พฤติกรรมก้าวร้าวในวัยรุ่นตอนปลาย: การประยุกต์ใช้แบบจำลองสมการโครงสร้าง

ผู้แต่ง

  • ปริญญา สิริอัตตะกุล วิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล
  • นภัส ลิ่มอรุณ สำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน)

คำสำคัญ:

ความก้าวร้าว, วัยรุ่นตอนปลาย, โมเดลสมการโครงสร้าง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้าง และพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของความก้าวร้าวของวัยรุ่นตอนปลาย และ 2) ตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของความก้าวร้าวของวัยรุ่นตอนปลายที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ตัวอย่างในการวิจัย คือ วัยรุ่นตอนปลาย จำนวน 300 คน เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบวัดการสนับสนุนทางสังคม แบบวัดการอบรมเลี้ยงดู และแบบวัดความก้าวร้าว วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง ผลการวิจัย พบว่า โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของความก้าวร้าวของวัยรุ่นตอนปลายมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยพิจารณาจาก ค่า χ2 = 14.270, df = 11 ค่า p = .218 ค่า χ2/df = 1.297 ดัชนี GFI = 0.992 ดัชนี AGFI = 0.952 ดัชนี NFI = 0.996 ดัชนี NNFI = 0.996 ดัชนี CFI = 0.999 ดัชนี RMR = 0.023 ดัชนี SRMR = 0.031 ดัชนี RMSEA = 0.030 และค่า LSR = 3.086 และตัวแปรทั้งหมดสามารถอธิบายความแปรปรวนของความก้าวร้าวของวัยรุ่นตอนปลายได้ร้อยละ 48.00 โดยตัวแปรการอบรมเลี้ยงดูด้านลบมีอิทธิพลทางตรงต่อความก้าวร้าวมากที่สุด โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีขนาดอิทธิพลเท่ากับ 0.736 และตัวแปรการอบรมเลี้ยงดูด้านลบมีอิทธิพลทางตรงต่อการสนับสนุนทางสังคมโดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีขนาดอิทธิพลเท่ากับ -0.569

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-09