การตกเป็นเหยื่อทางไซเบอร์ของผู้สูงอายุ
DOI:
https://doi.org/10.14456/tisr.2023.1คำสำคัญ:
การตกเป็นเหยื่อทางไซเบอร์, การหลอกลวงทางไซเบอร์, ผู้สูงอายุบทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสาเหตุที่ทำให้ผู้สูงอายุตกเป็นเหยื่อของการหลอกลวงทางไซเบอร์ และเพื่อศึกษารูปแบบการตกเป็นเหยื่อของการหลอกลวงทางไซเบอร์ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก
กับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ผู้สูงอายุที่ตกเป็นเหยื่อการหลอกลวงทางไซเบอร์ จำนวน 24 คน ผู้มีส่วนในการหลอกลวง จำนวน 5 คน และเจ้าหน้าที่และนักวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการช่วยเหลือหรือการป้องกัน จำนวน 8 คน ผลการวิจัยแบ่งกลุ่มผู้สูงอายุที่ถูกหลอกลวงทางไซเบอร์ 4 กลุ่ม คือ 1) ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อการหลอกลวงให้ลงทุน โดยมีลักษณะของผลตอบแทนที่สูงเป็นสิ่งจูงใจ 2) ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อหรือแก๊งค์คอลเซ็นเตอร์ มีรูปแบบการหลอกลวงในการสร้างความตกใจกลัว ทำให้เกิดความโลภ หรือหลอกลวงว่าเป็นคนรู้จัก 3) ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อการซื้อสินค้าออนไลน์ ผู้หลอกลวงจะสร้างโปรไฟล์ให้ดูมีความน่าเชื่อถือ และสินค้าที่หลอกลวงมักจะเป็นสินค้าที่ราคาไม่สูงนัก และ 4) ผู้สูงอายุที่ตกเป็นเหยื่อการหลอกให้รักทางออนไลน์ ใช้จิตวิทยาในการหลอกลวงให้หลงรักก่อนที่จะนำไปสู่การหลอกลวงทรัพย์สินเงินทอง สาเหตุการตกเป็นเหยื่อการหลอกลวงมีความแตกต่างกันตามแต่ละรูปแบบของการหลอกลวงทางไซเบอร์
References
กรกนก นิลดำ, เสริมศิริ นิลดำ, อิงดอย ศรีลาพัฒน์, ภควัฒน์ สวนนาม, วรักษณ์กมล มงคลอัศศิริ และ ปฐมพร ปัญญะติ. (2563). วิธีการกลโกง ช่องทางการสื่อสาร และประสบการณ์ในการถูกมิจฉาชีพออนไลน์หลอกลวงของผู้สูงอายุในจังหวัดเชียงราย. วารสารการสื่อสาร มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 3(3), 50-67.
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์, ปัทชา ศึกษากิจ, สรชา สุเมธวานิชย์, วิชญาดา อำพนกิจวิวัฒน์ และ เขมชาติ ตนบุญ. (2562). ข้อจำกัดของกระบวนการยุติธรรมเพื่อป้องกันและปราบปราม พิศวาสอาชญากรรม (Romance Scam) และแนวทางสร้างความตระหนักรู้ให้กับประชาชน. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.
พลิสสุภา พจนะลาวัณย์. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมทางเศรษฐกิจ: ศึกษากรณีแชร์ลูกโซ่. การค้นคว้าอิสระ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. (2566). แถลงข่าวเกี่ยวกับสถิติการรับแจ้งความออนไลน์ในรอบปีที่ผ่านมา และภัยออนไลน์ที่เกิดขึ้นใหม่ในรอบสัปดาห์. สืบค้นจาก pctpr.police.go.th/blog/?p=21.
สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2563). รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2563. กรุงเทพฯ: กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2561). รายงานการสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ.2560. กรุงเทพฯ: กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2565). จำนวนและสัดส่วนประชากรจากการทะเบียน จำแนกตามกลุ่มวัย (วัยเด็ก วัยแรงงาน วัยสูงอายุ) เพศ ภาค และจังหวัด พ.ศ.2555-2564. สืบค้นจาก https://statbbi.nso.go.th/staticreport/Page/sector/TH/report/sector_01_11102_TH_.xlsx.
Cohen, L., & Felson, M. (1979). Social Change and Crime Rate Trends: A Routine Activity Approach. American Sociological Review, 44(4), 588-608.
DeLiema, M. (2018). Elder Fraud and Financial Exploitation: Application of Routine Activity Theory. Gerontologist, 58(4), 706-718.
Financial Intelligence Centre Republic of Namibia. (2018). Online Foreign Currency Exchange (FOREX) Trading Scams. Retrieved from www.fic.na/uploads/Public_Awareness/Forewarning_Reports/Online Foreign Currency Exchange (Forex) Trading Scams.pdf.
Jaishankar, K. (2008). Space Transition Theory of Cyber Crimes. In F. Schmallager & M. Pittaro. (eds.). Crimes of the Internet (pp. 283-301). New Jersey: Prentice Hall.
James, B., Boyle, P., & Bennett, D. (2014). Correlates of Susceptibility to Scams in Older Adults without Dementia. Journal of Elder Abuse & Neglect, 26(2), 107-122.
Reisig, M., & Holtfreter, K. (2013). Shopping Fraud Victimization among the Elderly. Journal of Financial Crime, 20(3), 324-337.
Schafer, S. (1977). Victimology: The Victim and his Criminal. Virginia: Reston Publishing Company.
Tsikerdekis, M., & Zeadally, S. (2014). Online Deception in Social Media. Communications of the ACM, 57(9), 72-80.
Wall, D. (2001). Cybercrimes and the internet. In D. Wall. (ed.). Crime and the internet (pp. 1-17). New York: Routledge.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 Authors
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.