ผลกระทบและปัจจัยทางประชากรศาสตร์ที่สัมพันธ์กันของการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในเขตเทศบาลตำบลบางสวรรค์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
DOI:
https://doi.org/10.14456/jirgs.2023.6คำสำคัญ:
ผลกระทบ, ปัจจัยทางประชากรศาสตร์, การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019, สุราษฎร์ธานีบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยทางประชากรศาสตร์ที่มีอิทธิพลต่อผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กลุ่มตัวอย่างจำนวน 350 ครัวเรือน เก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในระดับน้อยที่สุดและมีผลกระทบมากที่สุดในด้านการศึกษา รองลงมาคือด้านสุขภาพจิต ด้านเศรษฐกิจ ด้านมาตรการ/ข้อกำหนดของภาครัฐ และด้านการเดินทาง ตามลำดับ และปัจจัยทางประชากรศาสตร์ทั้ง 9 ตัวแปรมีผลต่อผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยสามารถอธิบายความผันแปรในการส่งผลกระทบได้ร้อยละ 34.50 (R2 = 0.345) โดยด้านที่ส่งผลมากที่สุดคืออาชีพปัจจุบัน รองลงมาคือค่าใช้จ่ายเฉลี่ยของครัวเรือนต่อเดือนก่อนการระบาดของโรคโควิด-19 และน้อยที่สุดคือจำนวนสมาชิกในครัวเรือน ผลกระทบจากโรคระบาดส่งผลต่อกระทบเป็นวงกว้าง ดังนั้นการให้ความช่วยเหลือทั้งทางการการรักษาและเยียวยาค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นในสภาวการณ์ที่ไม่สงบเช่นนี้จะช่วยบรรเทาความเดือนร้อนและทำให้ประชาชนมีกำลังใจในการดำรงชีวิตต่อไป
References
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2564). เกษตรฯ แถลง ส่งออกสินค้าเกษตรไทย 6 เดือน พุ่ง 716,581 ล้านบาท ขณะที่โควิด-19 กระทบเศรษฐกิจ ในส่วนของการบริโภคสินค้าเกษตร 5 เดือนเสียหาย 13,895 ล้านบาท. สืบค้นจาก www.oae.go.th/view/1/รายละเอียดข่าว/ข่าว%20สศก./37099/TH-TH#.
กองบรรณาธิการ The Active. (2563). เปิดผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมของโควิด-19 ต่อครัวเรือนเกษตรกรรายย่อยในชุมชนเกษตรกรรม. สืบค้นจาก https://theactive.net/data/public-forum-20200623/.
คณะกรรมการสุขภาพแห่งมณฑลหยุนหนาน. (2563). คู่มือป้องกันโรคโควิด-19. นครคุนหมิง: สำนักพิมพ์หยุนหนาน กรุ๊ป.
ชูศักดิ์ จรูญสวัสดิ์. (2563). การวิเคราะห์ข้อมูลและการใช้สถิติในงานวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 2. ปทุมธานี: คิสุกะ.
โณธิตา หวานชื่น, วรุตม์ นาฑี และ ศุภรัตน์ พิณสุวรรณ. (2564). ผลกระทบโควิด 19 และการปรับตัวของผู้ประกอบการค้าขายในตลาดเก็นติ้ง บริเวณพื้นที่ชายแดน ตำบลสุไหงโก-ลก อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส. บทความนำเสนอในงานประชุมวิชาการระดับชาติด้านภูมิศาสตร์และภูมิสารสนเทศศาสตร์มหาวิทยาลัยในภาคใต้ ครั้งที่ 1 มหาวิทยาลัยทักษิณ, 17 พฤศจิกายน 2564.
ที่ว่าการอำเภอพระแสง. (2564). ข้อมูลทะเบียนราษฎร์อำเภอพระแสง. สุราษฎร์ธานี: ที่ว่าการอำเภอพระแสง.
พงษ์มนัส ดีอด. (2563). ผลกระทบของการแพร่ระบาดโรคไวรัสโคโรนา 2019 ต่อการประกอบอาชีพบริการจัดส่งอาหาร. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(6), 131-144.
รัฐบาลไทย. (2565). สธ. เผย ผู้ป่วย “โควิด” เพิ่มขึ้น 12.8% กำชับทุกจังหวัดเร่งฉีดวัคซีนเชิงรุกถึงหมู่บ้าน และเตรียมความพร้อมเวชภัณฑ์ ยาและ LAAB. สืบค้นจาก www.thaigov.go.th/news/contents/details/61626.
สุพัตรา รุ่งรัตน์, ซูลฟีกอร์ มาโซ และ ยุทธนา กาเด็ม. (2564). ผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมจากสถานการณ์โควิด-19 ของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองยะลาจังหวัดยะลา. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(2), 160-174.
สุรัยยา หมานมานะ, โสภณ เอี่ยมศิริถาวร และ สุมนมาลย์ อุทยมกุล. (2563). โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). วารสารสถาบันบำราศนราดูร, 14(2), 124-133.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุราษฎร์ธานี. (2564). รายงานข่าวกรณีติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี. สุราษฎร์ธานี: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุราษฎร์ธานี.
องค์การบริหารส่วนตำบลบางสวรรค์. (2563). มาตรการป้องกันโรคระบาด COVID-19. สุราษฎร์ธานี: องค์การบริหารส่วนตำบลบางสวรรค์.
Krejcie, R., & Morgan, D. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
World Health Organization. (2020). Coronavirus (Thailand). Retrieved from www.who.int/thailand/health-topics/coronavirus.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 Authors
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.