วิถีชีวิตแม่แรงงานข้ามชาติที่คลอดบุตรน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์

ผู้แต่ง

  • ศุภราภรณ์ ธรรมชาติ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ภัทรพรรณ ทำดี คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • อรนัดดา ชิณศรี คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

DOI:

https://doi.org/10.14456/jirgs.2023.17

คำสำคัญ:

เมียนมา, แม่แรงงานข้ามชาติ, ทารกแรกคลอดน้ำหนักน้อย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยคุณภาพ เพื่อศึกษาวิถีชีวิตแม่แรงงานข้ามชาติชาวเมียนมาที่มีบุตรแรกคลอดน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานและสร้างข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อลูกน้ำหนักดี สุขภาพดี โดยใช้กรอบแนวคิดสตรีนิยมสายสังคมนิยมระบบคู่ เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงระบบทุนนิยมและชายเป็นใหญ่ที่มีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตของแม่แรงงานข้ามชาติชาวเมียนมากลุ่มนี้ จำนวน 17 ราย ผลการศึกษาพบว่า 1) แม่มีภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์และมีภาวะ
ทุพโภชนาการ 2) มีการทำงานนอกบ้านเช่นเดียวกับสามีและต้องทำงานบ้าน ชั่วโมงการทำงานยาวนาน
3) เพศสัมพันธ์ที่ไม่สามารถต่อรองกับสามีทำให้เกิดความเครียด 4) การขัดเกลาทางสังคม พบว่า บทบาทเพศหญิงและชายแตกต่างกัน ผู้หญิงตั้งครรภ์ที่หยุดงานหรือทำงานนอกบ้านต้องรับบทบาทการเป็นแม่บ้าน ภรรยาและแม่เช่นเดิม ทำให้เหนื่อยล้าและพักผ่อนน้อย และ 5) ข้อจำกัดในการเข้าถึงสิทธิประโยชน์อันพึงได้ เนื่องจากการไม่รู้หนังสือไทย โดยมีข้อเสนอแนะในการวิจัย 1) การพัฒนาศักยภาพพระสงฆ์และกระตุ้นการมีส่วนร่วมของสามีในการดูแลมารดาตั้งครรภ์ 2) พัฒนาแม่อาสาเพื่อส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ และ 3) การปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2551 ข้อเสนอในการวิจัยครั้งต่อไป ควรศึกษาเปรียบเทียบแม่แรงงานข้ามชาติที่คลอดบุตรน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์กับแม่แรงงานข้ามชาติที่คลอดบุตรน้ำหนักปกติ

References

กรมอนามัย. (2565). คู่มือการฝากครรภ์สำหรับบุคลากรสาธารณสุข. นนทบุรี: กรมอนามัย.

กระทรวงสาธารณสุข. (2566). การวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูลจากระบบคลังข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพ (Health Data Center). นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.

กอแก้ว วงศ์พันธุ์. (2551). ผู้หญิงพม่าในบทบาท แม่ เมีย ลูกสาว แรงงานต่างด้าวและคนชายขอบในดินแดนไทย. สืบค้นจาก https://prachatai.com/journal/2008/01/15468/.

นาถฤดี เด่นดวง และ สุพจน์ เด่นดวง. (2555). การศึกษาเรื่องความรุนแรงในชีวิตของแรงงานหญิงข้ามชาติเมียนมาร์ในประเทศไทย (จังหวัดสมุทรสาคร ระนอง และตาก). กรุงเทพฯ: มูลนิธิรักษ์ไทย.

นารีรัตน์ เฟื่องชูชาติ. (2557). การติดเชื้อเอชไอวีเอดส์ในผู้หญิงที่แต่งงานแล้ว: แนวคิดสตรีนิยมสายสังคม. การค้นคว้าอิสระ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล.

ปัทมา กวนเมืองใต้. (2560). ทุนนิยมชายเป็นใหญ่กับประสบการณ์การจัดการความอ้วนของผู้หญิง. การค้นคว้าอิสระ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล.

ปิยะธิดา นาคะเกษียร และ ฤดี ปุงบางกะดี่. (2556). การศึกษาวิถีชีวิต ปัญหา และความต้องการด้านสุขภาพของแรงงานข้ามชาติ กลุ่มชาติพันธุ์มอญภายใต้บริบททางสังคมวัฒนธรรมของพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร. วารสารพยาบาลทหารบก, 14(3), 105-115.

มูลนิธิเพื่อสุขภาพและการเรียนรู้ของแรงงานกลุ่มชาติพันธุ์. (2560). ความฝันอันไม่อาจเอื้อมถึง: ค่าจ้างเพื่อชีวิตสำหรับ แรงงานข้ามชาติหญิงในประเทศไทย. สืบค้นจาก https://apwld.org/wp-content/uploads/2018/11/2018_BOOM-FPAR-MAP-Country-briefer-TH.pdf.

วันทนีย์ วาสิกะสิน. (2543). สังคมสงเคราะห์แนวสตรีนิยม ทฤษฎีและการปฏิบัติงาน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วารุณี ภูริสินสิทธิ์. (2545). สตรีศึกษา: ขบวนการและแนวคิดทางสังคมศตวรรษที่ 20. กรุงเทพฯ: โครงการจัดพิมพ์คบไฟ.

ศูนย์ข่าวข้ามพรมแดน. (2553). ห้ามเเท้ง ห้ามท้อง: สิทธิทางเพศกับนโยบายลักลั่นของไทย. สืบค้นจาก https://prachatai.com/journal/2010/12/32432.

สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์. (2563). เปิดข้อเท็จจริงแรงงานต่างด้าวในไทย: ตอนที่ 1 แรงงานทักษะต่ำ. สืบค้นจาก www.pier.or.th/abridged/2020/14/.

สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว. (2564). สถิติจำนวนคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตทำงานคงเหลือทั่วราชอาณาจักร ประจำเดือนธันวาคม 2564. กรุงเทพฯ: สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว.

อภิชาติ จำรัสฤทธิรงค์. (2553). การสำรวจข้อมูลพื้นฐาน โครงการส่งเสริมการป้องกันเอดส์ในแรงงานข้ามชาติ ประเทศไทย (โครงการฟ้ามิตร-2) ปี พ.ศ.2553. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

Dannecker, P. (2005). Changing gender roles: Bangladeshi male migrant workers in Malaysia. Asian Journal of Social Science, 33(2), 246-267.

Mitchell, J. (1984). Women: The Longest Revolution: Essays on Feminism, Literature and Psychoanalysis. London: Virago Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-10

How to Cite

THAMMACHART, S., ทำดี ภ., & ชิณศรี อ. (2023). วิถีชีวิตแม่แรงงานข้ามชาติที่คลอดบุตรน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์. สหวิทยาการและความยั่งยืนปริทรรศน์ไทย, 12(1), 198–207. https://doi.org/10.14456/jirgs.2023.17