ความต้องการจำเป็นในการเสริมสร้างเทคนิคการสื่อสารด้านการพูด สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาศิลปกรรมเพื่อนำเสนอผลงานศิลปะ

ผู้แต่ง

  • ธิดารัตน์ ชื่นชัยกิจ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

DOI:

https://doi.org/10.14456/tisr.2023.18

คำสำคัญ:

ความต้องการจำเป็น, เทคนิคการสื่อสาร, การพูดเพื่อนำเสนอผลงาน, การพูดเพื่อนำเสนอผลงานศิลปะ

บทคัดย่อ

เนื่องจากรัฐบาลไทยได้มีนโยบายสนับสนุนการสร้างพลังสร้างสรรค์หรือ Soft Power ของประเทศ เพื่อยกระดับและพัฒนาความรู้ ความสามารถ และความคิดสร้างสรรค์ของคนไทยให้สร้างมูลค่าและสร้างรายได้ ซึ่งหนึ่งใน Soft Power สำคัญนั้นก็คือการพัฒนาต่อยอดงานศิลปะ การวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความต้องการจำเป็นและจัดลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นในการเสริมสร้างเทคนิคการสื่อสารด้านการพูดสำหรับนักศึกษาสาขาวิชาศิลปกรรมเพื่อนำเสนอผลงานศิลปะ โดยแหล่งข้อมูลที่ศึกษาเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาศิลปกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง จำนวน 140 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสอบถามความต้องการจำเป็นเกี่ยวกับสภาพที่เป็นจริงและสภาพที่คาดหวังเกี่ยวกับเทคนิคการพูดเพื่อนำเสนอผลงานศิลปะ ประกอบด้วย 6 เทคนิค ดังนี้ 1) เทคนิคการจัดโครงสร้างเนื้อหาการพูด 2) เทคนิคการพูดโน้มน้าวใจ
3) เทคนิคการวิเคราะห์ผู้ฟัง 4) เทคนิคการใช้น้ำเสียง 5) เทคนิคการเตรียมเนื้อเรื่อง และ 6) เทคนิคการใช้ภาษากาย โดยดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการประเมินสภาพที่เป็นจริงอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนสภาพที่คาดหวังอยู่ในระดับสูง 2) ผลการวิเคราะห์ดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นสามารถเรียงตามลำดับ ดังนี้ เทคนิคการพูดโน้มน้าวใจ เทคนิคการจัดโครงสร้างเนื้อหาการพูด เทคนิคการใช้น้ำเสียง เทคนิคการวิเคราะห์ผู้ฟัง เทคนิคการใช้ภาษากาย และเทคนิคการเตรียมเนื้อเรื่อง

References

จริยา เลิศอรรฆยมณี. (2552). เทคนิคการนำเสนอที่ดี. เวชบันทึกศิริราช, 2(1), 38-43.

ณัฏฐ์ชุดา วิจิตรจามรี. (2556). การสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

พรรณี ลีกิจวัฒนะ. (2554). วิธีวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์. (2564). เศรษฐกิจสร้างสรรค์กับการพัฒนาอุตสาหกรรมทัศนศิลป์. กรุงเทพฯ: บริษัท ซันต้าการพิมพ์ จำกัด.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2566). สรุปแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ.2566-2570). สืบค้นจาก www.nesdc.go.th/download/Plan13/Doc/Plan13_DraftFinal.pdf.

สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. (2566). คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี: นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี แถลงต่อรัฐสภา. สืบค้นจาก www.soc.go.th/?p=22892.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจําเป็น. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อัญชลี สุขในสิทธิ์. (2558). การวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาทักษะการสื่อสารของนิสิต หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. บทความนำเสนอในงานประชุมวิชาการระดับชาติ SMARTS ครั้งที่ 5 มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, 3 กรกฎาคม 2558.

Arici, I. (2018). Communication Skills of Students in Fine Arts Departments of Education Faculties. Educational Research and Reviews, 13(20), 688-695.

Borich, G. (1980). A Needs Assessment Model for Conducting Follow-Up Studies. Journal of Teacher Education, 31(3), 39-42.

Grace, D., & Gilsdorf, J. (2004). Classroom strategies for improving students’ oral communication skills. Journal of Accounting Education, 22(2), 165-172.

Haber, R., & Lingard, L. (2001). Learning Oral Presentation Skills: A Rhetorical Analysis with Pedagogical and Professional Implications. Journal of General Internal Medicine, 16, 308-314.

Kerby, D., & Romine, J. (2009). Develop Oral Presentation Skills through Accounting Curriculum Design and Course-Embedded Assessment. Journal of Education for Business, 85(3), 172-179.

Watt, S., & Barnett, J. (2011). Persuasive Speaking. Retrieved from http://sahlmanj.faculty.yosemite.edu/Comm-100/textbook/Chapter%2016--Persuasive%20Speaking.pdf.

Živković, S. (2014). The Importance of Oral Presentations for University Students. Mediterranean Journal of Social Sciences, 5(19), 468-475.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-03

How to Cite

Chuenchaikit, T. (2023). ความต้องการจำเป็นในการเสริมสร้างเทคนิคการสื่อสารด้านการพูด สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาศิลปกรรมเพื่อนำเสนอผลงานศิลปะ. สหวิทยาการและความยั่งยืนปริทรรศน์ไทย, 12(2), 212–221. https://doi.org/10.14456/tisr.2023.18