การเพิ่มมูลค่าธุรกิจปลานิลของกลุ่มเกษตรกรในจังหวัดนครปฐม ตลอดห่วงโซ่คุณค่า

ผู้แต่ง

  • ภัธรภร ปุยสุวรรณ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
  • ธีรเดช ทิวถนอม คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

DOI:

https://doi.org/10.14456/jirgs.2023.13

คำสำคัญ:

ห่วงโซ่คุณค่า, ธุรกิจปลานิล, เกษตรกรในจังหวัดนครปฐม

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระบบการเพิ่มมูลค่าธุรกิจปลานิลของกลุ่มเกษตรกรในจังหวัดนครปฐมตลอดห่วงโซ่คุณค่า รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี กลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มผู้บริโภคผู้ต้องการซื้อผลิตภัณฑ์ปลานิลสด จำนวน 400 คน กลุ่มเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงปลานิลในจังหวัดนครปฐม จำนวน 25 คน และ กลุ่มผู้เกี่ยวข้องพันธมิตรภาคธุรกิจและภาครัฐ จำนวน 12 คน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผู้วิจัยได้เปิดเวทีเสวนาผู้เกี่ยวข้องโดยใช้ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างและแบบสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการวิจัย พบว่า 1) ผู้บริโภคผลิตภัณฑ์ปลานิลสดให้ความสำคัญกับปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์มากที่สุด รองลงมาคือ การส่งเสริมการตลาด การจัดจำหน่าย และราคา
2) ศักยภาพด้านกำลังการผลิตผลิตภัณฑ์จากปลานิลสดของกลุ่มเกษตรกรในจังหวัดนครปฐม ยังใช้ไม่เต็มศักยภาพ เนื่องจากกระบวนการดังกล่าวใช้การจัดจำหน่ายปลานิลสดทั้งหมดผ่านคนกลาง 3) กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรแสงทองเพาะพันธุ์ปลา ได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ปลานิลที่มีคุณภาพปลอดกลิ่นโคลน ประกอบด้วย ผลิตภัณฑ์ปลานิลสดพร้อมรับประทาน ปลานิลสดไร้ก้าง และก้างปลาภายใต้แบรนด์ “นิลคำ” 4) การพัฒนาแนวทางแนวทางด้านช่องทางการตลาดและการเพิ่มมูลค่าธุรกิจปลานิลของกลุ่มเกษตรกรในจังหวัดนครปฐมตลอดห่วงโซ่คุณค่าทำได้ทั้งช่องทางการตลาดแบบออนไลน์และออฟไลน์ร่วมกับเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง

References

กนกพัชร กอประเสริฐ, พงศ์สฏา เฉลิมกลิ่น, ณัฐพศุตม์ ภัทธิราสินสิริ และ ฉัตรรัตน์ โหรตระไวศยะ. (2561). การพัฒนาระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับห่วงโซ่คุณค่าผักปลอดภัยในจังหวัดนครปฐม. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี, 23(3), 111-122.

กรธวัฒน์ สกลคฤหเดช และ สุมนา จันทราช. (2562). การเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันจากการสร้างพันธมิตรทางธุรกิจของธุรกิจการกีฬาในประเทศไทย. วารสารวิทยาลัยพาณิชยศาสตร์บูรพาปริทัศน์, 14(1), 90-103.

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ. (2564). ปลานิลและผลิตภัณฑ์. สืบค้นจาก https://api.dtn.go.th/files/v3/614af620ef4140fe44141855/download.

กรมประมง. (2563). รายงานสถานการณ์สินค้าปลานิล. สืบค้นจาก www.fisheries.go.th/strategy/fisheconomic/pages/fish%20tilapia.html.

กรมประมง. (2564). รายงานสถานการณ์แนวโน้มตลาดปลานิลของประเทศจีน. สืบค้นจาก www.fisheries.go.th/strategy-tradestat/images/FisheriesInterTrade/Consumtion/comsum50-64v2.pdf.

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2564). รายงานสถานการณ์แนวโน้มตลาดปลานิลของประเทศจีนปี 2559-2564. สืบค้นจาก www.opsmoac.go.th/shanghai-situation_price-files-441691791820#:~:text=จากข้อมูลของศูนย์วิจัยประมง,จีนได้สร้างห่วงโซ่.

เกวลิน หนูฤทธิ์. (2563). สถานการณ์การผลิตและการค้าปลานิลและผลิตภัณฑ์ในปี 2563 และแนวโน้มปี 2564. สืบค้นจาก www.fisheries.go.th/strategy/fisheconomic/Monthly%20report/tilapia/ปลานิล%20ไตรมาส%204%2063.pdf.

เกวลิน หนูฤทธิ์. (2564). สถานการณ์สินค้าปลานิลและผลิตภัณฑ์ปี 2564 และแนวโน้มปี 2565. สืบค้นจาก www.fisheries.go.th/strategy/fisheconomic/Monthly%20report/tilapia/3.สถานการณ์ปลานิล%20Q4%2064.pdf.

ชนม์ธีรา ขำละม้าย และ พนัชกร สิมะขจรบุญ. (2565). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้ประโยชน์การใช้งานแอปพลิเคชันสั่งอาหาร. วารสารนวัตกรรมธุรกิจ การจัดการ และสังคมศาสตร์, 3(1), 1-9.

ชีวาพร ไชยพันธ์ และ กสิณ รังสิกรรพุม. (2565). การวิเคราะห์ระบบห่วงโซ่อาหารปลอดภัยด้วยเทคนิคการวิเคราะห์แบบผสมและแผนภูมิวงรอบเหตุและผล. วารสารวิศวกรรมศาสตร์และนวัตกรรม, 15(4), 99-110.

ทวีศักดิ์ รูปสิงห์ และ พรรษวดี พงษ์ศิริ. (2565). กลยุทธ์การสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์กลุ่มเกษตรอินทรีย์ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันยุคดิจิทัล. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 7(3), 472-488.

นพรัตน์ จันทร์ไชย และ วิไลพร จันทร์ไชย. (2561). การสร้างมูลค่าเพิ่มจากก้างปลานิลเป็นผลิตภัณฑ์อาหารทางเลือก สำหรับเสริมแคลเซียม. วารสารวิจัยเทคโนโลยีนวัตกรรม, 2(2), 54-61.

ปภพ จี้รัตน์, พุฒิสรรค์ เครือคำ, พหล ศักดิ์คะทัศน์, นคเรศ รังควัต และ สายสกุล ฟองมูล. (2565). รูปแบบการยกระดับศักยภาพการดำเนินกิจกรรมทางการเกษตรอย่างยั่งยืนของเกษตรกรรายย่อยในชุมชนท้องถิ่นบนพื้นที่สูง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ, 7(3), 479-499.

พิมสิริ ภู่ตระกูล, นิรมล เจริญสวรรค์, เมธี รัชตะวิศาล, สุพิศพรรณ วัจนเทพินทร์ และ สุเมษ เลิศจริยพร. (2561). การรับรู้ในเอกลักษณ์ปลาสลิดบางบ่อและปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจซื้อปลาสลิดบางบ่อในมุมมองของผู้บริโภค. วารสารธุรกิจปริทัศน์, 10(1), 155-170.

เพียงแข ภูผายาง, นราศักดิ์ ภูผายาง และ สัญชัย รําเพยพัด. (2564). ปัญหาการเลี้ยงปลานิลกระชังในเขื่อนลำปะทาว จังหวัดชัยภูมิ. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(4), 388-397.

ภัทรพล ชุ่มมี. (2565). นวัตกรรมการตลาดที่ส่งอิทธิพลต่อการสร้างมูลค่าเพิ่มของธุรกิจเพื่อสังคม. Journal of Roi Kaensarn Academi, 7(12), 147-159.

มยุรี ภาคลำเจียก. (2564). เทคโนโลยีการบรรจุภัณฑ์เพื่อยืดอายุการเก็บผลิตภัณฑ์อาหาร. วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้และเทคโนโลยี, 1(2), 12-22.

รุจิกาญจน์ สานนท์, สุภัทริภา ขันทจร และ กรัยสรญ์ ขันทจร. (2565). ศักยภาพการจัดการและกลยุทธ์ทางธุรกิจสู่ความสามารถในการแข่งขันของวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์สมุนไพรในอำเภอปากช่อง และอำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิชาการสังคมศาสตร์เครือข่ายวิจัยประชาชื่น, 4(2), 84-96.

ลัดดาวัลย์ คำมะปะนา, ศิริพร มุลาลินน์ และ สุภาวดี ตั้งธีระวัฒนะ. (2563). ผลของบรรจุภัณฑ์ต่อการเปลี่ยนแปลงคุณภาพภายหลังการเก็บเกี่ยวผลหม่อนพันธุ์กำแพงแสน 42. วารสารพืชศาสตร์สงขลานครินทร์, 1(3), 52-61.

วัลลภ รัฐฉัตรานนท์. (2562). การหาขนาดตัวอย่างที่เหมาะสมสำหรับการวิจัย: มายาคติในการใช้สูตรของ ทาโรยามาเน่ และเครทซี-มอร์แกน. วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา, 8(1), 11-28.

สุดารัตน์ พิมลรัตนกานต์. (2564). การเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน มูลค่าเพิ่ม และความสามารถในการจัดการนวัตกรรมของผลิตภัณฑ์สินค้าเกษตรมะม่วงเพื่อการส่งออก ในบริบทพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารวิชาการเซาธ์อีสท์บางกอก, 7(1), 41-54.

สุวรรณา พิชัยยงค์วงศ์ดี, นุจิรา รัศมีไพบูลย์ และ สายบังอร ปานพรหม. (2562). แนวทางการพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อ เพิ่มมูลค่าอาหารท้องถิ่นในเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี. วารสารวัฒนธรรมอาหารไทย, 1(2), 38-49.

สำราญ บรรณจิรกุล. (2561). โรคอุบัติใหม่ในปลานิล: Tilapia Lake Virus Disease. สัตวแพทย์มหานครสาร, 13(1), 77-83.

หฤทัย ปัญญาวุธตระกูล และ วศิน ปัญญาวุธตระกูล. (2564). การพัฒนาคอนเทนต์สินค้าเกษตรปลอดภัยในสื่อสังคมออนไลน์ของ NGV มาร์เก็ตเพลส. วารสารนิเทศศาสตรปริทัศน์, 25(3), 220-231.

อนุรักษ์ อาทิตย์กวิน, ไพฑูรย์ อินต๊ะขัน และ เจษฎา ทองสุข. (2562). การสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าเซรามิกด้วยวิธีการพัฒนารูปแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อโอกาสทางการแข่งขันของผู้ประกอบการธุรกิจขนาดย่อม ประเภทของใช้ของตกแต่ง และของที่ระลึกในจังหวัดลำปาง. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 12(1), 1-12.

Hassan-Rashid, M., Manzoor, M., & Mukhtar, S. (2018). Urbanization and Its Effects on Water Resources: An Exploratory Analysis. Asian Journal of Water, Environment and Pollution, 15(1), 67-74.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-09

How to Cite

ปุยสุวรรณ ภ., & ทิวถนอม ธ. (2023). การเพิ่มมูลค่าธุรกิจปลานิลของกลุ่มเกษตรกรในจังหวัดนครปฐม ตลอดห่วงโซ่คุณค่า. สหวิทยาการและความยั่งยืนปริทรรศน์ไทย, 12(1), 155–165. https://doi.org/10.14456/jirgs.2023.13