ความตระหนักในการรักษาความปลอดภัยทางสารสนเทศของบุคลากร กรมประชาสัมพันธ์

ผู้แต่ง

  • ปวริศร์ จันทวัฒน์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ศรีรัฐ โกวงศ์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

DOI:

https://doi.org/10.14456/tisr.2023.2

คำสำคัญ:

ความตระหนัก, ความปลอดภัยทางสารสนเทศ, กรมประชาสัมพันธ์

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความตระหนักในการรักษาความปลอดภัยทางสารสนเทศของบุคลากรกรมประชาสัมพันธ์ (กปส.) 2) เพื่อเปรียบเทียบความตระหนักในการรักษาความปลอดภัยทางสารสนเทศของบุคลากร กปส. จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างช่องทางการรับรู้ข้อมูลข่าวสารกับระดับความตระหนักในการรักษาความปลอดภัยทางสารสนเทศ และ 4) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ด้านความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภัยคุกคามทางสารสนเทศกับความตระหนักในการรักษาความปลอดภัยทางสารสนเทศ กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากร กปส. จำนวน 305 คน สถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติ t-test One-Way ANOVA LSD Chi-Square Cramer’s V และค่าสัมประสิทธิ์ความสัมพันธ์เพียร์สัน กำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการศึกษาพบว่า บุคลากร กปส. มีความตระหนักในการรักษาความปลอดภัยทางสารสนเทศอยู่ในระดับมาก ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า เพศ อายุ ระดับการศึกษา และหน่วยงานภายใน กปส. มีความตระหนักในการรักษาความปลอดภัยทางสารสนเทศแตกต่างกัน และประเภทบุคลากรที่แตกต่างกันมีความตระหนักในการรักษาความปลอดภัยทางสารสนเทศไม่แตกต่างกัน ช่องทางการรับรู้ข้อมูลไม่มีความสัมพันธ์กับระดับความตระหนักในการรักษาความปลอดภัยทางสารสนเทศ และความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภัยคุกคามทางสารสนเทศมีความสัมพันธ์กับความตระหนักในการรักษาความปลอดภัยทางสารสนเทศในทิศทางตามกันปานกลาง

References

ชนัญญา จรรยาสวัสดิ์. (2561). ความตระหนักในการรักษาความปลอดภัยทางสารสนเทศของข้าราชการทหาร ศูนย์รักษาความปลอดภัย. บทความนำเสนอใน งานประชุมวิชาการบัณฑิตศึกษาระดับชาติครั้งที่ 11 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 14 กรกฎาคม 2561.

ฐิติพร โชติรอด และ วุฒิพงษ์ ชินศรี. (2560). ความตระหนักรู้ของพนักงานบริษัทประกันชีวิตต่อการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลสารสนเทศภายในองค์กร. บทความนำเสนอใน งานประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต ประจำปี 2560, 28 เมษายน 2560.

นันท์ณิภัค นันทวัฒน์วงษ์. (2561). ความตระหนักความมั่นคงปลอดภัยด้านระบบสารสนเทศของหน่วยงานด้านการบิน: กรณีศึกษา ท่าอากาศยานนานาชาติอุดรธานี กรมท่าอากาศยาน กระทรวงคมนาคม. การค้นคว้าอิสระ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ภัณณปภัส เลิศปรัชญา. (2556). ความตระหนักของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่มีต่อความยั่งยืนขององค์การ. การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศการประชาสัมพันธ์. (2563). นโยบายการรักษาความมั่นคงปลอดภัยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ กรมประชาสัมพันธ์ พ.ศ.2563. กรุงเทพฯ: กรมประชาสัมพันธ์.

สุพิชญา อาชวิรดา. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศในองค์กร. วารสารระบบสารสนเทศด้านธุรกิจ, 2(2), 66-79.

เอกลักษณ์ ธนเจริญพิศาล. (2554). ความตระหนักและการยอมรับการนําระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม (ISO 14001) มาใช้ในองค์การภาครัฐ: ศึกษากรณีสํานักงานโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. การค้นคว้าอิสระ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

Whitman, M., & Mattord, H. (2021). Principles of Information Security. 7th ed. Massachusetts: Cengage Learning.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-11-09

How to Cite

chantawat, pavarit, & โกวงศ์ ศ. (2023). ความตระหนักในการรักษาความปลอดภัยทางสารสนเทศของบุคลากร กรมประชาสัมพันธ์. สหวิทยาการและความยั่งยืนปริทรรศน์ไทย, 12(2), 14–24. https://doi.org/10.14456/tisr.2023.2