ความพึงพอใจของประชาชนต่อการแก้ไขปัญหาจราจรในกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • อาจยุทธ เนติธนากูล คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • สิทธิพันธ์ สกุลสุขเจิญ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • ปวิช สอนศิริ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • ธนาวัฒน์ แสงอาทิตย์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • ธนานันต์ กัญญาราช คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

DOI:

https://doi.org/10.14456/jirgs.2023.28

คำสำคัญ:

ปัญหาจราจร, ความพึงพอใจ, กรุงเทพมหานคร

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความพึงพอใจของประชาชนในการแก้ไขปัญหาจราจรในเขตกรุงเทพมหานคร 2) เปรียบเทียบระดับความพึงพอใจของประชาชนในการแก้ไขปัญหาจราจรในกรุงเทพมหานครจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล การวิจัยในครั้งนี้เป็นงานวิจัยในเชิงปริมาณโดยเป็นการศึกษาในลักษณะการศึกษาเชิงสำรวจ โดยใช้การเก็บรวบรวมข้อมูลในรูปแบบสอบถาม ประชากรในการวิจัย คือ ประชาชนที่ใช้พาหนะในเส้นทางจราจรในเขตกรุงเทพมหานคร 1,000 คน ในการวิเคราะห์และคำนวณสถิติพื้นฐาน คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และค่าเอฟ ผลการศึกษาพบว่า 1) ระดับความพึงพอใจของประชาชนต่อการแก้ไขปัญหาจราจรโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นภาพรวมรายด้านพบว่า ประชาชนมีความพึงพอใจด้านนโยบายของรัฐมากที่สุด รองลงมาคือ โครงสร้างและพื้นผิวจราจร กฎหมายจราจร การขับขี่ของประชาชน และการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ตามลำดับ 2) เมื่อเปรียบเทียบระดับความพึงพอใจของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครในการแก้ไขปัญหาจราจรจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และพฤติกรรมการขับขี่ พบว่า อายุ การศึกษา อาชีพ รายได้ ประเภทรถที่ใช้ เวลาในการใช้รถ ที่แตกต่างกัน จะมีความพึงพอใจที่แตกต่างกัน ในระดับนัยสำคัญที่ 0.05

References

ครรชิต ผิวนวล, มิ่งสรรพ์ ขาวสอาด และ ปิยนุช เพียรชอบ. (2537). ปัญหาจราจรในกรุงเทพฯ: มีทางแก้หรือไม่?. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย.

ลลิตภัทร สีเคน. (2564). การเมืองของนโยบายการแก้ไขปัญหาการจราจรของกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่ พ.ศ.2504-2563. วารสารรัฐศาสตร์รอบรู้และสหวิทยาการ, 4(4), 1-15.

สหรัฐ อกนิษฐศาสตร์. (2561). มาตรการภาษีและค่าธรรมเนียมเพื่อบรรเทาปัญหาจราจรในกรุงเทพมหานคร. วารสารบัณฑิตศึกษานิติศาสตร์, 11(4), 929-949.

Groeger, J. (2011). Chapter 1 - How Many E’s in Road Safety?. In Porter, B. (Ed.), Handbook of Traffic Psychology (pp. 3-12). New York: Academic Press.

Kop, N., & Euwema, M. (2001). Occupational stress and the use of force by Dutch police officers. Criminal Justice and Behavior, 28(5), 631-652.

Netithanakul, A. (2022). Traffic Police’s Attitude Towards Solving Traffic Problem and Livelihoods of Traffic Police in Bangkok, Thailand. International Journal of Crime, Law and Social Issues, 9(1), 53-58.

Swanson, C., & Territo, L., & Taylor, R. (2016). Police Administration: Structures, Processes, and Behavior. 9th ed. London: Pearson.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-09-09

How to Cite

เนติธนากูล อ., สกุลสุขเจิญ ส., สอนศิริ ป., แสงอาทิตย์ ธ., & กัญญาราช ธ. (2023). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการแก้ไขปัญหาจราจรในกรุงเทพมหานคร. สหวิทยาการและความยั่งยืนปริทรรศน์ไทย, 12(1), 306–314. https://doi.org/10.14456/jirgs.2023.28