ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อความเข้มแข็งของชุมชนในการป้องกัน และแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่ชายแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ผู้แต่ง

  • นริศรา จริยะพันธุ์ คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
  • จินดาลักษณ์ วัฒนสินธุ์ คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
  • เกษมศานต์ โชติชาครพันธุ์ คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

DOI:

https://doi.org/10.14456/tisr.2023.9

คำสำคัญ:

ความเข้มแข็งของชุมชน, การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด, ชายแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อความเข้มแข็งของชุมชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ในพื้นที่ชายแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ใช้วิธีการศึกษาแบบผสม โดยการวิจัยเชิงปริมาณ มีหน่วยวิเคราะห์ในระดับหมู่บ้าน จำนวน 385 หมู่บ้าน จาก 7 อำเภอ ใน 7 จังหวัดชายแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญและผู้มีประสบการณ์ด้านยาเสพติดจำนวน 6 คน ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยเชิงสาเหตุทั้งความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน การมีส่วนร่วมของประชาชน ทุนทางสังคม และภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ส่งผลทั้งทางตรงและทางอ้อมเชิงบวกต่อความเข้มแข็งของชุมชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ในพื้นที่ชายแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยภาครัฐควรให้ความสำคัญกับการสร้างความตระหนักในความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน การเป็นเจ้าของพื้นที่ และเป็นเจ้าของปัญหา ตลอดจนการสร้างให้เกิดความไว้วางใจซึ่งกันและกัน การสร้างความเชื่อมั่นต่อตัวผู้นำ และความรู้สึกถึงความเป็นพวกเดียวกัน เพื่อเพิ่มเติมข้อมูลด้านการข่าวที่ถือได้ว่าเป็นสิ่งสำคัญในการแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่ชายแดน ตลอดจนการสร้างแรงจูงใจให้ภาคประชาชนอยากเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานอย่างแท้จริง

References

กมลวรรณ วรรณธนัง. (2553). ทุนทางสังคมกับการจัดการความรู้สู่ชุมชนพึ่งตนเอง. วิทยานิพนธ์ รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

โกวิทย์ พวงงาม. (2553). การจัดการตนเองของชุมชนและท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: บพิธการพิมพ์.

จักรธร พลคชา. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเข้มแข็งของชุมชนในเขตเทศบาลตำบลเสลภูมิ อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด. การค้นคว้าอิสระ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ชนธัญ แสงพุ่ม, ฐิยาพร กันตาธนวัฒน์ และ วิภาวรรณ ยั่งยุบล. (2554). การพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ในลักษณะไตรภาคี. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.

ณรัชช์อร ศรีทอง. (2558). กระบวนการสร้างชุมชนที่เข้มแข็งพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

ถวิลวดี บุรีกุล. (2552). การมีส่วนร่วม แนวคิด ทฤษฎีและกระบวนการ. พิมพ์ครั้งที่ 4. นนทบุรี: สถาบันพระปกเกล้า.

ธีระวัฒน์ จันทึก, จิรวัธ ศิริศักดิ์สมบูรณ์ และ กนกอร เนตรชู. (2559). การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างผู้นำชุมชนเพื่อพัฒนาศักยภาพในการบริหารชุมชนเข้มแข็ง. วารสารบริหารธุรกิจและศิลปะศาสตร์ ราชมงคลล้านนา, 4(2), 52-59.

ประยุทธิ์ วะนะสุข. (2563). การสร้างชุมชนเข้มแข็งเพื่อเอาชนะยาเสพติดอย่างยั่งยืน กรณีจังหวัดลพบุรี.วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี, 12(1), 347-361.

ปิยลักษณ์ โพธิวรรณ์. (2557). ศักยภาพชุมชนในการจัดการแก้ไขปัญหายาเสพติด. บทความนำเสนอในการประชุมวิชาการ การพัฒนาชนบทที่ยั่งยืนครั้งที่ 4 เซ็นทารา โฮเต็ล แอนด์ คอนเวนชันเซ็นเตอร์, 11-13 มิถุนายน 2557.

พรนพ พุกกะพันธุ์. (2544). ภาวะผู้นำและการจูงใจ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จามจุรีโปรดักท์.

พลอย สืบวิเศษ. (2561). ทุนทางสังคม การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานภาครัฐและผลการดำเนินงานของภาครัฐในประเทศไทย. นนทบุรี: โรงพิมพ์รัตนไตร.

พีรธร บุณยรัตพันธุ์, บุญส่ง กวยเงิน และ พัฒน์ศักดิ์ กระต่ายน้อย. (2552). การสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน. พิษณุโลก: พิทย์เสนาการพิมพ์.

ภาดา ทาสีเงิน. (2558). แนวทางการสร้างความร่วมมือป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดของผู้นำชุมชนในจังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์, 10(1), 67-76.

เมตต์ เมตต์การุณ์จิต. (2556). ยุทธศาสตร์การพัฒนา: จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติเชิงรุก. กรุงเทพฯ: บุ๊คสพอยท์วิชาการ.

รัตติกรณ์ จงวิศาล. (2556). ภาวะผู้นำ: ทฤษฎี การวิจัย และแนวทางสู่การพัฒนา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วรพล นาหนองตูม. (2562). รูปแบบการส่งเสริมทุนทางสังคมสู่ชุมชนจัดการตนเองด้านยาเสพติด. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(7), 3656-3670.

วุฒิชาติ ทอนศรี, ชูพักตร์ สุทธิสา และ กนกพร รัตนสุธีระกุล. (2557). ทุนทางสังคม และทุนทางวัฒนธรรมชาติพันธุ์เขมรกับการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดโดยชุมชน. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 9(1), 93-103.

สมเกียรติ วรรณสิริวิไล และ วันทนีย์ จันทร์เอี่ยม. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของเครือข่ายองค์กรภาคประชาชนในการป้องกัน และแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น, 8(2), 180-196.

สมบัติ นามบุรี. (2562). ทฤษฎีการมีส่วนร่วมในงานรัฐประศาสนศาสตร์. วารสารวิจยวิชาการ, 2(1), 183-197.

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด. (2553). ความรู้และแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: บางกอกเทคโนโลยีสแกนนิ่งแอนด์เซอร์วิส.

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด. (2563). แผนปฏิบัติการด้านการป้องกัน และปราบปรามยาเสพติด พ.ศ.2563. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการป้องกันเเละปราบปรามยาเสพติด.

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด. (2565). นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการป้องกัน ปราบปราม และแก้ไขปัญหายาเสพติด (พ.ศ.2566-2570). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด.

สิงห์ ปานะชา. (2558). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดขององค์กรบริหารส่วนตำบลในเขตพื้นที่ชายแดนไทย-พม่า อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี. วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย, 7(2), 195-220.

สุพรรณี ไชยอำพร. (2560). ทุนทางสังคมกับการเสริมสร้างทุนมนุษย์ในเขตเมืองชายแดน กรณีศึกษาเปรียบเทียบประเทศไทยกับกัมพูชา. วารสารการพัฒนาสังคม, 19(2), 53-67.

สุรีรัตน์ โบจรัส. (2559). การมีส่วนร่วมของชุมชนต่อการพัฒนาศักยภาพชุมชนในการแก้ปัญหาการใช้สารเสพติด. วารสารสถาบันวิจัยญาณสังวร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 7(2), 256-267.

โสณกุญช์ ทรัพย์สมบัติ. (2556). การพัฒนาเครือข่ายชุมชนพึ่งตนเองในการแก้ไขปัญหายาเสพติด. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์ (ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 3(2), 66-79.

Bass, B., & Avolio, B. (eds.). (1994). Improving organizational effectiveness through transformational leadership. California: SAGE Publications.

Cohen, J., & Uphoff, N. (1980). Participation's place in rural development: Seeking clarity through specificity. World Development, 8(3), 213-235.

Coleman, J. (1988). Social Capital in the Creation of Human Capital. American Journal of Sociology, 94, S95-S120.

Daniere, A., Takahashi, L., & NaRanong, A. (2002). Social Capital, Networks, and Community Environments in Bangkok, Thailand. Growth and Change, 33(4), 453-484.

Hair, J., Black, W., Babin, B., & Anderson, R. (2018). Multivariate Data Analysis. 8th ed. Massachusetts: Cengage Learning.

Lardier Jr., D. (2018). An Examination of Ethnic Identity as a Mediator of the Effects of Community Participation and Neighborhood Sense of Community on Psychological Empowerment among Urban Youth of Color. Journal of Community Psychology, 46(5), 551-566.

McMillan, D., & Chavis, D. (1986). Sense of Community: A Definition and Theory. Journal of Community Psychology, 14(1), 6-23.

Peterson, N., & Reid, R. (2003). Paths to Psychological Empowerment in an Urban Community: Sense of Community and Citizen Participation in Substance Abuse Prevention Activities. Journal of Community Psychology, 31(1), 25-38.

Peterson, N., Speer, P., & Peterson, C. (2011). Pathways to Empowerment in Substance Abuse Prevention: Citizen Participation, Sense of Community, and Police Responsiveness in an Urban US Setting. Global Journal of Community Psychology Practice, 1(3), 23-31.

Pooley, J., Cohen, L., & Pike, L. (2005). Can Sense of Community Inform Social Capital?. The Social Science Journal, 42(1), 71-79.

Reid, R., Forenza, B., Lardier Jr., D., & Garcia-Reid, P. (2017). Exploring the Predictors of Citizen Participation in Substance Abuse Prevention Activities. Journal of Alcoholism & Drug Dependence, 5(2), 1000260.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-11-14

How to Cite

จริยะพันธุ์ น., วัฒนสินธุ์ จ., & โชติชาครพันธุ์ เ. (2023). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อความเข้มแข็งของชุมชนในการป้องกัน และแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่ชายแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. สหวิทยาการและความยั่งยืนปริทรรศน์ไทย, 12(2), 100–112. https://doi.org/10.14456/tisr.2023.9