สมรรถนะผู้ผลิตสื่อในยุคดิจิทัลในบริบทสังคมไทย

ผู้แต่ง

  • อดิพล เอื้อจรัสพันธุ์ วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • กฤชณัท แสนทวี วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

DOI:

https://doi.org/10.14456/tisr.2024.35

คำสำคัญ:

สมรรถนะ, ผู้ผลิตสื่อในยุคดิจิทัล, บริบทสังคมไทย

บทคัดย่อ

งานวิจัยชิ้นนี้มุ่งศึกษาสมรรถนะผู้ผลิตสื่อในยุคดิจิทัลในบริบทสังคมไทย โดยมีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อศึกษาสมรรถนะผู้ผลิตสื่อในยุคดิจิทัลในบริบทสังคมไทย และเพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนาสมรรถนะผู้ผลิตสื่อในยุคดิจิทัลในบริบทสังคมไทย งานชิ้นนี้เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งผู้วิจัยดำเนินการเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In depth-interview) จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 2 กลุ่ม ได้แก่ นักวิชาการด้านสื่อและการสื่อสาร และกลุ่มผู้ผลิตสื่อหรือสร้างสรรค์เนื้อหาสื่อดิจิทัลที่ประสบความสำเร็จ ผู้วิจัยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการจำแนกชนิดข้อมูล (Typological Analysis) ในระดับจุลภาค ซึ่งกำหนดกรอบในการวิเคราะห์ข้อมูลตามองค์ประกอบกระบวนการสื่อสาร ได้แก่ ด้านผู้ส่งสาร ด้านเนื้อหาสาร ด้านสื่อและช่องทางการสื่อสาร ด้านผู้รับสาร ด้านผลตอบกลับและผลกระทบการสื่อสาร และแนวทางการพัฒนาสมรรถนะผู้ผลิตสื่อในยุคดิจิทัลในบริบทสังคมไทยและนำมาสังเคราะห์ตามกรอบแนวคิดของ Zeng (2020) ผลการวิจัย พบว่าสมรรถนะผู้ผลิตสื่อในยุคดิจิทัล ได้สมรรถนะ 8 ด้าน รวมทั้งสิ้น 74 คุณลักษณะ ได้แก่ ด้านสิทธิและหน้าที่ ด้านศักยภาพการพัฒนา ด้านความเข้าใจโลกและเป็นสากล ด้านทักษะและกระบวนการคิด ด้านคุณธรรมจริยธรรมและจรรยาบรรณ ด้านความสามารถเชิงธุรกิจ ด้านความสร้างสรรค์ และด้านความถูกต้องของข้อมูล

References

กรวิชญ์ โสภา. (2566). การพัฒนาชุดกิจกรรมกระบวนการคิดเชิงออกแบบ (DESIGN THINKING) เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการออกแบบเชิงวิศวกรรม. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 34(1), 76-87.

กาญจนา แก้วเทพ. (2549). การวิเคราะห์สื่อ: แนวคิดและเทคนิค. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: บริษัทไฮเออร์เพรสจำกัด.

ชนัญสรา อรนพ ณ อยุธยา, การดา ร่วมพุ่ม และ มาโนช ชุ่มเมืองปัก. (2563). “นิเวศสื่อ” เพื่อพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์. วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร, 3(2), 147-169.

ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์, รุ่งทิวา ชุทอง, ธีระศักดิ์ เปี่ยมสุภัคพงศ์, ชาญวิทย์ อิสลาม และ พงษ์ศักดิ์ ผกามาศ. (2564). แนวทางการพัฒนาสื่อสังคมออนไลน์ในการสื่อสารการตลาดผลิตภัณฑ์กลุ่มอาชีพสตรีแก้วถัก อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม. วารสารศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ, 8(1), 53-67.

ดุษฎี นิลดำ และ สุพิชฌา วัฒนะ. (2565). ผู้สร้างสรรค์เนื้อหาบนโลกออนไลน์: พัฒนาการและกลยุทธ์การสร้างสรรค์เนื้อหา. วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร, 5(3), 21-30.

ปรัชญา เปี่ยมการุณ. (2562). ภูมิทัศน์สื่อ ภายใต้บริบทการสื่อสารการท่องเที่ยว. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม, 7(1), 113-119.

ไปรมา อิศรเสนา ณ อยุธยา และ ชูจิต ตรีรัตนพันธ์. (2561). การคิดเชิงออกแบบ: เรียนรู้ด้วยการลงมือทำ. กรุงเทพฯ: ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ.

พวงชมพู โจนส์. (2559). การสร้างกระบวนการทางความคิด (Mindset) สำหรับบุคลากรในสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา. วารสารธุรกิจปริทัศน์, 8(1), 1-9.

ภัทรภร สังขปรีชา. (2564). ยูทูปเบอร์: การสร้างอัตลักษณ์แห่งตนของผู้สร้างสรรค์เนื้อหาบนสื่อออนไลน์. วารสารการสื่อสารและการจัดการ, 7(3), 20-34.

ภัทรวรรธน์ จีรพัฒน์ธนธร. (2564). การศึกษาเพื่อพัฒนาความเป็นผู้ประกอบการ. กรุงเทพฯ: ภาควิชาอาชีวศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

รจนาภรณ์ มีตา. (2565). แนวปฏิบัติที่ดีในการส่งเสริมงานอาชีพของนักเรียนชาติพันธุ์ในโรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2. การค้นคว้าอิสระ การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ. (2565). Best Practices องค์ความรู้สำคัญที่ต้องหาให้เจอ. สืบค้นจาก www.ftpi.or.th/2022/106132.

อมร โททา. (2561). การพัฒนารูปแบบแนวปฏิบัติที่ดีทางการเรียนของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาที่ส่งผลให้เกิดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ดี. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

อุษณีย์ ศิริสุนทรไพบูลย์. (2563). การปรับตัวของสื่อมวลชนท้องถิ่นจังหวัดภูเก็ตในยุคหลอมรวมสื่อ. วารสารชุมชนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, 14(3), 43-57.

Hagen, E. (1962). On the Theory of Social Change: How Economic Growth Begins. Illinois: Dorsey Press.

Infocomm Media Development Authority. (2014). Skills Future SG. Retrieved from www.imda.gov.sg/-/media/imtalent-portal-revamp/5-programmes/sfwformedia/sfwformedia_navigationtool_20181205.pdf.

Logan, R. (2016). Understanding new media: Extending Marshall McLuhan. Geneva: Peter Lang Publishing.

Tiryakioglu, F., & Erzurum, F. (2011). Use of Social Networks as an Educational Tool. Contemporary Educational Technology, 2(2), 135-150.

True Digital Academy. (2564). 6 ทักษะนี้ต้องปัง! ถ้าอยากเป็น Content Creator. สืบค้นจาก www.truedigitalacademy.com/blog/6-ทักษะนี้ต้องปัง-ถ้าอยา.

Valor, J. (2018). The Media Landscape from Showtime to Screen Time. Navarra: University of Navarra.

Weber, M. (1930). The Protestant Ethic and the Spirit of Capitalism. London: Unwin Hyman.

Zeng, T. (2020). The Competency Model of Movie Producers for Cross-Cultural Co-Production Projects. Master of Science Thesis, Massachusetts Institute of Technology.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-17

How to Cite

เอื้อจรัสพันธุ์ อ., & แสนทวี ก. (2024). สมรรถนะผู้ผลิตสื่อในยุคดิจิทัลในบริบทสังคมไทย. สหวิทยาการและความยั่งยืนปริทรรศน์ไทย, 13(2), 189–198. https://doi.org/10.14456/tisr.2024.35