ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเสียชีวิต ของผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิด เอสที ยก ของโรงพยาบาลในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • กิติกร วิชัยเรืองธรรม มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
  • พิศมัย จารุจิตติพันธ์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
  • เกียรติชัย วีระญาณนนท์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ

คำสำคัญ:

การเสียชีวิต, โรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิด เอส ทียก, การสวนรักษาเส้นเลือดหัวใจ, ประเทศไทย

บทคัดย่อ

การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา สภาพปัจจุบันของประสิทธิผลด้านอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิด เอสที ยก และศึกษาอัตราการเสียชีวิตฯ แยกตามปัจจัยคุณลักษณะด้านต่างๆ ของโรงพยาบาล รวมทั้งศึกษาปัจจัยด้านต่างๆของโรงพยาบาลที่มีผลต่อกับอัตราการเสียชีวิตฯ โดยรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิ จากโรงพยาบาลในประเทศไทย จำนวน 1,180 โรงพยาบาล และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติทดสอบความแตกต่างระหว่างตัวแปรโดยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรโดยวิธีการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ พบว่า ประเทศไทยยังมีปัญหาทั้งการขาดแคลนเครื่องสวนรักษาหัวใจและ การกระจุกตัวที่ไม่เหมาะสม อัตราการเสียชีวิตฯในภาพรวมทั้งประเทศไทย ร้อยละ 8.46  ถือว่าผ่านเกณท์ (น้อยกว่าร้อยละ 10)  แต่พบว่าเขตบริการสุขภาพที่ไม่ผ่านเกณท์ยังคงเป็นเขตเดิมเหมือนปีก่อนๆ (เขตที่ 2,3 และ 4) นอกจากนี้ยังพบอัตราการเสียชีวิตฯ ที่มากขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในโรงพยาบาลที่ก่อตั้งมานาน และโรงพยาบาลรัฐบาล และจากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านต่างๆโรงพยาบาล อันประกอบด้วย จำนวนเตียง ระยะเวลาก่อตั้ง สัดส่วนจำนวนห้องสวนหัวใจ ชนิดของโรงพยาบาล การมีห้องสวนหัวใจ ต่อ อัตราการเสียชีวิตฯ โดยการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ พบว่า สามารถร่วมกันทำนายแนวโน้ม อัตราการเสียชีวิตฯ ได้ในระดับต่ำเพียง ร้อยละ 6 (adjusted R2 =0.062) ผลการศึกษาชี้แนะว่า กระทรวงสาธารณสุข นอกจากจะต้องจัดสรรงบประมาณ จัดหาเครื่องสวนรักษาหัวใจเพิ่มมากขึ้น ให้ทั่วถึงทั้งประเทศแล้ว ควรต้องพัฒนาระบบการส่งต่อผู้ป่วยโรคหัวใจให้ดีขึ้น โดยเฉพาะในเขตบริการสุขภาพที่ 2,3 และ 4 ที่ยังมีปัญหาโดยเน้นการพัฒนาในโรงพยาบาลที่ก่อตั้งมานาน และโรงพยาบาลในภาครัฐบาล

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-05