รูปแบบการปรับตัวของสื่อมวลชนท้องถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในยุคสื่อสังคมออนไลน์
DOI:
https://doi.org/10.14456/tisr.2024.29คำสำคัญ:
รูปแบบการปรับตัว, สื่อมวลชนท้องถิ่น, สื่อสังคมออนไลน์บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของสื่อมวลชนท้องถิ่น 2) ศึกษาพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของประชาชน และ 3) ศึกษารูปแบบการปรับตัวของสื่อมวลชนท้องถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือในยุคสื่อสังคมออนไลน์ ผลการวิจัยพบว่า 1) การใช้สื่อสังคมออนไลน์ของสื่อมวลชนท้องถิ่นมีการปรับตัวได้รวดเร็วโดยใช้แอปพลิเคชั่นในการนำเสนอภาพ ข้อความ และเสียง ศูนย์ข่าวเครือเนชั่นภาคอีสาน และสำนักประชาสัมพันธ์ เขต 1 ขอนแก่น นำเสนอข่าวผ่านสื่อสังคมออนไลน์อย่างเป็นระบบและพัฒนาศักยภาพบุคลากรอย่างสม่ำเสมอ 2) พฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของประชาชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนใหญ่รับข้อมูลข่าวสารจากเฟซบุ๊ก ไลน์ ยูทูบ และเว็บไซต์ผ่านโทรศัพท์มือถือ ใช้เวลาประมาณ 11-30 นาทีต่อครั้ง และใช้สื่อออนไลน์ 2-3 ชั่วโมงต่อวัน มีการแชร์ข้อมูลข่าวสาร 2 ครั้งต่อวัน เน้นรับรู้ข่าวสารในท้องถิ่น โดยคาดหวังว่าสื่อมวลชนจะนำเสนอข่าวอย่างถูกต้องและเป็นจริง 3) การปรับตัวของสื่อมวลชนท้องถิ่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นำสื่อออนไลน์มาใช้ในการนำเสนอข่าวที่ปรับตามพฤติกรรมการเปิดรับสื่อของประชาชน ทำให้สามารถดึงดูดความสนใจและนำเสนอข่าวได้รวดเร็วและถูกต้อง
References
ขจร ฝ้ายเทศ. (2560). การหลอมรวมสื่อของสื่อมวลชนท้องถิ่น: กรณีศึกษาฝ่ายข่าวสถานีโทรทัศน์เอทีวี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. บทความนำเสนอใน การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 55, 31 มกราคม-3 กุมภาพันธ์ 2560, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ชนิดา รอดหยู่. (2563). ข่าวในยุคสื่อดิจิทัล. วารสารปาริชาต มหาวิทยาลัยทักษิณ, 33(2), 16-33.
นิรมล ประสารสุข. (2553). เมื่อโซเชียลมีเดียเขย่าจอสื่อหลัก. กรุงเทพฯ: สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย.
ปวีณา ชูรัตน์ และ อริน เจียจันทร์พงษ์. (2565). การปรับตัวเพื่อความอยู่รอดทางธุรกิจ และบริการข่าวสารในยุคดิจิทัลของสื่อท้องถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม, 10(1), 84-100.
สกุลศรี ศรีสารคาม. (2554). สื่อสังคม (Social Media) กับการเปลี่ยนแปลงกระบวนการสื่อข่าว. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
สุกัลยา คงประดิษฐ์. (2557). การปรับตัวของหนังสือพิมพ์ขนาดกลางในประเทศไทยภายใต้การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี กรณีศึกษา: หนังสือพิมพ์สยามรัฐ บ้านเมือง แนวหน้า และไทยโพสต์. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.
ใหม่ นาทองคำ. (2561). การปรับตัวของสื่อมวลชนในยุคทีวีดิจิทัล: กรณีศึกษา สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์. วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
อุษณีย์ ศิริสุนทรไพบูลย์. (2563). การปรับตัวของสื่อมวลชนท้องถิ่นจังหวัดภูเก็ตในยุคหลอมรวมสื่อ. วารสารชุมชนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, 14(3), 43-57.
Becker, S. (1972). Discovering Mass Communication. Illinois: Scott Foresman and Company Glenview.
Lasswell, H. (1948). The Structure and Function of Communication in Society. In L. Bryson. (ed.). The Communication of Ideas (pp. 37-51). New York: Harper and Row.
McQuail, D. (2010). McQuail’s Mass Communication Theory. 6th ed. London: Sage.
Roy, C., & Andrews, H. (eds.). (1999). The Roy Adaptation Model. 2nd ed. New York: Appleton & Lange.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 Authors
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.