ความต้องการในการพัฒนาตนเองของบุคลากรกรมศิลปากร

ผู้แต่ง

  • พลอยณพรรษ คำมาก คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ศรีรัฐ โกวงศ์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

DOI:

https://doi.org/10.14456/jirgs.2023.9

คำสำคัญ:

การพัฒนาตนเอง, แรงจูงใจ, ความพึงพอใจ, กรมศิลปากร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาระดับความต้องการในการพัฒนาตนเองของบุคลากรกรมศิลปากร (2) เพื่อเปรียบเทียบความต้องการในการพัฒนาตนเองของบุคลากรกรมศิลปากรจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล (3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านแรงจูงใจในการทำงานกับความต้องการในการพัฒนาตนเองของบุคลากรกรมศิลปากร และ(4) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านความพึงพอใจในการทำงานกับความต้องการในการพัฒนาตนเองของบุคลากรกรมศิลปากร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ บุคลากรกรมศิลปากร จำนวน 305 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม โดยใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test, One Way ANOVA, การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยรายคู่ด้วยวิธี LSD และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยพบว่า บุคลากรกรมศิลปากรมีความต้องการในการพัฒนาตนเองในระดับมาก มีแรงจูงใจในการทำงานในระดับมาก และมีความพึงพอใจในการทำงาน ในระดับมาก ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกันได้แก่ อายุ กลุ่มตำแหน่งงาน อายุงาน และเงินเดือน แตกต่างกันมีความต้องการในการพัฒนาตนเองแตกต่างกัน ปัจจัยด้านแรงจูงใจในการทำงานมีความสัมพันธ์กับความต้องการในการพัฒนาตนเองของบุคลากรกรมศิลปากรทางบวกระดับปานกลาง นอกจากนี้ปัจจัยด้านความพึงพอใจในการทำงานมีความสัมพันธ์กับความต้องการในการพัฒนาตนเองของบุคลากรกรมศิลปากรทางบวกระดับปานกลาง

References

จตุพร ศรีสองเมือง. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาตนเองของพนักงานออมสิน สาขาในเขตอำเภอเมืองเชียงใหม่. การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

จิราธร โหมดสุวรรณ และ จันทนา แสนสุข. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความต้องการพัฒนาตนเองและความสามารถในการเผชิญฝ่าฟันอุปสรรคของบุคลากรครูศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) กลุ่มลุ่มน้ำเจ้าพระยา. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 10(3), 270-285.

บัวงาม กลิ่นหอม. (2561). แรงจูงใจในการพัฒนาตนเองของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี, 1(1), 49-57.

ปริฉัตร สระทองฮ่วม. (2559). การพัฒนาตนเองของพนักงานสายสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัยศิลปากร. วารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, 4(1), 84-96.

พรชลิศา ยะจะนะ. (2564). การศึกษาความต้องการในการพัฒนาตนเองของบุคลากรสายวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 7(9), 287-302.

พรพรรณ พูวัฒนาธนสิน. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาตนเองในการทำงานของข้าราชการ กองบัญชาการกองทัพไทย พื้นที่แจ้งวัฒนะ. วารสารสมาคมนักวิจัย, 24(3), 290-305.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2540). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ ประสานมิตร.

วรารัตน์ ชูทอง. (2561). ปัจจัยต่อการพัฒนาศักยภาพข้าราชการศาลยุติธรรมในเขตอำนาจศาลท้องที่จังหวัด นครศรีธรรมราช. การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

วิรัตน์ ช่วยเมือง และ เสาวนารถ เล็กเลอสินธุ์. (2563). ความต้องการพัฒนาตนเองของบุคลากรเรือนจำกลางบางขวาง อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 5(3), 206-217.

สมภพ ห่วงทอง และ สุทธิศักดิ์ สุริรักษ์. (2564). ความต้องการพัฒนาตนเองด้านปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุนปฏิบัติการโรงพยาบาลบ้านคา จังหวัดราชบุรี. วารสารศาสตร์สาธารณสุขและนวัตกรรม, 1(1), 51-64.

สมภูมิ กลิ่นอุบล. (2562). ความต้องการการพัฒนาตนเองของบุคลากรที่ปฏิบัติงานในกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ศึกษาเฉพาะกรณีจังหวัดพะเยา. วารสารวิชาการสิรินธรปริทรรศน์, 20(2), 54-65.

อรรณพ นุติพาณิชย์. (2564). แรงจูงใจในการพัฒนาตนเองในการปฏิบัติงานของบุคลากรกรมส่งเสริมสหกรณ์ (ส่วนกลาง). การค้นคว้าอิสระ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตและบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

Boydell, T. (1985). Management self-development: a guide for managers, organisations and institutions. Geneva: International Labour Organisation.

Herzberg, F., Mausner, B., & Snyderman, B. (1959). The Motivation to Work. New York: John Willey & Sons.

McClelland, D. (1961). The Achieving Society. New Jersey: Van Nostrand.

Siffin, W. (1966). The Thai Bureaucracy: Institutional change and development. Hawaii: East-West Center Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-07-17

How to Cite

Kummag, P., & โกวงศ์ ศ. (2023). ความต้องการในการพัฒนาตนเองของบุคลากรกรมศิลปากร. สหวิทยาการและความยั่งยืนปริทรรศน์ไทย, 12(1), 99–110. https://doi.org/10.14456/jirgs.2023.9