ประสิทธิผลการให้บริการประชาชนภายใต้แนวคิดรัฐบาลดิจิทัล
DOI:
https://doi.org/10.14456/tisr.2023.20คำสำคัญ:
รัฐบาลดิจิทัล, การให้บริการภาครัฐแนวใหม่, ความมีประสิทธิผลการให้บริการภาครัฐบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินงานและประสิทธิผลของการให้บริการดิจิทัล ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการให้บริการดิจิทัล และค้นหาปัญหาอุปสรรคและแนวทางในการพัฒนาการให้บริการดิจิทัลแก่ประชาชน โดยมุ่งศึกษางานบริการภายใต้แนวคิดรัฐบาลดิจิทัลของฝ่ายทะเบียนสำนักงานเขต กรุงเทพมหานคร ใช้วิธีการวิจัยแบบผสม โดยเชิงปริมาณได้รวบรวมแบบสอบถาม 400 ชุด เชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 14 คน และนำข้อมูลทั้ง 2 ส่วนมาวิเคราะห์ร่วมกัน ผลวิจัยพบว่า ระดับการดำเนินงานให้บริการและประสิทธิผลของการให้บริการดิจิทัลในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเฉพาะด้านโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลมีความพร้อมและพอเพียงแต่มีความท้าทายในการใช้งานให้เกิดประสิทธิภาพ ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการให้บริการดิจิทัล ได้แก่ ปัจจัยการให้บริการดิจิทัลและบุคลากรดิจิทัล ทั้งนี้ปัจจัยด้านการกำหนดนโยบายและด้านโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลแม้ไม่มีนัยยะทางสถิติแต่ก็เป็นปัจจัยที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการให้บริการดิจิทัล ปัญหาอุปสรรคและแนวทางแก้ไขที่สำคัญ ได้แก่ การกำหนดนโยบายขาดการมีส่วนร่วมจากภาคประชาชนและผู้ปฏิบัติงาน ปัญหาขาดการบูรณาการฐานข้อมูลภาครัฐทำให้มีข้อจำกัดในการให้บริการ บุคลากรดิจิทัลยังขาดแคลนทั้งปริมาณและขาดทักษะความเชี่ยวชาญซึ่งควรวางแผนปรับอัตรากำลังและพัฒนาทรัพยากรบุคคลด้านดิจิทัล และประชาชนขาดความสนใจสื่อของรัฐซึ่งต้องปรับปรุงทั้งลักษณะเนื้อหาและช่องทางในการนำเสนอ
References
ศิรินันท์ ทิพย์เจริญ. (2555). ธรรมาภิบาลกับการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทย. วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา, 1(2), 97-103.
สำนักงานปกครองและทะเบียน. (2562). สถิติการให้บริการสำนักงานปลัด กรุงเทพมหานคร. สืบค้นจาก www.bangkok.go.th/main/page.php?499.
สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน). (2562). ผลการสำรวจระดับความพร้อมรัฐบาลดิจิทัลหน่วยงานภาครัฐของประเทศไทยประจำปี 2562. กรุงเทพฯ: สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน).
สำนักบริหารการทะเบียน. (2563). จำนวนประชากรกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2562. สืบค้นจาก https://stat.bora.dopa.go.th/new_stat/webPage/statByYear.php.
Berman, E., & Rabin, J. (2007). Encyclopedia of Public Administration and Public Policy. 2nd ed. New York: Routledge.
Denhardt, R., & Catlaw, T. (2014). Theories of Public Organization. 7th ed. Massachusetts: Cengage Learning.
Drechsler, W. (2022). Digital Governance: Lesson from Estonia. Retrieved from www.facebook.com/MDGNIDA/photos/a.111242021262153/159911293061892/.
Ferlie, E., Lynn, L., & Pollitt, C. (2007). The Oxford Handbook of Public Management. Oxford: Oxford University Press.
Ghazaleh, M., & Ahmad, S. (2018). Ajman Digital Government: the way forward to digest digitalization. Emerald Emerging Markets Case Studies, 8(2), 1-20.
International Academy of CIO. (2018). Waseda-IAC World Digital Government Rankings. Retrieved from https://iacio.org/wasada-iac-world-e-government-ranking/.
Jenster, P. (2005). Outsourcing-insourcing: can vendors make money from the new relationship opportunities?. New Jersey: John Wiley & Sons, Inc.
Karniawati, N., Redjo, S., Suwaryo, U., & Mulyawan, R. (2017). e-Government in Public Service: Studies on Tangibles Aspects in Licensing Services at Penanaman Modal dan Pelayanan Terpadu Satu Pintu Office, West Java, Indonesia. Asian Political Science Review, 1(1), 56-64.
Kettl, D. (1997). The Global Revolution in Public Management: Driving Themes. Journal of Policy Analysis and Management, 16(3), 446-462.
Kickert, W., Klijn, E., & Koppenjan, J. (1997). Managing Complex Networks: Strategies for the Public Sector. New York: SAGE Publications Ltd.
Melitski, J., Carrizales, T., Manoharan, A., & Holzer, M. (2011). Digital governance success factors and barriers to success in prague. International Journal of Organization Theory & Behavior, 14(4), 451-472.
Organisation for Economic Co-operation and Development. (2014). Recommendation of the Council on Digital Government Strategies. Retrieved from www.oecd.org/gov/digital-government/Recommendation-digital-government-strategies.pdf.
Shafritz, J., Ott, J., & Jang, Y. (2010). Classics of Organization Theory. 7th ed. Massachusetts: Cengage Learning.
Sriram, N., Misomnai, C., Metasuttirat, J., & Rajphaetyakhom, C. (2019). A Comparative Analysis of New Public Management New Public Service and New Public Governance. Asian Political Science Review, 3(2), 32-39.
United Nations. (2010). e-Government Survey Findings and Methodology. New York: United Nations.
United Nations. (2018). e-Government Survey 2018. Retrieved from https://egov.unu.edu/news/news/un-egov-survey-2018.html.
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rd ed. New York: Harper and Row.
Yildiz, M. (2003). Peeking into the Black Box of E-Government Policy-Making: Evidence from Turkey. A paper presented at the 7th National Public Management Research Conference, Georgetown University, USA.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 Authors
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.