ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ.2564 ของบุคลากรสังกัดสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • สุทธินัย หยกอุบล คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ศรีรัฐ โกวงศ์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

DOI:

https://doi.org/10.14456/tisr.2024.18

คำสำคัญ:

ความรู้ความเข้าใจ, ประมวลกฎหมายยาเสพติด, สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ.2564 ของบุคลากรสังกัดสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด และเปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจดังกล่าวจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ บุคลากรสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด กรุงเทพมหานคร จำนวน 74 คน ผลการวิจัยพบว่า บุคลากรสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด กรุงเทพมหานคร มีระดับความรู้ความเข้าใจที่มีต่อพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ.2564 อยู่ในระดับมาก ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่าปัจจัยส่วนบุคคลที่มี อายุ ระดับการศึกษา ตำแหน่งงาน และระยะการปฏิบัติงาน แตกต่างกัน มีความรู้ความเข้าใจต่อพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติดที่แตกต่างกัน จึงมีข้อเสนอแนะให้สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ควรมีการสร้างและจัดทำสื่อ การจัดอบรมเกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประมวลกฎหมายให้กับบุคคลากรในสำนักงานอย่างสม่ำเสมอ โดยสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด สามารถนำผลการศึกษานี้ มาจัดทำเป็นสื่อทางวิชาการ ตามเรื่องที่บุคคลากรยังมีความรู้ความเข้าใจที่ไม่เพียงพอได้

References

กมลชนก วงศ์สวัสดิ์ และ วัลลภ รัฐฉัตรานนท์. (2563). ความรู้ความเข้าใจต่อพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลพ.ศ.2562 ของพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค สำนักงานใหญ่. วารสารรัฐศาสตร์ปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 7(2), 53-67.

กระทรวงยุติธรรม. (ม.ป.ป.). บันทึกหลักการและเหตุผล ประกอบร่างพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด. สืบค้นจาก www.oncb.go.th/PublishingImages/Lists/ONCBNews1/AllItems/1.พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติดและร่างประมวลกฎหมายยาเสพติด(ฉบับรับฟังความคิดเห็น).pdf.

จันทร์จิรา ยอดจันทร์. (2563). ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรของนักตรวจสอบภาษี กองบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่. การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

จุฑา ญาณทัสนะสกุล. (2559). ความรู้ความเข้าใจของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดลำปางตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546. การค้นคว้าอิสระ สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

นิรินทร์ วิทยาเกียรติเลิศ และ วัลลภ รัฐฉัตรานนท์. (2561). ความรู้ความเข้าใจปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของเจ้าหน้าที่ในสหกรณ์โคนม หนองโพราชบุรี จำกัด (ในพระบรมราชูปถัมภ์). วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา, 7(1), 214-224.

พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ.2564.

ศรีรัฐ โกวงศ์. (2554). ระเบียบวิธีวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์. สมุทรสาคร: บริษัทพิมพ์ดี.

สาวตรี สุขศรี. (2564). การศึกษาการบังคับใช้ พระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ.2558 เพื่อประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย. กรุงเทพฯ: กู๊ดเฮด พริ้นท์ติ้ง แอนด์ แพคเกจจิ้ง กรุ๊ป.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2564). หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการย้าย การโอน หรือการเลื่อนข้าราขการพลเรือนสามัญเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ. สืบค้นจาก www2.ocsc.go.th/sites/default/files/attachment/circular/w14-2564.pdf.

อมรวรรณ แซเผือก และ ศรีรัฐ โกวงศ์. (2564). ความรู้ความเข้าใจในพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2560 ของบุคลากรสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน. บทความนำเสนอในงานประชุมวิชาการระดับนานาชาติด้านความมั่นคงศึกษา ครั้งที่ 8 โรงเรียนเสนาธิการทหารบก, 14 กรกฎาคม 2564.

อานนท์ ชื่นชอบ. (2564). ความรู้ความเข้าใจของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองบ้านสวนเกี่ยวกับการลดใช้ถุงพลาสติก. การค้นคว้าอิสระ รัฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา.

Bloom, B. (1956). Taxonomy of Educational Objectives. New York: David McKay Company Publisher.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-31

How to Cite

หยกอุบล ส., & โกวงศ์ ศ. (2024). ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ.2564 ของบุคลากรสังกัดสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด กรุงเทพมหานคร. สหวิทยาการและความยั่งยืนปริทรรศน์ไทย, 13(2), 1–11. https://doi.org/10.14456/tisr.2024.18