กระบวนการทางความหมายของคำประสมแบบนาม-นามในภาษาไทย ที่เป็นคำประสมแบบออกศูนย์

ผู้แต่ง

  • วรลักษณ์ วีระยุทธ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • นันทนา วงษ์ไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

DOI:

https://doi.org/10.14456/jirgs.2023.14

คำสำคัญ:

คำประสมแบบนาม-นาม, อุปลักษณ์, นามนัย

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์โครงสร้างทางความหมายและกระบวนการทางความหมายของคำประสม แบบนาม-นามในภาษาไทยที่เป็นคำประสมแบบออกศูนย์ โดยใช้ทฤษฎีอุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์และทฤษฎีนามนัย เชิงมโนทัศน์ ข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยมาจากคำประสมแบบนาม-นาม ในภาษาไทย จำนวน 1,919 คำ จากแหล่งข้อมูล 2 แหล่ง ได้แก่ 1) พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 และ 2) หนังสือคลังคำ พ.ศ.2559 (ฉบับปรับปรุง) ผลการวิจัยพบว่าคำประสมแบบนาม-นาม ในภาษาไทยที่เป็นคำประสมแบบออกศูนย์มีจำนวนทั้งสิ้น 406 คำ และโครงสร้างทางความหมายของคำประสมแบ่งได้เป็น 4 ประเภท ได้แก่ 1) คำประสมแบบออกศูนย์ที่มีส่วนหลัก และส่วนขยายเป็น
อุปลักษณ์ 2) คำประสมแบบออกศูนย์ที่มีส่วนหลักเป็นอุปลักษณ์และส่วนขยายเป็นนามนัย 3) คำประสมแบบออกศูนย์ที่มีส่วนหลักและส่วนขยายเป็นนามนัย และ 4) คำประสมแบบออกศูนย์ที่มีส่วนหลัก เป็นนามนัยและส่วนขยายเป็น
อุปลักษณ์ ผลการวิเคราะห์ความหมายของคำประสมแบบออกศูนย์ พบว่า ความหมายของคำประสมเป็นความหมายในเชิงเปรียบเทียบ กระบวนการทางความหมาย ได้แก่ ความหมายแบบอุปลักษณ์ และความหมายแบบนามนัย ผลการวิจัยสะท้อนให้เห็นว่าผู้ใช้ภาษาไทยมีระบบความคิดที่เป็นอุปลักษณ์และนามนัย

References

นววรรณ พันธ์เมธา. (2559). คลังคำ. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

นันทนา วงษ์ไทย. (2562). อรรถศาสตร์ปริชานเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: เวิร์คออลพริ๊นท์ จำกัด.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.

อัญชลี สิงห์น้อย. (2548). คำนามประสม: ศาสตร์และศิลป์ในการสร้างคำไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Benczes, R. (2006). Creative Compounding in English. Amsterdam: John Benjamins Publishing.

Benczes, R. (2011). Blending and creativity in metaphorical compounds: A diachronic investigation. In H. Schmid & S. Handl. (eds.). Windows to the Mind: Metaphor, Metonymy and Conceptual Blending (pp. 247-268). Berlin: De Gruyter.

Bloomfield, L. (1993). Language. Illinois: The University of Chicago Press.

Kövecses, Z., & Radden, G. (1990). Metonymy: developing a cognitive linguistic view. In D. Divjak. (ed.). Cognitive Linguistics (pp. 37-77). Berlin: De Gruyter.

Lakoff, G., & Johnson, M. (1980). Metaphors We Live By. Illinois: The University of Chicago Press.

Wongwattana, U. (2018). Syntactic Word-Compounding in Tai Khrang. Manusya: Journal of Humanities, 21(1), 106-121.

Yao Siqi. (2559). คำประสมกับคำนามที่มีคำว่า /ɕin/ (ใจ) ในภาษาจีน: การศึกษาตามแนวภาษาศาสตร์ปริชาน. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย, 36(2), 1-36.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-09

How to Cite

Weerayuth, W., & วงษ์ไทย น. (2023). กระบวนการทางความหมายของคำประสมแบบนาม-นามในภาษาไทย ที่เป็นคำประสมแบบออกศูนย์. สหวิทยาการและความยั่งยืนปริทรรศน์ไทย, 12(1), 166–175. https://doi.org/10.14456/jirgs.2023.14