ปัจจัยที่ส่งผลต่อสมรรถภาพการวิจัยของอาจารย์ในสถาบันการศึกษา ของกองทัพ: การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง

ผู้แต่ง

  • ศมานันทน์ รัตนศิริวิไล บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

DOI:

https://doi.org/10.14456/tisr.2024.21

คำสำคัญ:

สมรรถภาพการวิจัย, อาจารย์, สถาบันการศึกษาของกองทัพ, คุณลักษณะของหน่วยงาน, ความเป็นนักวิจัย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อสมรรถภาพการวิจัยของอาจารย์ในสถาบันการศึกษาของกองทัพ โดยประยุกต์ใช้การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง ตัวอย่างของการวิจัย คือ อาจารย์ประจำในสถาบันการศึกษาของกองทัพ ได้แก่ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า โรงเรียนเสนาธิการทหารบก วิทยาลัยการทัพบก และวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบวัดสมรรถภาพการวิจัย และปัจจัยที่มีผลต่อสมรรถภาพการวิจัย สถิติที่ใช้ คือ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าเบ้ ค่าโด่ง และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า สมรรถภาพการวิจัยของอาจารย์ในสถาบันการศึกษาของกองทัพได้รับอิทธิพลทางตรงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จากความเป็นนักวิจัยมากที่สุด เมื่อพิจารณาอิทธิพลทางอ้อม พบว่าคุณลักษณะสถาบันที่เอื้อต่อการทำวิจัยมีอิทธิพลทางอ้อมต่อสมรรถภาพการวิจัยผ่านทางความเป็นนักวิจัยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนคุณลักษณะสถาบันที่เอื้อต่อการทำวิจัยมีอิทธิพลทางตรงต่อความเป็นนักวิจัย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

References

กิตติศักดิ์ เจิมสิทธิประเสริฐ. (2561). แนวปฏิบัติที่ดีของสมาคมรัฐศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในบริบท “โลกเปลี่ยน ไทยปรับ”. วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา, 7(1), 1-13.

จงกล บัวแก้ว. (2565). การพัฒนาสมรรถนะการทำวิจัยเพื่อการเรียนรู้ด้วยกระบวนการโค้ชและการวิจัยเป็นฐานของนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 16(2), 67-76.

จรัส สุวรรณเวลา และคณะ. (2534). บนเส้นทางสู่มหาวิทยาลัยวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธิปัตย์ โสตถิวรรณ์. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อจรรยาบรรณนักวิจัยของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาสถาบันอุดมศึกษาเอกชน. วารสารจันทรเกษมสาร, 18(34), 77-86.

นวลอนงค์ คำนันต์. (2552). ปัจจัยบางประการที่สัมพันธ์กับผลิตภาพการวิจัยของครูผู้มีวิทยฐานะสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดศรีสะเกษ. วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

นิษฐา หรุ่นเกษม, เจริญเนตร แสงดวงแข, นิศรารัตน์ วิไลลักษณ์, ภาวิณี ธรรมนนทิกุล และ สุมีนตรา พัฒชนะ. (2565). แนวทางการผลักดันผลงานวิจัยสู่การใช้ประโยชน์: การสื่อสารผลงานวิจัยสู่สาธารณะผ่านสื่อมวลชน. วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา, 11(2), 327-338.

นุชรีย์ บวชชุม และ ยวงทอง พุ่มแก้ว. (2555). แนวทางการพัฒนาศักยภาพนักวิจัยของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม. วารสารจันทรเกษมสาร, 18(3), 33-41.

บุณยานุช เฉวียงหงส์, สุนทรา โตบัว และ พิกุล เอกวรางกูร. (2558). การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมสมรรถภาพด้านการวิจัยปฏิบัติการ ในชั้นเรียนสำหรับนักศึกษาครูของมหาวิทยาลัยราชภัฏ. วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ, 5(9), 41-56.

บุษกรทิพย์ มะตูม, แอนน์ จิระพงษ์สุวรรณ, สุนีย์ ละกำปั่น และ ดุสิต สุจิรารัตน์. (2563). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสมรรถนะด้านการวิจัยของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในศูนย์บริการสาธารณสุข สํานักอนามัย กรุงเทพมหานคร. วารสารเกื้อการุณย์, 27(2), 7-19.

ปฏิภักดิ์ ปัญญาพูนตระกูล และ ศรีรัฐ โกวงศ์. (2566). ความรู้เกี่ยวกับการลักลอกวรรณกรรมของนักวิจัยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. สหวิทยาการและความยั่งยืนปริทรรศน์ไทย, 12(2), 91-99.

ปริญญา สิริอัตตะกุล. (2555). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสมรรถภาพการวิจัยของอาจารย์มหาวิทยาลัยเอกชน. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 38(1), 240-251.

ปิยวรรณ บุญเพ็ญ, ยุทธนา ไชยจูกุล และ ดุษฎี โยเหลา. (2561). สมรรถนะวิจัยและตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับการทำวิจัยให้ประสบความสำเร็จ: กรณีศึกษานักวิจัยในมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ. วารสารเกษมบัณฑิต, 19(1), 73-87.

ปิยะวรรณ ท่าทราย, สมบัติ คชสิทธิ์ และ อรสา จรูญธรรม. (2565). การพัฒนารูปแบบหลักสูตรฝึกอบรมเสริมสร้างสมรรถนะการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนางานประจําสู่งานวิจัยของพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยมหิดล. วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา, 11(2), 314-326.

ยุพิน ยืนยง และ วัชรา เล่าเรียนดี. (2554). การพัฒนารูปแบบการนิเทศแบบหลากหลายวิธีการเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพ การวิจัยในชั้นเรียนของครู เขตการศึกษา 5 อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 3(1-2), 196-209.

ระย้า คงขาว, มนสิช สิทธิสมบูรณ์ และ เอื้อมพร หลินเจริญ. (2559). การพัฒนารูปแบบการนิเทศเพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้สำหรับครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. Journal of Education and Innovation, 18(1), 74-82.

รุ่งนภา ตั้งจิตรเจริญกุล. (2562). การวิจัยและพัฒนาสมรรถภาพการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนของครูปฐมวัย สังกัดศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมกับองค์กรภาคีเครือข่าย. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 39(6), 1-20.

วราภรณ์ คล้ายประยงค์. (2558). กลวิธีการถ่ายทอดทางวิชาชีพและคุณสมบัติของนักวิจัยพี่เลี้ยงเพื่อการสร้างนักวิจัยรุ่นใหม่. วารสารหาดใหญ่วิชาการ, 13(2), 167-177.

วิภาพรรณ ตระกูลสันติรัตน์ และ อรุณี สัณฐิติวณิชย์. (2564). สมรรถนะทางการวิจัยของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 12(1), 268-280.

วิไลวรรณ จันน้ำใส และ นนทลี พรธาดาวิทย์. (2557). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียนของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 30. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 2(2), 1-11.

ศจีมาจ ขวัญเมือง. (2548). ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลิตภาพการวิจัยของอาจารย์มหาวิทยาลัยของรัฐ: การวิเคราะห์ลิสเรลและเครือข่ายใยประสาท. วิทยานิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมใจ จิตพิทักษ์. (2532). แนวคิดในการวัดผลิตภาพการวิจัยของอาจารย์มหาวิทยาลัย. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา, 2(3), 17-22.

สัมมา รธนิธย์. (2536). การวิเคราะห์การบริหารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับผลิตภาพการวิจัยของวิทยาลัยครู กรณีศึกษาวิทยาลัยครูสุรินทร์. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุทธิพงศ์ บุญผดุง. (2562). การพัฒนาสมรรถนะการทำวิจัยเชิงปฏิบัติการของนักศึกษาครูโดยใช้แนวคิดการจูงใจของวล๊อดคอร์สกี้. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 21(2), 327-340.

สุนันท์ ปัณทุพา. (2540). สภาพแวดล้อมการฝึกอบรมการทำวิจัย ปัจจัยที่เอื้อต่อการทำวิจัย และคุณลักษณะของนักวิจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำวิจัยของมหาบัณฑิต คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อภิญญา หิรัญวงษ์, สุภาพ ฉัตราภรณ์ และ ผ่องพรรณ ตรัยมงคลกูล. (2548). ปัจจัยเชิงสาเหตุของผลิตภาพการวิจัยของนักการศึกษาสาขาอาชีวศึกษาในระดับอุดมศึกษา. บทความนำเสนอใน การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 43, 1-4 กุมภาพันธ์ 2548, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

อาทิตยา ช้างสีสังข์. (2545). ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลิตภาพการวิจัยของอาจารย์วิทยาลัยพยาบาลสังกัดกระทรวงกลาโหมและสำนักงานตำรวจแห่งชาติ. วารสารการศึกษาพยาบาล, 13(1), 27-37.

อุดมพร พลภูงา. (2550). ผลิตภาพการวิจัยของข้าราชการครูผู้มีวิทยฐานะ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

Boomsma, A., & Hoogland, J. (2001). The Robustness of LISREL Modeling Revisted. In R. Cudeck, S. du Toit, & D. Sörbom. (eds.). Structural Equation Models: Present and Future. A Festschrift in Honor of Karl Jöreskog (pp. 139-168). Illinois: Scientific Software International.

Galagedarage, T. (2022). Factors Affecting Research Competencies of Academics in the Discipline of Humanities and Social Sciences (HSS) in the Context of Open and Distance Learning (ODL). Asian People Journal, 5(1), 11-21.

Hair, J., Black, W., Babin, B., & Anderson, R. (2010). Multivariate Data Analysis: A Global Perspective. 7th ed. London: Pearson Education Ltd.

Na Wichian, S., Wongwanich, S., & Bowarnkitiwong, S. (2009). Factors Affecting Research Productivity of Faculty Members in Government Universities: Lisrel and Neural Network Analyses. Kasetsart Journal (Social Sciences), 30(1), 67-78.

Tabachnick, B., & Fidell, L. (2007). Using Multivariate Statistics. 5th ed. Massachusetts: Pearson Education, Inc.

Whitmire, E. (2003). What Do Faculty Need? Academic Library Resources and Services That Increase Research Productivity. A paper presented at the ACRL 11th National Conference, North Carolina, USA.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-01

How to Cite

รัตนศิริวิไล ศ. (2024). ปัจจัยที่ส่งผลต่อสมรรถภาพการวิจัยของอาจารย์ในสถาบันการศึกษา ของกองทัพ: การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง. สหวิทยาการและความยั่งยืนปริทรรศน์ไทย, 13(2), 32–45. https://doi.org/10.14456/tisr.2024.21