ปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายในการป้องกันการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล อันอาจก่อความเสียหายแก่บุคคล กรณีการครอบครองข้อมูลและการตระเตรียมที่จะเปิดเผยข้อมูล

ผู้แต่ง

  • ประทีป ทับอัตตานนท์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
  • จิดาภา พรยิ่ง มหาวิทยาลัยทักษิณ

DOI:

https://doi.org/10.14456/tisr.2023.16

คำสำคัญ:

ข้อมูลส่วนบุคคล, ครอบครองข้อมูล, ตระเตรียมเปิดเผยข้อมูล, ป้องกัน

บทคัดย่อ

พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 มิได้บังคับใช้กับผู้ครอบครองข้อมูลส่วนบุคคลที่เป็นเอกชน โดยไม่มีอำนาจหน้าที่ในการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของผู้อื่นมาตรา 4(1) จึงเกิดช่องว่างทางกฎหมายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่อยู่ในความครอบครองของเอกชน โดยศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และกฎหมายสาธารณรัฐสิงค์โปร์ สหราชอาณาจักร และสาธารณรัฐเกาหลี ด้วยเหตุว่าไม่มีกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่อยู่ในความครอบครองของเอกชน ซึ่งผู้อื่นนั้นอาจกระทำการใดๆ แก่ข้อมูลนั้นได้ หากเกิดความเสียหายแก่เจ้าของข้อมูลมีสิทธิเพียงเรียกร้องในมูลละเมิดเท่านั้น โดยเจ้าของข้อมูลไม่อาจใช้มาตรการกฎหมาย ในการตรวจสอบ แก้ไข ยกเลิกข้อมูลดังกล่าวได้ รวมถึงการมีข้อมูลส่วนบุคคลไว้ เตรียมใช้เพื่อการกระทำผิดในฐานเกี่ยวกับการเปิดเผย เผยแพร่ กระจายข้อมูลส่วนบุคคลที่เป็นความผิดทางอาญา และยังไม่มีกฎหมายใดกำหนดฐานตระเตรียมการกระทำความผิดไว้ จึงเห็นควรปรับปรุงและแก้ไขพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 บังคับใช้แก่ผู้ครอบครองข้อมูลส่วนบุคคลของผู้อื่นโดยตนไม่มีอำนาจหน้าที่ในการจัดเก็บข้อมูล ให้กฎหมายมีบทบาทเข้ามาคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล รวมถึงกำหนดลักษณะความผิดฐานตระเตรียมใช้ข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อการกระทำความผิดฐานแพร่กระจาย เผยแพร่ ส่งต่อซึ่งข้อมูลส่วนบุคคล อันเป็นมาตรการป้องกันการกระทำความผิดในฐานต่อไป

References

HDร้อนออนไลน์. (2564). ตร. เตือนภัยคู่รัก ที่ชอบถ่ายรูป อัดคลิปลับเก็บไว้ดูเล่น. สืบค้นจาก https://news.ch7.com/detail/520679.

กระทรวงการต่างประเทศ. (2551). ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน. สืบค้นจาก https://humanrights.mfa.go.th/upload/pdf/udhr-th-en.pdf.

กระทรวงยุติธรรม. (2561). แผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ.2562-2566). สืบค้นจาก www.dmr.go.th/wp-content/uploads/2022/09/human_rights4.pdf.

จิตติ ติงศภัทิย์. (2546). คำอธิบายประมวลกฎหมายอาญา ภาค 1. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา.

ณัฐฐ์วัฒน์ สุทธิโยธิน. (2557). ทฤษฎีความรับผิดทางอาญา: หน่วยที่ 2. สืบค้นจาก www.stou.ac.th/Schools/Slw/upload/41716_2.pdf.

นพดล นิ่มหนู. (2565). หลักการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล: ศึกษาเปรียบเทียบพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 กับพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 41(3), 46-67.

วรพจน์ วิศรุตพิชญ์. (2538). รายงานการวิจัยสิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ. กรุงเทพฯ: สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล และ ชยพล ฉัตรชัยเดช. (2558). การป้องกันอาชญากรรมเชิงรุกโดยทฤษฎีสามเหลี่ยมอาชญากรรม. กรุงเทพฯ: กองบัญชาการตำรวจนครบาล.

Coroners and Justice Act 2009.

Criminal Justice Act 1988.

Criminal Justice and Immigration Act 2008.

Data Protection Act 2018.

Personal Data Protection Act 2012.

Personal Information Protection Act 2020.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-03

How to Cite

ทับอัตตานนท์ ป., & Pornying, J. (2023). ปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายในการป้องกันการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล อันอาจก่อความเสียหายแก่บุคคล กรณีการครอบครองข้อมูลและการตระเตรียมที่จะเปิดเผยข้อมูล. สหวิทยาการและความยั่งยืนปริทรรศน์ไทย, 12(2), 186–198. https://doi.org/10.14456/tisr.2023.16