ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในเขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • จรินทร์ สวนแก้ว คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • กัณฐนา สนเจริญ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • ชนะ รัตนภักดี คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • ปรียาพร เหตระกูล คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • สุรพร สิมะกุลธร คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

DOI:

https://doi.org/10.14456/jirgs.2023.26

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำ, ผู้บริหารโรงเรียน, กรุงเทพมหานคร

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบทบาทภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพมหานคร และ 2) เปรียบเทียบบทบาทภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพมหานคร ตามปัจจัยส่วนบุคคล การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ข้าราชการครูและกรรมการสถานศึกษา รวม 6 โรงเรียน จำนวน 354 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการเปรียบเทียบด้วยค่า t-test และใช้ค่าสถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการศึกษาพบว่า 1) ข้าราชการครูและกรรมการสถานศึกษามีความคิดเห็นต่อบทบาทผู้นำของผู้บริหารโดยรวม อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายด้านเรียงตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย พบว่า ด้านบทบาทการเผยแพร่และการประชาสัมพันธ์ ด้านบทบาทการเป็นผู้ประสานงานและการติดตาม ด้านบทบาทการเป็นผู้จัดการและการจัดการทรัพยากร ด้านบทบาทการเป็นนักแก้ปัญหาและการเจรจาต่อรอง และด้านบทบาทการเป็นผู้นำเชิงสัญลักษณ์หรือประธานขององค์กร อยู่ในระดับปานกลาง ตามลำดับ 2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของข้าราชการครูและกรรมการสถานศึกษาต่อบทบาทผู้นำของผู้บริหาร พบว่า ข้าราชการครูและกรรมการสถานศึกษาที่มี เพศ ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อบทบาทภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาโดยรวม ไม่แตกต่างกัน

References

เฉลิมชัย หาญกล้า. (2549). ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพ. ครุสารเทพสตรี, 8(1), 41-48.

ณัติเทพ พิทักษานุรัตน์. (2559). เปรียบเทียบบทบาทการบริหารงานของผู้บริหารการศึกษากับผู้จัดการทางธุรกิจ. อุดรธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

สาวิตรี บุตรธาจารย์. (2540). สร้างทีมงานในสถาบันบริการสารสนเทศสังกัดสถาบันอุดมศึกษาเอกชน. การค้นคว้าอิสระ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2542). เกณฑ์มาตรฐานผู้บริหารการศึกษาของคุรุสภา 2540. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

สิทธิโชค วรานุสันติกูล. (2546). จิตวิทยาสังคม: ทฤษฎีและการประยุกต์. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

อาคม วัดไธสง. (2547). หน้าที่ผู้นำในการบริหารการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 4. สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ.

Mintzberg, H. (1973). The Nature of Managerial Work. New York: Harper and Row.

Smith, H. (1974). Description of Effective and Ineffective Behavior of School Principals. Dissertation Abstracts International, 48(3), 1935-A.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-09-09

How to Cite

สวนแก้ว จ., สนเจริญ ก., รัตนภักดี ช., เหตระกูล ป., & สิมะกุลธร ส. (2023). ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในเขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพมหานคร. สหวิทยาการและความยั่งยืนปริทรรศน์ไทย, 12(1), 288–295. https://doi.org/10.14456/jirgs.2023.26