แรงจูงใจที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของพนักงานระดับปฏิบัติงานของกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน

ผู้แต่ง

  • อัมพร ปัญญา มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • อนงค์วรรณ เทพสุทิน มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • ธนาภรณ์ กรองสติปัญญา มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • อดุลย์ เลาหพล มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • เมลิสา มหาพล มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

DOI:

https://doi.org/10.14456/jirgs.2023.27

คำสำคัญ:

แรงจูงใจ, การปฏิบัติงาน, พนักงานระดับปฏิบัติงาน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแรงจูงใจที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของพนักงานระดับปฏิบัติการ กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน และ 2) เปรียบเทียบแรงจูงใจที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของพนักงานระดับปฏิบัติการ กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล โดยตัวอย่าง คือ พนักงานระดับปฏิบัติงานของกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน จำนวน 105 ตัวอย่าง สถิติในการวิเคราะห์ผลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ทดสอบความแตกต่างโดยใช้สถิติแบบ t-test, F-Test และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่วิธีการทดสอบ Least Significant Difference ผลการศึกษาพบว่า พนักงานระดับปฏิบัติการ กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน มีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานในระดับมาก และปัจจัยลักษณะส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ทำงาน มีผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานระดับปฏิบัติการ กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

References

ปิยธิดา กวินภัทรเวช. (2557). แรงจูงใจที่มีผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ของพนักงานฝ่ายผลิต โรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ในเขตนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี. วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา, 3(1), 261-282.

พัชราภรณ์ โชติสูงเนิน. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างความภาคภูมิใจแห่งตนในองค์การ แรงจูงใจในการทำงาน การสนับสนุนทางสังคมกับความต้ังใจคงอยู่ในองค์การของลูกจ้างชั่วคราว ศูนย์บริการข้อมูลสรรพากร. การค้นคว้าอิสระ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

วิภาส ทองสุทธิ์. (2552). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อินทภาษ.

วิราวรรณ ชูจันทร์. (2552). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความสามารถของตนกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จังหวัดนครศรีธรรมราช. การค้นคว้าอิสระ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สิริรักษ์ วรรธนะพินทุ. (2548). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. การค้นคว้าอิสระ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกริก.

Herzberg, F., Mausner, B., & Snyderman, B. (1959). The Motivation to Work. 2nd ed. New York: John Wiley & Sons.

Steers, R., Porter, L., & Bigley, G. (1996). Motivation and leadership at work. New York: McGraw-Hill.

Thanajirachot, P., Chinuntdej, N., & Nami, M. (2019). The Effects of Driving Factors on Safety Culture, Knowledge, Motivation and Performance of Employees in the Oil Refining Industry in Thailand. Asian Administration and Management Review, 2(2), 247-256.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-09-09

How to Cite

ปัญญา อ., เทพสุทิน อ., กรองสติปัญญา ธ., เลาหพล อ., & มหาพล เ. (2023). แรงจูงใจที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของพนักงานระดับปฏิบัติงานของกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน. สหวิทยาการและความยั่งยืนปริทรรศน์ไทย, 12(1), 296–305. https://doi.org/10.14456/jirgs.2023.27