การสร้างเส้นทางท่องเที่ยวโดยชุมชนพรุควนเคร็ง และเส้นทางท่องเที่ยว เชื่อมโยงกับเครือข่ายการท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้ จังหวัดนครศรีธรรมราช
DOI:
https://doi.org/10.14456/tisr.2024.34คำสำคัญ:
เส้นทางท่องเที่ยว, การเชื่อมโยงเครือข่ายการท่องเที่ยว, การท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างเส้นทางท่องเที่ยวโดยชุมชนพรุควนเคร็ง และเส้นทางท่องเที่ยวเชื่อมโยงกับเครือข่ายการท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้จังหวัดนครศรีธรรมราช ผู้วิจัยใช้การเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพจะใช้วิธีการเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักด้วยวิธีการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจงจากผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 12 คน ผลการศึกษาพบว่า ด้านเส้นทางท่องเที่ยว สามารถสร้างได้ จำนวน 2 เส้นทาง ได้แก่ 1) เส้นทางท่องเที่ยวภายในชุมชน (ทางน้ำ) และเชื่อมโยงกับศูนย์ศิลปาชีพบ้านป่าหัวเขียว อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ชื่อกิจกรรมท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้ “เชฟจากป่าพรุ” 2) เส้นทางท่องเที่ยวภายในชุมชน (ทางบก) และเชื่อมโยงกับกลุ่มทอผ้าตรอกแค อันเนื่องมาจากพระราชดำริ และ ศูนย์การเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอันเนื่องมาจากพระราชดำริบ้านวังอ่าง จังหวัดนครศรีธรรมราช ชื่อกิจกรรมท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ “กว่าจะมาเป็นกระจูด” และ ด้านเส้นทางท่องเที่ยวเชื่อมโยงกับเครือข่ายการท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้จังหวัดนครศรีธรรมราช มีการเชื่อมโยง 3 เส้นทาง ได้แก่ 1) เส้นทางท่องเที่ยวมีความเชื่อมโยงกันภายในชุมชนเอง 2) เส้นทางท่องเที่ยวมีความเชื่อมโยงกันระหว่างชุมชน 3) เส้นทางท่องเที่ยวมีความเชื่อมโยงกันระหว่าง
References
กรกช ตราชู และคณะ. (2559). การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์บ้านด่านเกวียน อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา. วารสารรัชต์ภาคย์, (ฉบับพิเศษ ครบรอบ 23 ปี), 165-176.
กัลยาณี กุลชัย. (2561). แนวทางการสร้างเส้นทางท่องเที่ยวเชื่อมโยงเครือข่ายการท่องเที่ยวชุมชนโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนในพื้นที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา
จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 21, 1-18.
กุลวรา สุวรรณพิมล, ดวงรัตน์ โกยกิจเจริญ, วีรภัทร์ โชติวิริยะกุล, สัญญา ฉิมพิมล, นงเยาว์ ใจห้อ และ วรพจน์ ตรีสุข. (2547). การศึกษาประสิทธิภาพของการให้บริการในระบบขนส่งในจังหวัดภูเก็ต พังงา และกระบี่. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
นภมินทร์ ศักดิ์สง่า. (2564). การพัฒนาศักยภาพเพื่อยกระดับการท่องเที่ยวย่านตลาดอาหาร กลางคืน ในเขตคูเมืองเก่าจังหวัดเชียงใหม่. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
รงค์ บุญสวยขวัญ. (2544). วิถีชีวิตของประชาชนในพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง อันเนื่องมาจากการ พัฒนาของรัฐในระยะแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 1-8. นครศรีธรรมราช: มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์.
วิภาวรรณ ปิ่นแก้ว. (2551). การศึกษาเพื่อเสนอเส้นทางท่องเที่ยวเชิงนิเวศในอำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี. ปริญญานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 5. (2555). สถิติกฎหมาย เกี่ยวกับป่าไม้ (ปีงบประมาณ 2556) เขตห้ามล่าสัตว์บ่อล้อ. กรุงเทพฯ: กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช.
McMillan, J., & Schumacher, S. (1997). Research in Education: A Conceptual Introduction. New York: Longman.
Textor, R. (1980). A Handbook on ethnographic futures research. (3rd ed.). California: Stanford University.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 Authors
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.