บทบาทของนายหน้าต่อวิถีชีวิตของแรงงานข้ามชาติ: กรณีศึกษาชุมชนแรงงานเมียนมาในพื้นที่อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี

ผู้แต่ง

  • ภัทร พีระพันธุ์ หินเมืองเก่า วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต / College of Social Innovation, Rangsit University

คำสำคัญ:

บทบาทนายหน้า, วิถีชีวิต, แรงงานเมียนมา, กาญจนบุรี

บทคัดย่อ

งานวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ประเภทและบทบาทของนายหน้าต่อวิถีชีวิต (การใช้ชีวิตและการทางาน ของแรงงานเมียนมาในชุมชนไวต้า อาเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี และ 2) ภาพรวมของสถานการณ์แรงงานเมียนมาในพื้นที่อาเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี ในปี พ.ศ. 2562 โดยเลือกใช้ข้อมูลทุติยภูมิจากแหล่งที่เป็นทางการ ทั้งข้อมูลภายในของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผลการวิจัยต่างๆ และทาการเก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิ ด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกในกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักที่เป็นแรงงานข้ามชาติสัญชาติเมียนมา และนายหน้าทั้งแบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ รวมถึงกลุ่มผู้ให้ข้อมูลรอง อันประกอบด้วย เจ้าหน้าที่จากหน่วยงานของรัฐ และองค์กรภาคประชาสังคม จากการศึกษาพบว่า แรงงานเมียนมาเป็นกลุ่มแรงงานที่มีความต้องการเฉพาะด้าน และมีปัญหาด้านภาษาและการสื่อสารมาก โดยที่ในการใช้ชีวิตของแรงงานเมียนมาในประเทศไทยนั้น พวกเขาต้องประสบกับความเสี่ยงด้านต่างๆ อาทิเช่น การเปลี่ยนแปลงของกฎหมายและนโยบาย การถูกเอารัดเอาเปรียบ การถูกจับกุม เป็นต้น ทาให้แรงงานเมียนมาเลือกที่จะใช้บริการนายหน้า ซึ่งเป็นผู้ที่มีบทบาทสาคัญในการเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาและทาให้วิถีชีวิตของพวกเขาในประเทศไทยมีความสะดวกสบายยิ่งขึ้น ทั้งนี้ บทบาทของนายหน้าที่พบในชุมชนไวต้า อาเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี มีความหมายกว้างขวางกว่าบทบาททั่วไปตามที่กฎหมายกาหนด ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากลักษณะของความเป็นชุมชน ความเป็นเครือข่ายทางสังคม ตลอดจนถึงทุนทางสังคมที่ถูกสร้างขึ้นในพื้นที่แห่งนี้

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-01-01