การสื่อสารภาพลักษณ์ ผู้นำการเมืองท้องถิ่น

ผู้แต่ง

  • มณี ศรีสมุทร มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • วิทยาธร ท่อแก้ว มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • กานต์ บุญศิริ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

DOI:

https://doi.org/10.14456/jirgs.2023.18

คำสำคัญ:

การสื่อสาร, ภาพลักษณ์, ผู้นำการเมืองท้องถิ่น

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ภาพลักษณ์ปัจจุบันและภาพลักษณ์ของผู้นำท้องถิ่นที่พึงประสงค์ 2) การวางแผนการสื่อสารภาพลักษณ์ของผู้นำท้องถิ่น 3) การดำเนินการสื่อสารภาพลักษณ์ของผู้นำท้องถิ่น และ 4) การประเมินผลการสื่อสารภาพลักษณ์ของผู้นำท้องถิ่น การวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก เลือกผู้ให้ข้อมูลหลักแบบเจาะจงผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการสื่อสารภาพลักษณ์ผู้นำทีมการเมืองท้องถิ่น 3 พื้นที่ เทศบาลนครงตรัง จังหวัดตรัง เทศบาลนครสงขลา และองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา จังหวัดสงขลา รวม 22 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาพลักษณ์ปัจจุบันคือภาพลักษณ์ที่ประชาชนรับรู้แล้ว และภาพลักษณ์ของผู้นำการเมืองท้องถิ่นที่พึงประสงค์คือมีการศึกษาดี บุคลิกลักษณะติดดิน พบง่ายและเป็นกันเอง เป็นแบบอย่างที่ดี ยึดมั่นในหลักกกฏหมาย 2) การวางแผนการสื่อสารวิเคราะห์เอกลักษณ์เชิงบวก เพื่อสร้างสโลแกนสอดคล้องกับผู้รับสาร ใช้สื่อและกิจกรรมสารณประโยชน์ มีผู้รับสารหลักและรอง 3) ดำเนินการสื่อสารกำหนดประเด็น วางเนื้อหาหลัก ใช้คำสั้น ปรับบุคลิกภาพ และ 4) ประเมิน ติดตามภาพลักษณ์ที่ดีของผู้นำการเมืองท้องถิ่น

References

ขวัญชัย รุ่งฟ้าไพศาล. (2548). กระบวนการสร้างภาพลักษณ์ของนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท. ดร. ทักษิณ ชินวัตร ในความคิดเห็นของนักวิชาการสายสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์และนักวิชาชีพหนังสือพิมพ์. การค้นคว้าอิสระ วารสารศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พิรงรอง รามสูต. (2558). สร้างภาพลักษณ์ให้ท่านผู้นำในยุคสื่อสังคมออนไลน์. สืบค้นจาก www.bangkokbiznews.com/blog/detail/634182.

วิทยาธร ท่อแก้ว. (2562). ทฤษฎีการสื่อสารเพื่อสร้างภาพลักษณ์และความนิยมทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สิงห์ สิงห์ขจร, สุภาภรณ์ ศรีดี, วิทยาธร ท่อแก้ว และ กานต์ บุญศิริ. (2562). การสื่อสารในการสร้างความนิยมของผู้นำทางการเมืองท้องถิ่น. วารสาร อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี, 9(18), 197-210.

โสภณ องค์การณ์. (2562). ผู้นำจีนปรับ ‘ลุค’ ให้ดูสมวัย. สืบค้นจาก https://mgronline.com/daily/detail/9620000025253.

อิทธิเดช สุพงษ์. (2553). การสื่อสารเพื่อสร้างภาพลักษณ์ของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี. การค้นคว้าอิสระ วารสารศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Balakhonskaya, L., Zhuravleva, N., & Beresneva, I. (2019). Communication Strategy of Political Leader’s Image Mythologization in Digital Space during the Course of Election Campaign: Comparative Aspect. A paper presented at the 2019 Communication Strategies in Digital Society Workshop, St. Petersburg, Russia.

McNair, B. (2018). An Introduction to Political Communication. 6th ed. London: Routledge.

Pérez-Curiel, C., & Limón-Naharro, P. (2019). Political influencers: A study of Donald Trump’s personal brand on Twitter and its impact on the media and users. Communication & Society, 32(1), 57-75.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-10

How to Cite

sreesamut, manee, ท่อแก้ว ว., & บุญศิริ ก. (2023). การสื่อสารภาพลักษณ์ ผู้นำการเมืองท้องถิ่น. สหวิทยาการและความยั่งยืนปริทรรศน์ไทย, 12(1), 208–217. https://doi.org/10.14456/jirgs.2023.18