การส่งเสริมจิตสำนึกร่วมและจิตสาธารณะของนักศึกษา ผ่านโครงการกิจกรรมเพื่อสังคมแบบมีส่วนร่วม

ผู้แต่ง

  • ภีราวิชญ์ ชัยมาลา คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย
  • สิริโฉม พิเชษฐบุญเกียรติ คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย

DOI:

https://doi.org/10.14456/tisr.2023.7

คำสำคัญ:

จิตสำนึกร่วม, จิตสาธารณะ, กิจกรรมเพื่อสังคม, การมีส่วนร่วม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อศึกษา 1) การส่งเสริมการมีจิตสำนึกร่วมและจิตสาธารณะของนักศึกษาผ่านกิจกรรมเพื่อสังคมแบบมีส่วนร่วม 2) รูปแบบมีส่วนร่วมในการพัฒนากิจกรรมเพื่อสังคม 3) ปัจจัยความสำเร็จของการปลุกจิตสำนึกร่วมและจิตสาธารณะ และ 4) ความพึงพอใจที่มีต่อกิจกรรมเพื่อสังคม ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาศิลปะการใช้ชีวิตและวิชาการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคม ปีการศึกษา 2565 ผลการศึกษาพบว่า 1) การส่งเสริมการมีจิตสำนึกร่วมและจิตสาธารณะของนักศึกษา ต้องกลไกการส่งเสริมและกระตุ้นให้นักศึกษาให้เกิดจิตสำนึกร่วมและจิตสาธารณะเพื่อผลประโยชน์ต่อส่วนรวมด้วยการเรียนรู้ทางสังคมแบบมีส่วนร่วม 2) รูปแบบกระบวนการมีส่วนร่วมในการพัฒนากิจกรรม พบว่า ทุกภาคส่วนต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนากิจกรรมเพื่อสังคม 3) ปัจจัยความสำเร็จของการปลุกจิตสำนึกร่วมและจิตสาธารณะ มี 4 ตัวชี้วัดหลัก คือ การมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน ความเข้มแข็งของผู้นำ การทำงานเป็นทีม และเครือข่ายวิชาการ สำหรับ 4) ความพึงพอใจที่มีต่อกิจกรรมเพื่อสังคมอยู่ในระดับมากที่สุด

References

กรรณิกา มาโน. (2553). ความหมายของชีวิตกับจิตอาสา. การค้นคว้าอิสระ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

กองการศึกษาเชียงราย. (2565). รายงานสถิติจำนวนนักศึกษา ประจำปี 2565. เชียงราย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย.

โกวิทย์ พวงงาม. (2550). การปกครองส่วนท้องถิ่นว่าด้วยแนวคิด ทฤษฎีและหลักการ. กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท.

เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง. (2526). การบริหารงานพัฒนาชนบท การระดมประชาชนเพื่อการพัฒนาชนบท. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

ชุติมา จันทรมณี, ชูพักตร์ สุทธิสา และ อินทิรา ซาฮีร์. (2555). การเสริมสร้างศักยภาพเด็กและเยาวชนโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนในพื้นที่กึ่งเมืองกึ่งชนบท: กรณีศึกษาบ้านด้ามพร้า ตำบลขามใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 8(1), 217-236.

ทานตะวัน อินทร์จันทร์. (2546). การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการชุมชนในการพัฒนาชุมชนย่อยในเขตเทศบาลเมืองลำพูน. การค้นคว้าอิสระ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ธิดาชนก วงศ์พิทักษ์. (2556). ปัจจัยจิตสังคมที่ส่งผลต่อพฤติกรรมจิตอาสาของนิสิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. การค้นคว้าอิสระ การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ธีราพร ทองปัญญา, วีรฉัตร์ สุปัญโญ, ประสงค์ ตันพิชัย และ สันติ ศรีสวนแตง. (2558). จิตสำนึกต่อการพัฒนาชุมชนของเยาวชน: กรณีศึกษากลุ่มเยาวชนอาสาสมัครพัฒนาชุมชนห้วยหมอนทอง. วารสารเกษตรศาสตร์ (สังคม), 36, 483-497.

บุษราภรณ์ ติเยาว์. (2561). ขบวนการจิตอาสา: การขัดเกลาทางสังคมกับการพัฒนาตนของเยาวชนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. การค้นคว้าอิสระ พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ปิยะนาถ สรวิสูตร. (2552). แรงจูงใจของผู้นำเยาวชนที่มีจิตอาสาในการทำกิจกรรมเพื่อสังคม: กรณีศึกษา สภาเยาวชนกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระ สังคมสงเคราะห์ศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ไพศาล วิสาโล. (2550). ศาสตร์และศิลป์แห่งการจัดการความดี กรณีศึกษามูลนิธิพุทธฉือจี้. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

ยุวดี อิ่มใจ, วิวัฒน์พงศ์ เจริญนิธิปัญญา, วัฒนชัย จันทร์วีนุกูล, ณรงค์ศักดิ์ บุณยมาลิก, สมภพ อุณหชาติ, ใกล้รุ่ง กลั่นคันฑา, อัจฉรา บัวสุวรรณ, ชมพูนุช นิยมแย้ม และ วรัท พฤกษากุลนันท์. (2552). การศึกษายุทธศาสตร์การพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีจิตสำนึกต่อสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.

วัฒนา วณิชชานนท์, ศิริพร พันธุลี, บรรจง ยัพวัฒนา, พีระพัฒน์ ธีระวรรธนะสิริ, ฉัตรพิมล พอสม, นิคม ทิมา, เสริม เขื่อนสุข และ ดาวรุ่ง เหมะสิขัณฑกะ. (2553). การเสริมสร้างความเข้มแข็งของเทศบาลแม่หล่าย อย่างมีส่วนร่วมเพื่อปลูกฝังจิตสำนึกและพฤติกรรมของเยาวชนและประชาชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพฯ:สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ.

เวธกา กลิ่นวิชิต, พิสิษฐ์ พิริยาพรรณ, สุริยา โปร่งน้ำใจ, พวงทอง อินใจ, สรร กลิ่นวิชิต และ คนึงนิจ อุสิมาศ. (2557). รูปแบบการจัดการอาชีวอนามัยโดยการสร้างความมีส่วนร่วม ของโรงงานอุตสาหกรรมในเขตนิคมอุตสาหกรรมภาคตะวันออก. วารสารบูรพาเวชสาร, 1(1), 3-16.

ศิริวรรณ ทวีวัฒนปรีชา. (2549). การเห็นคุณค่าในตนเอง และความสัมพันธ์ระหว่างการเห็นคุณค่าในตนเองกับการปรับตัวในสังคมของนิสิต คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. การค้นคว้าอิสระ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-11-14

How to Cite

Chaimala, P., & พิเชษฐบุญเกียรติ ส. (2023). การส่งเสริมจิตสำนึกร่วมและจิตสาธารณะของนักศึกษา ผ่านโครงการกิจกรรมเพื่อสังคมแบบมีส่วนร่วม. สหวิทยาการและความยั่งยืนปริทรรศน์ไทย, 12(2), 77–90. https://doi.org/10.14456/tisr.2023.7