คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชุมชนมอญบ้านม่วง จังหวัดราชบุรี

ผู้แต่ง

  • ชัยรัตน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

DOI:

https://doi.org/10.14456/tisr.2024.48

คำสำคัญ:

คุณภาพชีวิต, ผู้สูงอายุ, ชุมชนมอญบ้านม่วง

บทคัดย่อ

ปัญหาสังคมผู้สูงอายุมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งในพื้นที่ชนบท บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชุมชนมอญบ้านม่วง อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี วิธีการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลหลัก มีจำนวน 34 คน ประกอบด้วย ผู้สูงอายุ และตัวแทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้สูงอายุในชุมชนบ้านม่วง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า ผู้สูงอายุในชุมชนบ้านม่วงส่วนใหญ่มีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยมีสุขภาพจิตดี สามารถดูแลตนเองและครอบครัวได้ดี มีความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนบ้าน และเข้าร่วมกิจกรรมเกี่ยวกับประเพณีวัฒนธรรมในชุมชนอย่างสม่ำเสมอ อย่างไรก็ตาม ผู้สูงอายุบางส่วนมีปัญหาด้านสุขภาพร่างกายที่มีสาเหตุมาจากความเสื่อมของร่างกาย การทำงานหนักในช่วงวัยหนุ่มสาว และพฤติกรรมสุขภาพ ปัญหาความเครียดเรื่องของลูกหลาน แต่ยังไม่เป็นปัญหาในการดำเนินชีวิตมากนัก เนื่องจากชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังดูแลผู้สูงอายุที่ประสบปัญหาได้

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2560). การศึกษารูปแบบการให้บริการ การบริหารและการจัดการที่พักสำหรับผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2566). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2565. กรุงเทพฯ: บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน).

จามะรี เชียงทอง. (2557). ชนบทไทย: จากอดีตสู่อนาคต. กรุงเทพฯ: แผนงานสร้างเสริมนโยบายสาธารณะที่ดี.

พรกมล ระหาญนอก และ สมยงค์ สีขาว. (2559). แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุจังหวัดเลยอย่างยั่งยืน. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 11(37), 111-121.

พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ.2546.

พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดม่วง. (2547). หนังสือนำชมพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดม่วง ประวัติศาสตร์สังคมและวัฒนธรรมมอญ เตลง เมง รามัญ. ราชบุรี: พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดม่วง.

มนัญชยา หาเคน. (2552). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุชาวมอญเกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2558). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2557. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2561). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2560. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย.

วรวรรณ ชาญด้วยวิทย์ และ สาวิณี สุริยันรัตกร. (2557). ผู้สูงอายุกับสวัสดิการสังคม. กรุงเทพฯ: แผนงานสร้างเสริมนโยบายสาธารณะที่ดี.

วีระพงศ์ มีสถาน. (2550). ฅนราชบุรี. ราชบุรี: สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดราชบุรี.

ศศิพัฒน์ ยอดเพชร. (2549). สวัสดิการผู้สูงอายุ: แนวคิดและวิธีการปฏิบัติสังคมสงเคราะห์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: มิสเตอร์ก๊อปปี้ (ประเทศไทย).

ศศิพัฒน์ ยอดเพชร. (2560). บริการท้องถิ่นเพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีสำหรับผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 พ.ศ.2566-2570. กรุงเทพฯ: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สุภาภรณ์ สุดหนองบัว. (2565). การดูแลผู้สูงอายุ: สถานการณ์และคุณภาพชีวิต. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อรทัย อาจอ่ำ. (2553). แก่แล้วไม่มีคุณค่าจริงหรือ?: บทสังเคราะห์ความรู้เกี่ยวกับคุณค่าของผู้สูงอายุ. ประชากรและสังคม 2553 คุณค่าผู้สูงอายุในสายตาสังคมไทย. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

The WHOQOL Group. (1998). Development of the world health organization WHOQOL-BREF quality of life assessment. Psychological Medicine, 28(3), 551-558.

United Nations. (2017). World population ageing 2017. New York: United Nations.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-10-04

How to Cite

วงศ์กิจรุ่งเรือง ช. (2024). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชุมชนมอญบ้านม่วง จังหวัดราชบุรี. สหวิทยาการและความยั่งยืนปริทรรศน์ไทย, 13(2), 353–363. https://doi.org/10.14456/tisr.2024.48