เมื่อสองนายกรัฐมนตรีของสยามวิวาทกัน

ผู้แต่ง

  • โกวิท วงศ์สุรวัฒน์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ

DOI:

https://doi.org/10.14456/tisr.2024.26

คำสำคัญ:

นายกรัฐมนตรี, สยาม, รัชกาลที่ 2

บทคัดย่อ

“ด้วยคำโบราณว่า ท่านเสนาบดีผู้ใหญ่วิวาทกันเป็นอุบาทว์มักเกิดเหตุใหญ่ต่างๆ” คำกล่าวนี้ทำให้เชื่อได้ว่าความขัดแย้งระหว่างบุคคลสำคัญทางการเมืองอาจเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นอยู่เนืองๆ ในประวัติศาสตร์อันยาวนานของราชอาณาจักรสยาม ในความเป็นจริงแล้วหากศึกษาประวัติศาสตร์การเมืองของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นทวีปก็จะพบว่าในอดีตที่ผ่านมาไม่นานช่วงทศวรรษ 1970-1990 ก็มีเรื่องราววิวาทกันของ “เสนาบดีผู้ใหญ่” ที่นำมาซึ่งความหายนะใหญ่หลวง ตั้งแต่ความขัดแย้งระหว่างเขมรสี่ฝ่ายในยุคที่ถูกเวียดนามยึดครอง (ค.ศ.1978-92) จนถึงกรณีนายกรัฐมนตรีฮุนเซนก่อรัฐประหารต้านนายกรัฐมนตรีรณฤทธิ์ เมื่อ ค.ศ.1997 และถ้าย้อนอดีตกลับไปอีกจนถึงต้นศตวรรษที่ 19 ยุครัชกาลที่ 2 ก็มีเหตุวิวาทกันระหว่างเจ้าพระยามหาเสนา (สมุหพระกลาโหม) กับเจ้าพระยาอภัยภูธร (สมุหนายก) แม้ว่าความขัดแย้งดังกล่าวจะเกิดขึ้นจากเหตุเล็กน้อยคือขบวนของเสนาบดีผู้ใหญ่ทั้งสองแย่งกันออกประตูรัตนพิศาลลงเรือไปงานพระเมรุจนเกิดเหตุต่อยตีกันในหมู่ผู้ติดตามทั้งสองฝ่าย เหตุวิวาทดังกล่าวนั้นทำให้ทางราชสำนักต้องตั้งคณะตุลาการมาชำระความแต่ก็ดูเหมือนจะไกล่เกลี่ยกันจนเรื่องจบลงได้โดยไม่มีผลร้ายแรง แม้กระนั้นหลังจากนั้นไม่นานพระยาช้างเผือกคู่พระบารมีของรัชกาลที่ 2 ก็ล้มในเวลาไล่เลี่ยกันถึง 2 ช้าง และต่อมาในปีเดียวกันพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยก็เสด็จสวรรคต ส่วนเจ้าพระยามหาเสนาหนึ่งในคู่กรณีก็อสัญกรรมต่อมาอีกไม่นานในต้นรัชกาลที่ 3

References

คณะกรรมการพิจารณาและจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์. (2528). ประชุมหมายรับสั่ง ภาคที่ 3 สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. (2431). ว่าด้วยธรรมเนียมขุนนางไท. สืบค้นจาก https://mobile.nlt.go.th/ebook-detail/386783.

จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. (2526). เจ้านายและข้าราชการกราบบังคมทูลความเห็นจัดการเปลี่ยนแปลงราชการแผ่นดิน ร.ศ.๑๐๓ และพระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแถลงพระบรมราชาธิบายแก้ไขการปกครองแผ่นดิน. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร

จุลจักรพงษ์, พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า. (2558). เจ้าชีวิต พงศาวดาร 9 รัชกาลแห่งราชวงศ์จักรี. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ริเวอร์ บุ๊คส์.

เจินโบราน จันบอใด. (2561). ย้อนรำลึกครบรอบ 40 ปี เมื่อเวียดนามเข้าแทรกแซงทางทหารในกัมพูชา. สืบค้นจาก www.bbc.com/thai/international-46621685.

ชมรมสายสกุลบุนนาค. (2542). สกุลบุนนาค. กรุงเทพฯ: บริษัท โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช จำกัด.

ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. (2546). พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 2. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.

ทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค), เจ้าพระยา. (2555). พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1-4. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ศรีปัญญา.

เทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระ. (2549). บันทึกเรื่องการปกครองของไทยสมัยอยุธยาและต้นรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นิติการุณย์ มิ่งรุจิราลัย. (2561). การเมืองกัมพูชา (3). สืบค้นจาก www.thairath.co.th/news/foreign/1346418.

บุญเตือน ศรีวรพจน์. (2545). อภินิหารบรรพบุรุษและปฐมวงศ์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน.

พูลศรี นนทรีย์. (2527). สมุหนายกและสมุหพระกลาโหม: บทบาทและอำนาจทางด้านการเมืองการปกครองนับแต่รัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถจนสิ้นรัชสมัยสมเด็จพระที่นั่งสุริยามรินทร์. วิทยานิพนธ์ อักษรศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

รวี สิริอิสสระนันท์ (บรรณาธิการ). (2553). พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับหลวงประเสริฐ, คำให้การชาวกรุงเก่า, คำให้การขุนหลวงหาวัด. นนทบุรี: สำนักพิมพ์ศรีปัญญา.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2550). กฎหมายตราสามดวงฉบับราชบัณฑิตยสถาน ฉบับพิมพ์ตามต้นฉบับหลวง เล่ม 1. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.

วรางคณา นิพัทธ์สุขกิจ. (2560). ประวัติศาสตร์สมัยอยุธยา. นนทบุรี: สำนักพิมพ์สารคดี.

สมมตอมรพันธุ์, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระ. (2545). เรื่องตั้งเจ้าพระยาในกรุงรัตนโกสินทร์. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.

สุกัญญา บำรุงสุข. (2525). อำนาจหน้าที่และบทบาทของสมุหพระกลาโหมในสมัยรัตนโกสินทร์. วิทยานิพนธ์ อักษรศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อดิศักดิ์ ทองบุญชู. (2537). กรมอาลักษณ์ (กรมพระอาลักษณ์). ใน สารานุกรมประวัติศาสตร์ไทย อักษร ก ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (หน้า 122). กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-20

How to Cite

วงศ์สุรวัฒน์ โ. (2024). เมื่อสองนายกรัฐมนตรีของสยามวิวาทกัน. สหวิทยาการและความยั่งยืนปริทรรศน์ไทย, 13(2), 91–106. https://doi.org/10.14456/tisr.2024.26