แนวทางการจัดการเพื่อเพิ่มประสิทธิผลของธุรกิจในภาคการผลิต ของอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ธัญนันท์ โคตรโสภา คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
  • เกียรติชัย วีระญาณนนท์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
  • อนันต์ ธรรมชาลัย คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ

DOI:

https://doi.org/10.14456/tisr.2023.3

คำสำคัญ:

การจัดการ, ภาคการผลิต, อัญมณีและเครื่องประดับ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปของการดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน การแข่งขัน สภาพแวดล้อมภาพนอก ปัญหาเชิงการจัดการด้านต่างๆ และประสิทธิผลของธุรกิจในภาคการผลิตของอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับในประเทศไทย 2) เพื่อศึกษาปัจจัยคุณลักษณะของธุรกิจและปัจจัยการจัดการธุรกิจที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของธุรกิจ และ 3) เพื่อวิเคราะห์และเสนอแนวทางการจัดการเพื่อเพิ่มประสิทธิผลของธุรกิจดังกล่าว ผลของการวิจัยพบว่าสภาพแวดล้อมธุรกิจภายนอกและภายในประเทศพบปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบภายในประเทศ เครื่องจักรและอุปกรณ์ราคาสูง กระบวนการผลิต และแรงงานที่มีฝีมือและความชำนาญในการผลิต ผลการเปรียบเทียบประสิทธิผลของธุรกิจ เมื่อจำแนกตามปัจจัยคุณลักษณะของธุรกิจ พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อจำแนกตามทุนจดทะเบียน จำนวนพนักงาน ระยะเวลาในการดำเนินธุรกิจ และสถานที่ตั้ง ผลการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ พบว่า ปัจจัยการจัดการธุรกิจ ด้านโครงสร้าง ด้านระบบ ด้านบุคลากร ด้านรูปแบบการบริหาร และด้านค่านิยมร่วม ส่งผลต่อประสิทธิผลของธุรกิจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จากการวิเคราะห์ SWOT และสังเคราะห์เป็นแนวทางด้วยหลักการของ TOWS Matrix ได้แนวทางทั้งหมด 8 แนวทาง

References

ชุลีวรรณ โชติวงษ์ และ จุฑารัตน์ ปิณฑะแพทย์. (2563). การพัฒนารูปแบบศักยภาพของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมพลอยในยุคดิจิทัล. วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 30(4), 707-716.

ธัญนันท์ บุญอยู่. (2561). อิทธิพลคั่นกลางของทุนโครงสร้างและการเป็นผู้ประกอบการในการถ่ายทอดทุนเชิงความสัมพันธ์สู่ผลิตภาพสำหรับอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทย. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 10(1), 41-53.

ศิตา จิตรลดานนท์, อารีรัตน์ ปานศุภวัชร และ สันติภาพ สุขเอนกนันท์. (2560). ผลกระทบของกลยุทธ์การปรับตัวทางการตลาดที่มีต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับในประเทศไทย. วารสารการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 9(2), 64-75.

สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ. (2561). โรงงานอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ (สะสม) ณ เดือนมกราคม-มีนาคม 2561. สืบค้นจาก thaitextile.org/th/insign/detail.253.1.0.html.

สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า. (2565). ภาวะการค้าระหว่างประเทศของไทย ประจำเดือนเมษายน 2565. สืบค้นจาก www.tpso.moc.go.th/th/node/11727.

Dreyer, B., & Gronhaug, K. (2004). Uncertainty, Flexibility, and Sustained Competitive Advantage. Journal of Business Research, 57(5), 484-494.

Humphrey, A. (2005). SWOT Analysis for Management Consulting. California: SRI International Alumni Association.

Kaplan, R., & Norton, D. (1996). The Balanced Scorecard: Translating Strategy into Action. Massachusetts: Harvard Business School Press.

Krejcie, R., & Morgan, D. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Likert, R. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale. New York: Wiley & Son.

McKinsey, L. (1982). Déatente in Canada's Energy War. American Review of Canadian Studies, 12(1), 98-119.

Peters, T., & Waterman Jr., R. (2006). In Search of Excellence: Lessons from America's Best-Run Companies. New York: HarperCollins Publishers.

Weihrich, H. (1993). Daimler-Benz’s Move towards the Next Century with the TOWS Matrix. European Business Review, 93(1), 1-9.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-11-09

How to Cite

Kotsopa, T., วีระญาณนนท์ เ., & ธรรมชาลัย อ. (2023). แนวทางการจัดการเพื่อเพิ่มประสิทธิผลของธุรกิจในภาคการผลิต ของอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับในประเทศไทย. สหวิทยาการและความยั่งยืนปริทรรศน์ไทย, 12(2), 25–36. https://doi.org/10.14456/tisr.2023.3