การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการกล่อมเกลาทางการเมือง ในระบอบประชาธิปไตยของเยาวชนในจังหวัดสุราษฎร์ธานี

ผู้แต่ง

  • ขนิษฐา หอมตะโก มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • อธิษฐ์ สุวฑฺโฒ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • เอกกวิน ปิยวีโร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

DOI:

https://doi.org/10.14456/tisr.2024.33

คำสำคัญ:

หลักพุทธธรรม, การกล่อมเกลาทางการเมือง, ระบอบประชาธิปไตย

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการกล่อมเกลาทางการเมืองของเยาวชนในจังหวัดสุราษฎร์ธานี และวิธีการบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อแก้ไขปัญหา การวิจัยใช้ผสานวิธี คือ การวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากตำรา แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 19 รูปหรือคน โดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกและสนทนากลุ่มเฉพาะ 11 รูปหรือคน เพื่อวิเคราะห์สังเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนาและการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง 396 คน ซึ่งเป็นเยาวชน อายุ 15-17 ปี ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการส่งเสริมการกล่อมเกลาทางการเมือง โดยรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ด้านสถาบันศาสนา อยู่ในระดับปานกลาง และวิธีการบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อแก้ปัญหาพฤติกรรมทางการเมืองของเยาวชนโดยใช้หลักดรุณธรรมมาบูรณาการร่วมกับหลักไตรสิกขาในการปรับความประพฤติที่เหมาะสมในการเป็นพลเมืองที่ดีที่มีคุณภาพในเชิงสร้างสรรค์

References

จุมพล หนิมพานิช. (2533). กระบวนการเรียนรู้ทางการเมืองกับทัศนคติทางการเมืองของคนไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

รุ่งทิวา คงแจ่ม และ วัลลภ รัฐฉัตรำนนท์. (2557). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของข้าราชการตำรวจสถานีตำรวจภูธรเมืองสุพรรณบุรี. วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา, 3(2), 114-120.

ศุภณัฐ เพิ่มพูนวิวัฒน์, ศรัณยุ หมั้นทรัพย์ และ จารุวรรณ แก้วมะโน. (2564). ความเป็นพลเมือง: บทสำรวจสถานะความเป็นพลเมืองกับการรู้ดิจิทัล. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

Almond, G., & Powell, G. (1980). Comparative Politics Today: A World View. Massachusetts: Little, Brown and Company.

Dawson, R. (1977). Political Socialization: An Analytic Study. 2nd ed. Massachusetts: Little, Brown and Company.

Easton, D., & Dennis, J. (1969). Children in the Political System: Origins of Political Legitimacy. New York: McGraw-Hill.

Rush, M., & Althoff, P. (1971). An Introduction to Political Sociology. London: Thomas Nelson and Sons Ltd.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-17

How to Cite

หอมตะโก ข., สุวฑฺโฒ อ., & ปิยวีโร เ. (2024). การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการกล่อมเกลาทางการเมือง ในระบอบประชาธิปไตยของเยาวชนในจังหวัดสุราษฎร์ธานี. สหวิทยาการและความยั่งยืนปริทรรศน์ไทย, 13(2), 171–180. https://doi.org/10.14456/tisr.2024.33