ผลลัพธ์จากการสร้างเครือข่ายทางสังคมความมั่นคงทางอาหารชุมชน ในกลุ่มประมงพื้นบ้านจังหวัดเพชรบุรี
DOI:
https://doi.org/10.14456/tisr.2024.46คำสำคัญ:
เครือข่ายทางสังคม, ความมั่นคงทางอาหาร, กลุ่มประมงพื้นบ้านบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) กระบวนการสร้างเครือข่ายทางสังคมในกลุ่มประมงพื้นบ้านจังหวัดเพชรบุรีและ 2) ผลลัพธ์จากการสร้างเครือข่ายทางสังคมความมั่นคงทางอาหารชุมชนในกลุ่มประมงพื้นบ้านจังหวัดเพชรบุรี ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพแบบกรณีศึกษาโดยเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มประมงพื้นบ้านชุมชนแหลมผักเบี้ยและกลุ่มประมงพื้นบ้านชุมชนบ้านคลองเทียนจังหวัดเพชรบุรีจำนวนรวม 36 รายและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่ากระบวนการสร้างเครือข่ายทางสังคมในกลุ่มประมงพื้นบ้านจังหวัดเพชรบุรีแบ่งออกได้ 3 ช่วง 1) การสร้างความสัมพันธ์ได้แก่การกำหนดกฎกติกาสำหรับสมาชิกกลุ่มประมงพื้นบ้านเพื่อให้เกิดแนวทางการปฏิบัติร่วมกัน, การทำประมงพื้นบ้านอย่างรับผิดชอบ และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ 2) การสร้างความร่วมมือได้แก่การสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ เช่นสำนักงานวิจัยแห่งชาติ, กรมประมง, สำนักงานประมงจังหวัดเพชรบุรี, ธนาคารออมสิน 3) การกำหนดภารกิจเครือข่ายมีการกำหนดภารกิจและเป้าหมายกลุ่ม ผลลัพธ์จากการสร้างเครือข่ายทางสังคมความมั่นคงทางอาหารชุมชนในกลุ่มประมงพื้นบ้านจังหวัดเพชรบุรีพบว่าความมั่นคงทางอาหารชุมชนในกลุ่มประมงพื้นบ้านมีมีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นทั้งเชิงปริมาณสัตว์น้ำที่จับได้, รายได้, ระยะเวลาในการทำประมงพื้นบ้าน และคุณภาพชีวิตที่ดีขี้น
References
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2567). แนวทางการดำเนินงานศูนย์ประสานงานเครือข่ายมชน. กรุงเทพฯ: กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
กาญจนา แก้วเทพ และ กนกศักดิ์ แก้วเทพ. (2530). การพึ่งตนเอง: ศักยภาพในการพัฒนาของชนบท. กรุงเทพฯ: สำนักเลขาธิการ สภาคาทอลิกแห่งประเทศไทยเพื่อการพัฒนา.
โกวิทย์ พวงงาม. (2550). การปกครองท้องถิ่นว่าด้วยทฤษฎี แนวคิด และหลักการ. กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท.
โกวิทย์ พวงงาม. (2553). การจัดการตนเองของชุมชนและท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ชินสัคค สุวรรณอัจฉริย. (2549). เครือข่ายทางสังคม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ดุษฎี อายุวัฒน์ และ ธนพฤกษ์ ชามะรัตน์. (2557). บทบาทของเครือข่ายนายหน้าแรงงานต่อการกำหนดราคาค่าหัวแรงงานในการไปทำงานต่างประเทศ. ขอนแก่น: ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตคนวัยแรงงาน.
ธนพฤกษ์ ชามะรัตน์. (2554). การสร้างเครือข่ายทางสังคมของนายหน้าแรงงานอีสาน. วิทยานิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พศ.2566-2570).
สำนักงานจังหวัดเพชรบุรี. (2567). รายงานแผนพัฒนาจังหวัดเพชรบุรี. เพชรบุรี: สำนักงานจังหวัดเพชรบุรี.
สำนักงานประมงจังหวัดเพชรบุรี. (2567). รายงานข้อมูลด้านการประมงจังหวัดเพชรบุรี. เพชรบุรี: สำนักงานประมงจังหวัดเพชรบุรี.
สำนักนายกรัฐมนตรี. (2561). แผนการพัฒนายุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี. สืบค้นจาก www.opm.go.th/opmportal/index.asp?pageid=1427&parent=1427&directory=14952&pagename=content1.
สุทิตย์ อาภากโร. (2548). เครือข่าย: ธรรมชาติ ความรู้ และการจัดการ. กรุงเทพฯ: โครงการเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข.
เสรี พงศ์พิศ. (2548). เครือข่าย: ยุทธวิธีเพื่อประชาคมเข้มข้น ชุมชนเข้มแข็ง. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน.
อนุรักษ์ สิงห์ชัย. (2567). การพัฒนาเมืองและชนบทศึกษา. เพชรบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 Authors
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.