ขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของกำลังพล กรมยุทธศึกษาทหารเรือ

ผู้แต่ง

  • มณิภา ชูตระกูล คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ศรีรัฐ โกวงศ์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

DOI:

https://doi.org/10.14456/jirgs.2023.8

คำสำคัญ:

ขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของกำลังพล, แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน, กรมยุทธศึกษาทหารเรือ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของกำลังพล กรมยุทธศึกษาทหารเรือ 2) เพื่อเปรียบเทียบขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของกำลังพล กรมยุทธศึกษาทหารเรือ ตามปัจจัยส่วนบุคคล 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านแรงจูงใจในการปฏิบัติงานกับขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของกำลังพล กรมยุทธศึกษาทหารเรือ กลุ่มตัวอย่างการวิจัย คือ กำลังพล กรมยุทธศึกษาทหารเรือ จำนวน 305 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test One-Way ANOVA LSD และค่าสัมประสิทธิ์สหพันธ์ของเพียร์สัน โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีระดับขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานโดยรวมอยู่ระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.28, S.D. = .50) ผลการทดสอบสมมติฐาน กลุ่มตัวอย่างที่มีเพศ แตกต่างกัน มีขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานแตกต่างกัน ส่วนกำลังพล กรมยุทธศึกษาทหารเรือ ที่มีอายุ ระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือน และอายุราชการ แตกต่างมีขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน ไม่แตกต่างกัน ทั้งนี้ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านแรงจูงใจในการปฏิบัติงานมีความสัมพันธ์กับขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานในทิศทางตามกันมาก (r = .753)

References

กรมยุทธศึกษาทหารเรือ. (ม.ป.ป.ก). ประวัติ วิสัยทัศน์ พันธกิจ ภารกิจ. สืบค้นจาก www.navedu.navy.mi.th/aboutedu/chiefedu/visaithatedu.html.

กรมยุทธศึกษาทหารเรือ. (ม.ป.ป.ข). สถานภาพกำลังพล. สืบค้นจาก www.navedu.navy.mi.th/personal_edu/index.html.

กุลกานต์ ขลิบเงิน. (2563). แรงจูงใจที่มีผลต่อขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของกำลังพล ศูนย์รักษาความปลอดภัย กองบัญชาการกองทัพไทย. การค้นคว้าอิสระ รัฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ชิต ศรีไชย. (2562). ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจสังกัดกองบังคับการสีบสวนสอบสวน กองบัญชาการตำรวจนครบาล. การค้นคว้าอิสระ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ถิระวัฒน์ เมืองโคตร และ สุพัตรา จุณณะปิยะ. (2557). ขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของพนักงานเงินรายได้ สังกัดมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน. วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา, 3(2), 129-141.

ประกิจ ชอบรู้ และ จุลดิศ คัญทัญ. (2562). การศึกษาขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของครูและบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร. วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ, 7(28), 166-174.

วิภาดา นาทันคิด, อรพิน ปิยะสกุลเกียรติ และ วิชัย โถสุวรรณจินดา. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการ สำนักเขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร. วารสารมหาจุฬาคชสาร, 11(2), 128-140.

วิมลรัตน์ ไชยศรี และ ราเชนทร์ นพณัฐวงศกร. (2565). ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงาน เขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 22(2), 153-164.

ศรันย์ภัทร์ หลายชั้น. (2562). ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจ สังกัดกองกำกับการ 1 กองบังคับการฝึกพิเศษ จังหวัดเพชรบุรี. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 4(2), 15-30.

Herzberg, F., Mausner, B., & Snyderman, B. (1959). The Motivation to Work. 2nd ed. New Jersey: John Wiley.

Kincentric. (2020). 2020 Trends in Global Employee Engagement. Retrieved from www.kincentric.com/insights/2020-trends-in-global-employee-engagement.

Schaufeli, W., Salanova, M., González-romá, V., & Bakker, A. (2002). The Measurement of Engagement and Burnout: A Two Sample Confirmatory Factor Analytic Approach. Journal of Happiness Studies, 3, 71-92.

Steers, R. (1991). Introduction to Organizational Behavior. 4th ed. New York: Harper Collins Publishers.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-07-17

How to Cite

Chootakul, M., & โกวงศ์ ศ. (2023). ขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของกำลังพล กรมยุทธศึกษาทหารเรือ. สหวิทยาการและความยั่งยืนปริทรรศน์ไทย, 12(1), 88–98. https://doi.org/10.14456/jirgs.2023.8