การยอมรับเทคโนโลยี 5G ของผู้ใช้โทรศัพท์มือถือในเขตกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ทรงยศ สีกานิล คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
  • ศศพร มุ่งวิชา คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

DOI:

https://doi.org/10.14456/tisr.2023.17

คำสำคัญ:

ส่วนประสมทางการตลาดบริการ, การยอมรับเทคโนโลยี 5G, โทรศัพท์มือถือ, กรุงเทพมหานคร

บทคัดย่อ

เทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายของโทรศัพท์มือถือได้มีการพัฒนามาถึงยุค 5G ซึ่งเป็นเทคโนโลยีเซลลูลาร์ไร้สายที่ทันสมัยที่สุดและมีประสิทธิภาพสูงที่สุดในปัจจุบัน เพื่อรองรับการใช้งานที่มีความต้องการสูงขึ้นรวมถึงการผลักดันจากภาครัฐสู่สังคมดิจิทัลในยุค 4.0 ส่งผลให้การแข่งขันของผู้ให้บริการมีแนวโน้มสูงขึ้น งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของลักษณะประชากรศาสตร์และส่วนประสมทางการตลาดบริการที่ส่งผลต่อการยอมรับเทคโนโลยี 5G ของผู้ใช้โทรศัพท์มือถือในเขตกรุงเทพมหานคร ผลการศึกษาพบว่า 1) เพศส่งผลต่อการยอมรับเทคโนโลยี 5G ด้านทัศนคติที่มีต่อการใช้ และด้านพฤติกรรมความตั้งใจในการใช้ 2) ระดับการศึกษาส่งผลต่อการยอมรับเทคโนโลยี 5G ด้านการรับรู้ถึงประโยชน์ที่เกิดจากการใช้งาน ด้านการรับรู้ถึงความง่ายในการใช้งาน ด้านทัศนคติที่มีต่อการใช้ และด้านพฤติกรรมความตั้งใจในการใช้ 3) ระดับรายได้ส่งผลต่อการยอมรับเทคโนโลยี 5G ด้านทัศนคติที่มีต่อการใช้ และ 4) ส่วนประสมทางการตลาดบริการทั้ง 8 ด้านส่งผลต่อการยอมรับเทคโนโลยี 5G โดยด้านองค์ประกอบทางด้านกายภาพ ส่งผลต่อการยอมรับเทคโนโลยี 5G มากที่สุด ที่ระดับความสัมพันธ์สูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2549). สถิติสำหรับงานวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เกวรินทร์ ละเอียดดีนันท์. (2557). การยอมรับเทคโนโลยีและพฤติกรรมผู้บริโภคออนไลน์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

คณะกรรมาธิการการเทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร และการโทรคมนาคม วุฒิสภา. (2563). ประโยชน์ของประเทศไทยกับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี 5G. สืบค้นจาก www.senate.go.th/document/Ext23994/23994747_0002.PDF.

ชญาภรณ์ คุ้มถิ่นแก้ว และ จรัญญา ปานเจริญ. (2562). คุณลักษณะส่วนบุคคลและการยอมรับเทคโนโลยีที่มีต่อการชำระเงินผ่านระบบ QR Code ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. วารสารสุทธิปริทัศน์, 33(106), 58-69.

ภาวิณี กาญจนาภา. (2559). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ริญญ์รภัส โชติจารุวัชร์ธนะ. (2563). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดและคุณภาพของระบบสารสนเทศที่มีความสัมพันธ์ต่อการยอมรับในเทคโนโลยี Mobile Banking ของลูกค้าธนาคารกรุงไทยในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วชิราภรณ์ พัดเกิด, อธิวัฒน์ อาษากิจ, วินัย เกษมวุฒิชัย, ทรงพล ลพนานุสรณ์ และ ธนัตถ์นันท์ สุขโชคนิธิโภคิณ. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่เครือข่าย 5G. วารสารรัชต์ภาคย์, 15(43), 363-375.

วรัญญา สันติบุตร. (2563). ส่วนประสมทางการตลาดและการยอมรับเทคโนโลยีที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าแฟชั่นผ่านทางแอปพลิเคชั่นออนไลน์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วาสนา ทองเสี่ยน. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีสารสนเทศกลุ่มบริษัทพานาโซนิคในประเทศไทย. การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

วิทวัส รุ่งเรืองผล. (2558). หลักการตลาด. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2538). พฤติกรรมผู้บริโภค ฉบับพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์พัฒนาศึกษา.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2541). กลยุทธ์การตลาดและการบริหารการตลาด. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์บริษัทธีระฟิล์มและไซเท็กซ์จำกัด.

สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ. (2563). ประมูล 5จี สุดคึกคักจบการประมูลเงินรวม 100,521 ล้านบาท. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2564). การสำรวจการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน พ.ศ.2563. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ.

อรทัย เลื่อนวัน. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีสารสนเทศ: กรณีศึกษากรมการพัฒนาชุมชน ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ. การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

อรอนงค์ ทองกระจ่าง. (2560). การศึกษาส่วนประสมทางการตลาด การยอมรับเทคโนโลยี และการสื่อสารแบบบอกต่อที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านทางแอปพลิเคชั่น shopee. การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

Awa, H., Nwibere, B., & Inyang, B. (2010). The Uptake of Electronic Commerce by SMEs: A Meta Theoretical Framework Expanding the Determining Constructs of TAM and TOE Frameworks. Journal of Global Business and Technology, 6(1), 1-27.

Cochran, W. (1977). Sampling Techniques. 3rd ed. New York: John Wiley & Sons Inc.

Davis, F. (1989). Perceived usefulness, perceived ease of use, and user acceptance of information technology. MIS Quarterly, 13(3), 319-340.

Kar. (2011). The 8Ps of Services Marketing. Retrieved from www.business-fundas.com/2011/the-8-ps-of-services-marketing/.

Kotler, P. (1997). Marketing Management: Analysis, Planning, Implementation, and Control. 9th ed. New Jersey: Prentice Hall.

Rogers, E., & Shoemaker, F. (1971). Communication of Innovation: A Cross-Cultural Approach. 2nd ed. New York: The Free Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-03

How to Cite

Seekanil, S., & มุ่งวิชา ศ. (2023). การยอมรับเทคโนโลยี 5G ของผู้ใช้โทรศัพท์มือถือในเขตกรุงเทพมหานคร. สหวิทยาการและความยั่งยืนปริทรรศน์ไทย, 12(2), 199–211. https://doi.org/10.14456/tisr.2023.17