สาเหตุปัญหาและมาตรการทางกฎหมายในปัจจุบันสำหรับการควบคุม การพนันออนไลน์
DOI:
https://doi.org/10.14456/tisr.2023.13คำสำคัญ:
มาตรการควบคุม, พนันออนไลน์, โรคติดการพนันบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์นำเสนอถึงสาเหตุปัญหาและมาตรการทางกฎหมายในการควบคุมการพนันออนไลน์ในปัจจุบัน โดยศึกษากฎหมายที่มีส่วนเกี่ยวข้องถึงการพนัน ดังนี้ พระราชบัญญัติการพนัน พุทธศักราช 2478 พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) ผลการศึกษาพบว่า ประเทศไทยในปัจจุบันกำลังประสบปัญหาการพนันออนไลน์ในสังคมเป็นจำนวนมากประมาน 30 กว่าล้าน จากประชากรทั้งหมด ซึ่งถือว่าเป็นจำนวนที่เพิ่มมากยิ่งขึ้นโดยมีเหตุปัจจัยหลักสามประการ ประการแรก เหตุปัจจัยจากภาวะทางเศรษฐกิจอันส่งผลมากจากปัญหาโรคติดต่อโควิด-19 รวมไปถึงการบริหารบ้านเมืองของรัฐบาล ประการที่สอง ปัญหาโรคติดการพนัน และประการที่สาม เหตุปัจจัยทางด้านกฎหมายที่มีความล้าหลังอันจะส่งผลให้การบังคับใช้ไม่มีความเด็ดขาดเพียงพอ รัฐจึงควรตระหนักถึงปัญหาในประเด็นดังกล่าวในส่วนนี้ผู้วิจัยได้ศึกษาถึงผลกระทบที่เกิดจากเหตุปัจจัยทั้งสามดังกล่าวที่เชื่อมโยงไปยังการกระทำความผิดอื่นๆ ด้วย โดยจะต้องมีมาตรการที่เหมาะสม และสามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้อย่างเป็นรูปธรรมสามารถนำผู้กระทำผิดมาลงโทษ และลดการพนันออนไลน์โดยรัฐควรจัดให้มีกฎหมายหรือมาตรการที่สามารถควบคุม และทัดเทียมกับการเปลี่ยนแปลงของโลกโดยนำกฎหมายเข้ามาเป็นเครื่องมือในการแก้ไขปัญหา
References
ชาตบุษย์ ฮายุกต์. (2559). การบังคับใช้กฎหมายควบคุมการพนันออนไลน์: ศึกษาเฉพาะกรณีเกมสังคมออนไลน์. การค้นคว้าอิสระ นิติศาสตรมหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ณัฏฐพงษ์ สายพิณ. (2564). พฤติกรรมการติดเกม การซื้อสินค้าเสมือนในเกม ลูทบ็อกซ์และการติดพนันในเกมออนไลน์ของวัยรุ่นไทย. วารสารพฤติกรรมศาสตร์, 27(2), 20-38.
ณาณัฐภูมิ สารรักษ์. (2561). ปัญหาและอุปสรรคในการป้องกันและปราบปรามการพนันในประเทศไทยตามพระราชบัญญัติการพนัน พุทธศักราช 2478. การค้นคว้าอิสระ นิติศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
สมพรชัย ชัยประสิทธิ์. (2564). มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการพนัน: ศึกษาการเปิดบ่อนการพนันแบบเสรี. วารสารวิชาการสถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิคสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 7(3), 504-513.
สัญญพงศ์ ลิ่มประเสริฐ, วีนันท์กานต์ รุจิภักดิ์, แสงเทียน อยู่เถา, ประเสริฐ ลิ่มประเสริฐ และ อนิสา มานะทน. (2565). โรคติดการพนัน: สภาวการณ์และแนวทางในการป้องกัน. วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ มหาวิทยาลัยมหิดล, 9(1), 13-31.
สุพิศาล ภักดีนฤนาถ. (2556). 4 dimensions การบริหารงานสืบสวน: กองบังคับการปราบปราม. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: กรีนแอปเปิ้ล กราฟฟิคปริ้นติ้ง.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2564). พนันกับโควิด ภัยร้ายใต้ภูเขาน้ำแข็ง พบคนไทยเล่นพนันถึง 32 ล้านคน. สืบค้นจาก www.thaihealth.or.th/พนันกับโควิด-ภัยร้ายใต้/.
สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2554). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสภา พ.ศ.2554. สืบค้นจาก https://dictionary.orst.go.th/.
Hardoon, K., Gupta, R., & Derevensky, J. (2004). Psychosocial Variables Associated with Adolescent Gambling. Psychology of Addictive Behaviors, 18(2), 170-179.
MGRonline. (2564). จับได้แล้ว! ปล้นร้านทองห้างเซ็นทรัลขอนแก่น พบเป็นเยาวชนอายุ 17 ปี เหตุติดพนันออนไลน์. สืบค้นจาก https://mgronline.com/onlinesection/detail/9640000116898.
Sanook. (2565). ลูกชายเผยแล้ว ปมเหตุสาวอุดรฯ ไลฟ์ผูกคอตาย ติดพนันออนไลน์เป็นหนี้หลักแสน. สืบค้นจาก www.sanook.com/news/8643998/.
Supercasino. (n.d.a). Singapore Gambling Regulation. Retrieved from www.supercasinosites.com/regulation/ singapore/.
Supercasino. (n.d.b). United Arab Emirates Gambling Regulation. Retrieved from www.supercasinosites.com/ regulation/united-arab-emirates/.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 Authors
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.