การประยุกต์ใช้วิธี AHP ในการคัดเลือกบริษัทผู้ผลิตส่วนประกอบ กายอุปกรณ์เทียมและกายอุปกรณ์เสริม: กรณีศึกษา บริษัทผลิตอุปกรณ์ช่วยเหลือผู้พิการ

ผู้แต่ง

  • สมเกียรติ คุณล้าน คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาตร์ / Faculty of Business Administration, Kasetsart University, Thailand
  • ศุภชาต เอี่ยมรัตนกูล คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ / Faculty of Business Administration, Kasetsart University, Thailand

คำสำคัญ:

การวิเคราะห์เชิงลาดับชั้น, กายอุปกรณ์เทียมและกายอุปกรณ์เสริม, ส่วนประกอบ, การคัดเลือก

บทคัดย่อ

การศึกษาการประยุกต์ใช้วิธี AHP ในการคัดเลือกบริษัทผู้ผลิตส่วนประกอบกายอุปกรณ์เทียมและกายอุปกรณ์เสริม: กรณีศึกษาบริษัทผลิตอุปกรณ์ช่วยเหลือผู้พิการในครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) มีวัตถุประสงค์ของการศึกษาเพื่อ จัดลาดับความสาคัญของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจในการคัดเลือกบริษัทผู้ผลิตส่วนประกอบกายอุปกรณ์เทียมและกายอุปกรณ์เสริม และคัดเลือกบริษัทผู้ผลิตส่วนประกอบกายอุปกรณ์เทียมและกายอุปกรณ์เสริม ด้วยกระบวนการวิเคราะห์เชิงลาดับชั้น (Analytical Hierarchy Process: AHP) จากการศึกษาทาการเก็บข้อมูลจากความคิดเห็นของผู้ที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับธุรกิจผลิตอุปกรณ์ช่วยเหลือผู้พิการ และงานกายอุปกรณ์จานวน 20 คน และจากกลุ่มตัวอย่างผู้ที่เคยใช้บริการในบริษัทกรณีศึกษาจานวน 50 คน รวมทั้งหมด 70 คน ข้อมูลที่ได้จากการเก็บแบบสอบถามจะถูกนามาวิเคราะห์ด้วยกระบวนการเชิงลาดับชั้นเพื่อจัดลาดับความสาคัญของปัจจัย ผลที่ได้จากการวิเคราะห์สามารถใช้เป็นแนวทางการนาเสนอทางเลือกที่เหมาะสมให้กับผู้บริหารได้ ผลการวิเคราะห์สามารถสรุปได้ว่าผู้ตัดสินใจได้ให้ความสาคัญของปัจ จัยหลักที่มีความสาคัญอันดับหนึ่งคือ ด้านราคาของผลิตภัณฑ์ มีคะแนนความสาคัญเท่ากับ 0.4281 อันดับสองคือ ด้านคุณภาพของผลิตภัณฑ์ มีคะแนนความสาคัญเท่ากับ 0.2584 อันดับสามคือ ด้านบริการหลังการขาย มีคะแนนความสาคัญเท่ากับ 0.1781 อันดับสี่ คือ ด้านคุณภาพในการจัดส่ง มีคะแนนความสาคัญเท่ากับ 0.0683 และอันดับสุดท้าย คือ ด้านระยะเวลาในการขนส่ง มีคะแนนความสาคัญเท่ากับ 0.0671 ตามลาดับ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-07-01