ความรู้เกี่ยวกับการลักลอกวรรณกรรมของนักวิจัยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ผู้แต่ง

  • ปฏิภักดิ์ ปัญญาพูนตระกูล คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ศรีรัฐ โกวงศ์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

DOI:

https://doi.org/10.14456/tisr.2023.8

คำสำคัญ:

ความรู้, การลักลอกวรรณกรรม, นักวิจัย, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความรู้เกี่ยวกับการลักลอกวรรณกรรมของนักวิจัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 2) เพื่อเปรียบเทียบความรู้เกี่ยวกับการลักลอกวรรณกรรมของนักวิจัยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตามปัจจัยส่วนบุคคล 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสื่อที่ใช้เป็นประจำกับความรู้เกี่ยวกับการลักลอกวรรณกรรมของนักวิจัยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 4) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความคิดเห็นนโยบายของมหาวิทยาลัยหรือหน่วยงานที่สังกัดในการลักลอกวรรณกรรมกับความรู้เกี่ยวกับการลักลอกวรรณกรรมของนักวิจัยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้โปรแกรม G-Power และได้จำนวนนักวิจัยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 305 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือเก็บข้อมูล สถิติที่ใช้วิเคราะห์ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test, One Way ANOVA, LSD และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 ผลการวิจัยพบว่า นักวิจัยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีความรู้เกี่ยวกับการลักลอกวรรณกรรมในระดับสูง ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า นักวิจัยที่มีอายุงานและตำแหน่งทางวิชาชีพที่แตกต่างกันมีความรู้เกี่ยวกับการลักลอกวรรณกรรมต่างกัน นอกจากนี้ สื่อที่ใช้สื่อที่ใช้เป็นประจำเกี่ยวกับการลักลอกวรรณกรรมมีความสัมพันธ์กับระดับความรู้เกี่ยวกับการลักลอกวรรณกรรมในทิศทางผกผันกันน้อย ทั้งนี้ ความคิดเห็นนโยบายของมหาวิทยาลัยหรือหน่วยงานที่สังกัดมีความสัมพันธ์ต่อความรู้เกี่ยวกับการลักลอกวรรณกรรมในทิศทางตามกันน้อย

References

กมลชนก วงศ์สวัสดิ์. (2563). ความรู้ความเข้าใจต่อพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 ของพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค สำนักงานใหญ่. การค้นคว้าอิสระ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2564). ประกาศกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เรื่อง การกำหนดให้สถาบันอุดมศึกษาสังกัดกลุ่มสถาบันอุดมศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565. สืบค้นจาก plan.bsru.ac.th/th/download/ประกาศกระทรวงการอุดมศึ/.

ขวัญใจ สอนศิริ. (2559). ประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้โดยเทคนิคการสอนแบบใช้สื่อการสอนวิชาคอมพิวเตอร์ในงานธุรกิจ เรื่อง การใช้คอมพิวเตอร์ในงานด้านการผลิตของนักเรียนระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 3. การค้นคว้าอิสระ การศึกษามหาบัณฑิต, วิทยาลัยเทคโนโลยีเมืองชลพณิชยการ.

ชนินทร์ พุ่มบัณฑิต และ กมลชนก ยวดยง. (2565). ความลวงในสื่อสังคมออนไลน์. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 16(3), 244-257.

ดลพรรณ จันทร์ประเสริฐ. (2562). ความคิดเห็นต่อระบบจัดการงบประมาณอิเล็กทรอนิกส์ (e-Budgeting) ของนักวิเคราะห์งบประมาณ สำนักงบประมาณ. การค้นคว้าอิสระ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์.

บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2555). การคัดลอกผลงานทางวิชาการ ผลงานวิจัย สิ่งพิมพ์ วิทยานิพนธ์ Academic Plagiarism) “ประเด็นสำคัญที่ควรรู้”. สืบค้นจาก www.grad.chula.ac.th/download/files/Plagiarism.pdf.

บุญเดิม พันรอบ. (2557). นโยบาย. สืบค้นจาก www.panrob.com/รายวิชา/210111-การจัดการทรัพยากรมนุษย์-human-resources-management-hrm.html.

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (ม.ป.ป.). ปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ. สืบค้นจาก www.ku.ac.th/th/philosophy-vision-mission.

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (2565ก). ผลงานงานวิจัยและนวัตกรรม. สืบค้นจาก www.ku.ac.th/th/community-home.

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (2565ข). ระบบสารสนเทศนามานุกรม. สืบค้นจาก https://directory.ku.ac.th/ver3/index.php.

ศรีรัฐ โกวงศ์, กชกร คชวิเศษ และ มงคล เกษสุนทร. (2561ก). ความรู้ความเข้าใจต่อการลักลอกวรรณกรรมของนิสิตปริญญาโท ภาคพิเศษ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน. บทความนำเสนอในงานประชุมวิชาการบัณฑิตศึกษาระดับชาติ ครั้งที่ 13 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 25 ธันวาคม 2561.

ศรีรัฐ โกวงศ์, ดลพรรณ จันทร์ประเสริฐ และ มนต์นภา คีรีโชต. (2561ข). ความรู้ความเข้าใจต่อข้อบังคับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ พ.ศ.2559 ของนิสิตปริญญาโท มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน. บทความนำเสนอในงานประชุมวิชาการบัณฑิตศึกษาระดับชาติ ครั้งที่ 13 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 25 ธันวาคม 2561.

สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (2561). ระบบฐานข้อมูลวิจัยและงานสร้างสรรค์ มก. สืบค้นจาก www3.rdi.ku.ac.th/?p=1443.

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. (2555). จรรยาวิชาชีพวิจัยและแนวทางปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานราชบัณฑิตสภา. (2554). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554. สืบค้นจาก https://dictionary.orst.go.th/.

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (2559). การอบรมหลักสูตร “การลักลอกทางวิชาการในบริบทของการวิจัย (Plagiarism in Academic Research)”. สืบค้นจาก www.facebook.com/kulibpr/photos/a.979208008782096/979208112115419.

อภิสิทธิ์ คุณวรปัญญา และ คำรณ โชธนะโชติ. (2562). อิทธิพลของแรงจูงใจในการปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของผู้ปฏิบัติงานตำแหน่งประเภทสนับสนุน มหาวิทยาลัยมหิดล. วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ, 6(1), 300-333.

Haas, E., Eiter, B., Hoebbel, C., & Ryan, M. (2019). The Impact of Job, Site, and Industry Experience on Worker Health and Safety. Safety, 5(1), 16.

Issrani, R., Alduraywish, A., Prabhu, N., Alam, M., Basri, R., Aljohani, F., Alolait, M., Alghamdi, A., Alfawzan, M., & Alruwili, A. (2021). Knowledge and Attitude of Saudi Students towards Plagiarism—A Cross-Sectional Survey Study. International Journal of Environmental Research and Public Health, 18(23), 12303.

Krokoscz, M., & Ferreira, S. (2019). Perceptions of Graduate Students at the University of São Paulo about Plagiarism Practices in Academic Works. Anais da Academia Brasileira de Ciências, 91(2), e20180196.

Rodhiya, N., Wijayati, P., & Bukhori, H. (2020). Graduate Students’ Knowledge about Plagiarism in Academic Writing. Jurnal Pendidikan: Teori, Penelitian, dan Pengembangan, 5(2), 235-242.

Yi, N., Nemery, B., & Dierickx, K. (2020). Perceptions of plagiarism by biomedical researchers: an online survey in Europe and China. BMC Medical Ethics, 21, 44.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-11-14

How to Cite

ปัญญาพูนตระกูล ป., & โกวงศ์ ศ. (2023). ความรู้เกี่ยวกับการลักลอกวรรณกรรมของนักวิจัยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. สหวิทยาการและความยั่งยืนปริทรรศน์ไทย, 12(2), 91–99. https://doi.org/10.14456/tisr.2023.8