เรื่องเล่าจากผ้าสไบมอญ: การยกระดับการสื่อสารผลิตภัณฑ์ชุมชนมอญคลองสามวา สำหรับผู้ประกอบการสูงวัย
DOI:
https://doi.org/10.14456/tisr.2024.27คำสำคัญ:
การสื่อสาร, ผลิตภัณฑ์ชุมชน, ผู้ประกอบการสูงวัยบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับการสื่อสารผลิตภัณฑ์ชุมชนมอญคลองสามวาเชิงสร้างสรรค์สำหรับผู้ประกอบการสูงวัย เขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยมีผู้ให้ข้อมูล 3 กลุ่มหลัก ได้แก่ กลุ่มที่ 1 คณะผู้วิจัยและนักศึกษาสาขาวิชานิเทศศาสตร์ 9 คน กลุ่มที่ 2 นักวิจัยชุมชน 8 คน คัดเลือกโดยวิธีการบอกต่อและสมัครใจเข้าร่วม และกลุ่มที่ 3 ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ชุมชนเชิงสร้างสรรค์ คัดเลือกโดยวิธีการพูดคุยร่วมกันระหว่างนักวิจัยชุมชน ปราชญ์ชุมชนมอญวัดแป้นทองคลองสามวา สมาชิกชมรมไทยรามัญแป้นทอง และคณะผู้วิจัย การวิจัยครั้งนี้มี “ผลิตภัณฑ์สไบมอญคลองสามวา” เป็นต้นแบบสำหรับการยกระดับการสื่อสารผลิตภัณฑ์ชุมชนเชิงสร้างสรรค์สำหรับผู้ประกอบการสูงวัย ผลการวิจัยพบว่า ผลการวิจัยพบว่าการออกแบบเรื่องเล่าโดยเชื่อมโยงประวัติศาสตร์ท้องถิ่นและการเน้นลักษณะเฉพาะของผลิตภัณฑ์ด้วยภาษาที่เข้าใจง่ายเป็นกลยุทธ์สำคัญในการสื่อสาร ซึ่งนำไปสู่การผลิตคลิปสั้นเผยแพร่บนช่องทางออนไลน์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ประกอบด้วยเรื่องเล่าจำนวน 2 เรื่อง 4 คลิป เลือกเผยแพร่ผ่านช่องทางการสื่อสารออนไลน์ ได้แก่ ติ๊กต็อก เพจเฟซบุ๊กของชุมชนแป้นทองสัมพันธ์ และเพจเฟซบุ๊กเยาวชนมอญ ผลลัพธ์จากการสื่อสาร ได้แก่ การสร้างการรับรู้และความสนใจในผลิตภัณฑ์ผ้าสไบมอญ ช่วยกระตุ้นการบอกต่อผลิตภัณฑ์และข้อมูลของชุมชนซึ่งอาจส่งผลทางอ้อมต่อการท่องเที่ยวชุมชนในอนาคต
References
กฤษฎา สุริยวงค์. (2563). การสื่อสารเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์โดยชุมชนมีส่วนร่วมของจังหวัดเพชรบุรี. วิทยานิพนธ์ นิเทศศาสตรดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
กฤษฎา สุริยวงค์, สุวันชัย หวนนากลาง และ ฐิตินัน บุญภาพ คอมมอน. (2564). การสื่อสารเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์โดยชุมชนมีส่วนร่วมของจังหวัดเพชรบุรี. วารสารมนุษยสังคมปริทัศน์ (มสป.), 23(1), 43-57.
จุฑารัตน์ พรหมทัต. (2564). สร้างแบรนด์ชุมชน เสริมแกร่งให้เศรษฐกิจฐานราก. กรุงเทพฯ: สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า.
เจริญเนตร แสงดวงแข. (2564). การสื่อสารอัตลักษณ์ท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวของชุมชนตำบลเกาะหมาก อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 29(2), 1-23.
ทิฆัมพร เพทราเวช. (2566). แนวทางการพัฒนาทักษะทางการตลาดและการจัดการช่องทาง การจัดจำหน่ายสินค้าชุมชนในจังหวัดศรีสะเกษ เพื่อยกระดับความสามารถทางการแข่งขันในยุคปัจจุบัน. มนุษยสังคมสาร (มสส.) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 21(1), 23-45.
ทิพย์สุดา ปานเกษม. (2559). การสื่อสารแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในจังหวัดน่าน. วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
นิษฐา หรุ่นเกษม, สิริมณฑ์ พึ่งสังวาลย์ และ นิศรารัตน์ วิไลลักษณ์. (2567). โครงการวิจัยนวัตกรรมการพัฒนาและยกระดับการสื่อสารผลิตภัณฑ์ชุมชนเชิงสร้างสรรค์ เพื่อเพิ่มมูลค่าการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมบนฐานอัตลักษณ์ท้องถิ่นริมน้ำ เขตคลองสามวา สำหรับผู้ประกอบการสูงวัย. กรุงเทพฯ. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
มุกข์ดา สุขธาราจาร และ จริยา สุพรรณ. (2567). การจัดเก็บข้อมูลเรื่องเล่าชุมชนเพื่อเพิ่มศักยภาพการท่องเที่ยวชุมชนบ้านหนองแขม จังหวัดพิจิตร. วารสารสังคมศาสตร์และวัฒนธรรม, 8(2), 36-50.
เมธาวี จำเนียร, กรกฎ จำเนียร, ทองพูล มุขรักษ์, ศศิพัชร บุญขวัญ, ประภาศรี เพชรมนต์ และ สุรศักดิ์ แก้วอ่อน. (2564). การศึกษาสถานการณ์การแสดงพื้นบ้านจังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อการยกระดับและสื่อสารเป็นกิจกรรมการท่องเที่ยว. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 11(3), 4-11.
ศศิพร รัตนสุวรรณ์. (2563). การพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์บนฐานอัตลักษณ์ชุมชน “โบสถ์ ศาลเจ้า วัด มัสยิด วิถีชีวิตริมสายน้ำ” ในเขตกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ.
สรรเพชร เพียรจัด และ จารินี ม้าแก้ว. (2564). การพัฒนาท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์โดยชุมชนบนดินแดนภูเขาไฟบุรีรัมย์. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 16(1), 41-49.
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2565). แผนปฏิบัติการระยะยาว พ.ศ.2566-2570.กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.
หัสพร ทองแดง. (2563). กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวและกีฬา. ใน เอกสารการสอนชุดวิชากลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ หน่วยที่ 12. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
Dias, P., & Cavalheiro, R. (2022). The role of storytelling in the creation of brand love: the PANDORA case. Journal of Brand Management, 29, 58-71.
Herlambang, Y. (2017). Designing Participatory Based Online Media for Product Design Creative Community in Indonesia. Bandung Creative Movement Proceedings, 4(2), 1-5.
Pham, H. (2018). Storytelling on product packaging and consumers’ perception. Retrieved from www.theseus.fi/bitstream/handle/10024/142571/Storytelling%20on%20product%20packaging%20and%20consumer%20perception.pdf?sequence=1&isAllowed=y.
Theuma, N. (2002). Identifying the cultural tourism product in Malta: Marketing and management issues. Doctor of Philosophy Thesis, University of Strathclyde.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 Authors
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.