ปัจจัยที่ช่วยลดความผิดพลาดในการเลื่อนตำแหน่งผู้บริหารระดับสูง: กรณีศึกษา บริษัทเอกชนขนาดใหญ่ในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • อิศรา ดิสรเตติวัฒน์ วิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • เนตรนภา ไวทย์เลิศศักดิ์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

DOI:

https://doi.org/10.14456/jirgs.2023.4

คำสำคัญ:

การเลื่อนตำแหน่ง, ปัจจัยในการเลื่อนตำแหน่ง, กฎของปีเตอร์, ความสามารถ, ผลการปฏิบัติงาน, ผู้สืบทอดตำแหน่ง

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ ผู้วิจัยได้ใช้กฎของปีเตอร์ เป็นกรอบแนวคิดการวิจัย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและปัจจัยที่ทำให้ผู้บริหารที่มีผลงานด้อยลง หลังได้รับการเลื่อนตำแหน่งภายในองค์กร และเสนอแนวทางแก้ไขหรือลดปัญหากฎของปีเตอร์ให้กับผู้บริหารที่มีผลงานด้อยลง โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้บริหารระดับสูง จำนวน 16 คน โดยใช้โปรแกรม ATLAS.ti ซึ่งเป็นโปรแกรมวิเคราะห์เชิงคุณภาพ พบว่า ปัจจัยที่มีส่วนสำคัญในการคัดเลือกเพื่อเลื่อนตำแหน่ง บุคคลที่มีความสามารถพิเศษที่จะขึ้นเป็นผู้บริหารนั้น ประกอบด้วย 5 ปัจจัย คือ 1) ความเชี่ยวชาญในงาน 2) ความรับผิดชอบ 3) การพื้นตัวได้เร็วเมื่อเผชิญกับปัญหาและความท้าทาย 4) การมีทัศนคติที่ดี 5) พลังร่วมเพื่อเติมเต็มและต่อยอด ผู้ที่มีศักยภาพต้องมีการพิจารณาทั้งผลงานและศักยภาพโดยดูจาก 9-Box Model และ ความสามารถ ที่จำเป็นสำหรับการพิจารณาศักยภาพนั้นครอบคลุมใน 5 เรื่องดังกล่าว สำหรับผู้ที่เป็น “ผู้สืบทอดตำแหน่ง” ของ “ผู้บริหารระดับสูง” มักจะพิจารณาจากศึกยภาพที่มีความสามารถในเรื่อง “การร่วมใจทำงานเพื่อเติมเต็มและต่อยอด” เป็นหลัก อย่างไรก็ตาม กฎของปีเตอร์ เกิดขึ้นเพราะองค์กรพิจารณาเฉพาะ “ผลการปฏิบัติงาน” เพียงอย่างเดียว ซึ่งไม่ถูกต้อง

References

Garrett, S., Caldwell, B., Harris, E., & Gonzalez, M. (2009). Six dimensions of expertise: a more comprehensive definition of cognitive expertise for team coordination. Theoretical Issues in Ergonomics Science, 10(2), 93-105.

Guest, G., Namey, E., & Mitchell, M. (2013). Collecting Qualitative Data: A Field Manual for Applied Research. California: Sage Publications, Inc.

Liu, Y., Chen, R., Zhou, F., Zhang, S., & Wang, J. (2021). Analysis of the Influencing Factors of Organizational Resilience in the ISM Framework: An Exploratory Study Based on Multiple Cases. Sustainability, 13(23), 13492.

Peter, L., & Hull, R. (1969). The Peter Principle. New York: Buccaneer Books. Inc.

Schaap, J. (2011). The Peter Principle: Is This Forty-Year-Old Universal Phenomenon in Decline or Growing?. Nevada: University of Nevada.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-18

How to Cite

Disorntetiwat, E., & ไวทย์เลิศศักดิ์ เ. (2023). ปัจจัยที่ช่วยลดความผิดพลาดในการเลื่อนตำแหน่งผู้บริหารระดับสูง: กรณีศึกษา บริษัทเอกชนขนาดใหญ่ในประเทศไทย. สหวิทยาการและความยั่งยืนปริทรรศน์ไทย, 12(1), 46–53. https://doi.org/10.14456/jirgs.2023.4