อำนาจสั่งการของนายกรัฐมนตรีเกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัยกับผู้ถูกกล่าวหาที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติชี้มูลความผิดวินัย
คำสำคัญ:
นายกรัฐมนตรี, คณะกรรมการ ป.ป.ช., ชี้มูลความผิดวินัย, อำนาจสั่งการตามที่เห็นสมควรบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตร ๙๕ กำหนดหลักการสำคัญที่เป็นมาตรการควบคุมการดำเนินการทางวินัยเพื่อให้ผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีอำนาจแต่งตั้งถอดถอน
ผู้ถูกกล่าวหาดำเนินการทางวินัยตามฐานความผิดที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้มีมติชี้มูลความผิดวินัย
โดยถ้าผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีอำนาจแต่งตั้งถอดถอนผู้ถูกกล่าวหาไม่ดำเนินการทางวินัยตามฐานความผิด
ที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้มีมติโดยไม่มีเหตุอันสมควร หรือคณะกรรมการ ป.ป.ช. เห็นว่าการดำเนินการทางวินัย
ไม่ถูกต้องหรือไม่เหมาะสม คณะกรรมการ ป.ป.ช. จะเสนอความเห็นไปยังนายกรัฐมนตรีและให้นายกรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งการตามที่เห็นสมควร ดังนั้น การใช้อำนาจของนายกรัฐมนตรีตามมาตรา ๙๕ ดังกล่าว จึงจำเป็นต้องพิจารณา
อย่างรอบด้านภายใต้กรอบของกฎหมายที่ให้อำนาจนายกรัฐมนตรีในการสั่งการ รวมทั้งการที่ผู้บังคับบัญชา
หรือผู้มีอำนาจแต่งตั้งถอดถอนผู้ถูกกล่าวหาไม่ดำเนินการทางวินัยตามฐานความผิดที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้มีมติ หรือดำเนินการทางวินัยไม่ถูกต้องหรือไม่เหมาะสมนั้น ผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีอำนาจแต่งตั้งถอดถอนผู้ถูกกล่าวหา
มีเหตุอันสมควรหรือไม่ ประการใด อย่างไรก็ดี แม้ปัจจุบันได้ประกาศบังคับใช้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๖๑ แล้ว แต่กฎหมายฉบับดังกล่าวก็ได้บัญญัติให้อำนาจ
ของนายกรัฐมนตรีในการสั่งการตามที่เห็นสมควรไว้ตามหลักการเดิมของกฎหมายฉบับปี พ.ศ. ๒๕๔๒