์, สุคนธา ศิริ และ กุลยา นาคสวัสดิ์. (2556). ความชุกของการเกิดความรุนแรงต่อผู้สูงอายุหญิงในครอบครัวและคุณลักษณะของผู้กระทำความรุนแรง จังหวัดนครราชสีมา. บทความนำเสนอในงานการจัดประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 34 มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 27 มีนาคม 2558.
ศักรินทร์ แก้วเฮ้า, ไพรวัลย์ ร่มซ้าย, พิมพ์นิดา กุลสุนทราลัย, อำไพ โพธิ์คำ และ สุนิศา เจือหนองแวง. (2563). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการฆ่าตัวตายซ้ำของผู้สูงอายุไทย. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 65(3), 301-314.
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2546). รายงานของคณะกรรมาธิการกิจการสตรี เยาวชนและผู้สูงอายุ วุฒิสภา พิจารณาศึกษาเรื่อง ความรุนแรงต่อเด็กและเยาวชนในครอบครัว. สืบค้นจาก https://dl.parliament.go.th/backoffice/viewer2300/web/viewer.php.
สิริลักษณ์ โสมานุสรณ, ชมนาด สุ่มเงิน และ กุลธิดา สัมมาวงศ์. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการกระทำความรุนแรงในผู้สูงอายุตามมุมมองของผู้สูงอายุและสมาชิกในครอบครัว. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี, 33(1), 90-103.
Baker, M. (2007). Elder Mistreatment: Risk, Vulnerability, and Early Mortality. Journal of the American Psychiatric Nurses Association, 12(6), 313-321.
Bandura, A. (2002). Selective moral disengagement in the exercise of moral agency. Journal of Moral Education, 31(2), 101-119.
Bhanthumnavin, D. (2021). Antecedent Model of Punctual Behavior of Undergraduate Students. NIDA Development Journal, 61(1), 65-104.
Bonnie, R., & Wallace, R. (eds.). (2003). Elder Mistreatment: Abuse, Neglect, and Exploitation in an Aging America. Washington, D.C.: National Academies Press.
Caprara, G., Fida, R., Vecchione, M., Tramontano, C., & Barbaranelli, C. (2009). Assessing civic moral disengagement: Dimensionality and construct validity. Personality and Individual Differences, 47(5), 504-509.
Cheewakoset, R., & Sakdapat, N. (2024). Financial skills, Entrepreneurial Qualities, and Leadership Qualities that Influence the Preparatory Behaviours for Business Competition of Undergraduate Students in Thailand. International Journal of eBusiness and eGovernment Studies, 16(1), 203-222.
Corbi, G., Grattagliano, I., Ivshina, E., Ferrara, N., Cipriano, A., & Campobasso, C. (2015). Elderly abuse: risk factors and nursing role. Internal and Emergency Medicine, 10(3), 297-303.
Fishbein, M., & Ajzen, I. (1975). Belief, Attitude, Intention, and Behavior: An Introduction to Theory and Research. Massachusetts: Addison-Wesley.
Fulmer, T. (1989). Mistreatment of Elders: Assessment, Diagnosis, and Intervention. In J. Allender, & C. Rector. (eds.). Reading in Gerontological Nursing (pp. 396-407). Philadelphia: Lippincott Raven Publisher.
Hair, J., Black, W., Babin, B., & Anderson, R. (2010). Multivariate Data Analysis. 7th ed. New York: Pearson.
Hair, J., Matthews, L., Matthews, R., & Sarstedt, M. (2017). PLS-SEM or CB-SEM: updated guidelines on which method to use. International Journal of Multivariate Data Analysis, 1(2), 107-123.
Holland, J. (1966). A psychological classification scheme for vocations and major fields. Journal of Counseling Psychology, 13(3), 278-288.
International Network for the Prevention of Elder Abuse. (2009). Hidden Voices: Awareness Day 2009. New York: International Network for the Prevention of Elder Abuse.
Judge, T., Erez, A., Bono, J., & Thoresen, C. (2003). The Core Self-Evaluations Scale: Development of a measure. Personnel Psychology, 56(2), 303-331.
Kock, N., & Hadaya, P. (2018). Minimum Sample Size Estimation in PLS-SEM: The Inverse Square Root and Gamma-Exponential Methods. Information Systems Journal, 28(1), 227-261.
Laumann, E., Leitsch, S., & Waite, L. (2008). Elder Mistreatment in the United States: Prevalence Estimates from a Nationally Representative Study. The Journals of Gerontology, Series B: Psychological Sciences and Social Sciences, 63(4), S248-S254.
Nunnally, J., & Bernstein, I. (1994). The Assessment of Reliability. Psychometric Theory, 3, 248-292.
Perel-Levin, S. (2008). Discussing screening for elder abuse at primary health care level. Geneva: World Health Organization.
Phelan, A. (ed.). (2013). International Perspectives on Elder Abuse. London: Routledge.
Prasartkul, P. (ed.). (2019). Situation of the Thai Elderly 2018. Nakhon Pathom: Printery Co., Ltd.
Sakdapat, N., Cheewakoset, R., Ngamcharoen, P., & Bhanthumnavin, D. (2024). Stress Management Behaviour in Working Adults: A Case Study of Operational-Level Private Sector Employees in the Capital City of Thailand. Przestrzen Spoleczna (Social Space), 24(2), 469-488.
Watson, J. (2008). Nursing: The Philosophy and Science of Caring. Colorado: University Press of Colorado.
Wattanavit, P., & Sakdapat, N. (2024). Causal Models Related to the Development of Self-Directed Learning Behaviour Among Undergraduate Students in Thailand. Eurasian Journal of Educational Research, 110, 312-325.
World Health Organization. (2002). World Report on Violence and Health. Geneva: World Health Organization.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 Authors
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.