ผลของนโยบายการคลังต่อเศรษฐกิจไทย
DOI:
https://doi.org/10.14456/jirgs.2023.24คำสำคัญ:
นโยบายการคลัง, เศรษฐกิจไทย, รายรับของรัฐบาล, รายจ่ายของรัฐบาลบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 1) เพื่อศึกษาผลกระทบการใช้นโยบายการคลังของภาครัฐบาลที่มีผลต่อเศรษฐกิจไทย 2) เพื่อวิเคราะห์บทบาทของภาครัฐบาลในระบบเศรษฐกิจ ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาเป็นข้อมูลทุติยภูมิแบบอนุกรมเวลา ระหว่าง พ.ศ.2562-2565 นำมาวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของการดำเนินนโยบายการคลังด้านรายได้และรายจ่ายของรัฐบาลที่มีผลต่อเศรษฐกิจในรูปสมการถดถอยเชิงซ้อน แบบ Log Linear ประมาณค่าด้วยวิธีกำลังสองน้อยที่สุด ผลการศึกษาพบว่า 1) เมื่อรัฐบาลดำเนินนโยบายทางการคลังโดยการเปลี่ยนแปลงรายได้ของรัฐบาลและการใช้จ่ายของรัฐบาล จะมีผลทำให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศที่แท้จริงเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางเดียวกัน แสดงว่าการใช้นโยบายการคลังมีผลอย่างมากต่อเศรษฐกิจไทย 2) รัฐบาลมีบทบาทสำคัญอย่างมากกับระบบเศรษฐกิจโดยเฉพาะในการดำเนินนโยบายการคลังซึ่งจะมีผลต่อการขยายตัวและการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ
References
ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2565). เครื่องชี้เศรษฐกิจมหภาคของไทย. สืบค้นจาก https://app.bot.or.th/BTWS_STAT/statistics/ReportPage.aspx?reportID=409&language=th.
สุชาติ ธาดาธำรงเวช. (2549). ทฤษฎีหลักว่าด้วยการบริหารนโยบายเศรษฐกิจ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มิ่งมิตร.
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง. (2565). ประมาณการเศรษฐกิจไทย. สืบค้นจาก www.fpo.go.th/main/Economic-report/Thailand-Economic-Projections.aspx.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่ 1/2565 และแนวโน้มปี 2565. สืบค้นจาก www.nesdc.go.th/more_news.php?cid=931&filename=index.
Froyen, R., & Low, L. (2001). Macroeconomics: An Asian Perspective. Singapore: Prentice-Hall.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 Authors
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.